svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กาง 9 กฎเหล็ก! คุมมาตรฐาน "ฟาร์มไก่ไข่"

16 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 15 ตุลาคม อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร สำหรับการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่เป็นมาตรฐานบังคับ

โดยใช้กำหนดบังคับมาตรฐานสินค้าเกษตร เลขที่ มกษ. 6909 2562 ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562มาตรฐานนี้ ครอบคลุมฟาร์มไก่ไข่ที่เลี้ยงไก่ไข่เพื่อการค้า 1,000 ตัวขึ้นไป โดยครอบคลุมทั้งองค์ประกอบฟาร์ม การจัดการฟาร์ม อาหาร นํ้า การจัดการ บุคลากร การจัดการสุขภาพสัตว์ การจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการไก่รุ่น ไก่ระยะไข่และไข่ไก่  การจัดการสิ่งแวดล้อม การบันทึกข้อมูลการควบคุมมาตรฐานฟาร์มไก่ไข่ สรุปออกเป็นกฎและข้อแนะนำ 9 ข้อ ดังนี้ 1.สถานที่ตั้ง มีทําเลที่ตั้งอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เสี่ยงจากการปนเปื้อนของอันตรายทางกายภาพเคมีและชีวภาพ เช่น ไม่ตั้งอยู่ใกล้โรงงานอุตสาหกรรม แหล่งรวบรวมและกําจัดขยะ และแหล่งรวมสัตว์ปีก ควรตั้งอยู่ห่างจากแหล่งรวมสัตว์ปีก เช่น ตลาดค้าสัตว์ปีก โรงฆ่าสัตว์ปีก อย่างน้อย 5 กิโลเมตร ฯลฯ2.แผนผังและลักษณะฟาร์ม ฟาร์มไก่ไข่ต้องมีพื้นที่เหมาะสมกับจํานวนโรงเรือน ไม่หนาแน่นจนก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น  เกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ มีรั้วหรือแนวกั้นธรรมชาติรอบบริเวณพื้นที่เลี้ยงไก่ไข่ที่สามารถควบคุมการเข้า-ออกของคนและสัตว์ต่างๆ เช่น สุนัข แมว ถนนภายในฟาร์ม มีสภาพเหมาะสม มีความกว้างที่เหมาะในการขนส่งลําเลียงอุปกรณ์ อาหารสัตว์ รวมทั้งผลิตผลที่เข้า-ออกฟาร์ม อาคารสํานักงานที่พักอาศัยต้องแยกเป็นสัดส่วน อยู่ห่างและอยู่นอกบริเวณเลี้ยงสัตว์3.มีการวางผังโรงเรือนที่แสดงตําแหน่งอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงไก่ไข่ เช่น ตําแหน่งที่ให้อาหาร นํ้า ซึ่งเอื้อต่อ การเข้าถึงอาหารและนํ้าของไก่ไข่  โรงเรือนต้องมีลักษณะและขนาดที่เพียงพอ เหมาะสมกับจํานวนไก่ไข่4. การจัดการอาหารและนํ้าที่ใช้เลี้ยงไก่ โดยอาหารไก่ไข่สําเร็จรูปและหัวอาหารสัตว์ ต้องเป็นไปมาตรฐานตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ ต้องซื้อจากผู้ที่ได้รับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.ควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558  5.การจัดการโรงเรือนและอุปกรณ์ มีการตรวจสอบการทํางานของเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆที่สําคัญอย่างน้อยวันละครั้ง เช่น อุปกรณ์การเลี้ยงแบบอัตโนมัติที่จําเป็นต่อสวัสดิภาพสัตว์ ควรมีการตรวจสภาพการทํางานทุกวัน  ถ้าพบว่าชํารุดต้องดําเนินการแก้ไขทันที หรือมีขั้นตอนที่เหมาะสมในการปกป้องสุขภาพสัตว์ และมีระบบระบายอากาศที่ดี เพื่อให้สัตว์ได้รับอากาศเพียงพอ มีอุปกรณ์สํารองเมื่อเกิดเสียหาย และมีสัญญาณเตือนกรณีระบบขัดข้อง ฟาร์มไก่ไข่ต้องมีระบบการทําความสะอาดและฆ่าเชื้อโรงเรือนอุปกรณ์และบริเวณโดยรอบอย่างมีประสิทธิภาพ ถูกสุขลักษณะ6.มีการจัดแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของบุคลากรอย่างชัดเจน ฟาร์มไก่ไข่ต้องมีจํานวนบุคลากรอย่างเพียงพอ มีการจัดแบ่งหน้าที่ และความรับผิดชอบในแต่ละตําแหน่งอย่างชัดเจน สัตวบาลหรือบุคลากรที่ได้รับการอบรมหลักสูตรด้านสัตวบาล จะเป็นผู้ควบคุมและดูแลการเลี้ยงไก่ไข่  มีหน้าที่ควบคุม กํากับ ดูแลการเลี้ยงไก่ไข่และรับผิดชอบดูแลด้านสวัสดิภาพสัตว์    ผู้ควบคุมและดูแลการเลี้ยงไก่ไข่ที่เป็นสัตวบาลเป็นผู้ที่จบการศึกษาทางสัตวบาลหรือสัตวศาสตร์ ไม่ตํ่ากว่าระดับปริญญาตรี โดยสัตวบาล 1 คน ควรดูแลไก่ไข่ไม่เกิน  1,000,000 ตัว   เป็นต้น ฟาร์มต้องมีการดูแลสุขลักษณะส่วนบุคคล  โดยห้ามผู้ที่มีอาการเจ็บป่วย หรือบาดเจ็บ เช่น อาการท้องร่วง อาเจียน เจ็บคอ มีไข้ เข้าปฏิบัติงานในโรงเรือน7. การป้องกันและควบคุมโรค ไก่ไข่ที่นํามาเลี้ยง ต้องมีหลักฐานระบุแหล่งที่มาได้ เช่น ใบอนุญาตเคลื่อนย้ายที่แสดงแหล่งที่มาของไก่ไข่ ต้องมีมาตรการป้องกัน ควบคุม และกําจัดเชื้อโรคเข้าสู่ฟาร์มจากบุคคล ยานพาหนะ และอุปกรณ์ รวมทั้งมีมาตรการควบคุมสัตว์พาหะนําเชื้อ ที่แสดงให้เห็นว่าเหมาะสมกับการป้องกันหรือลดความเสี่ยง ในการนําเชื้อโรคเข้าสู่หรือออกจากฟาร์มการติดตามสุขภาพไก่ไข่ประจําวัน ควรทําอย่างน้อยวันละครั้ง ซึ่งต้องระบุฝูงสัตว์ เช่น ระบุโรงเรือน รหัสฝูง เพื่อตรวจสอบสุขภาพไก่จากผลผลิตประจําวัน เช่น ปริมาณไข่ คุณภาพ ขนาด ลักษณะและสีผิวเปลือกไข่ ร่วมกับการสังเกตความผิดปกติของไก่ ในกรณีที่พบอัตราการป่วยหรือตายผิดปกติ ต้องแจ้งสัตวแพทย์ ผู้ควบคุมฟาร์ม  ทุกครั้งที่มีการตรวจสอบและพบซากสัตว์ให้เก็บออกจากโรงเรือนทันที โดยนําใส่ในวัสดุหรือภาชนะกันนํ้า ที่ปิดมิดชิด8. ดูแลไก่ไข่ให้มีความเป็นอยู่ตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ โดยการเคลื่อนย้ายไก่ไข่ต้องระมัดระวัง ไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ  มีการตรวจสอบสุขภาพไก่ไข่อย่างสมํ่าเสมอ สําหรับไก่ไข่ที่ป่วย บาดเจ็บ  ควรมีการดําเนินการอย่างเหมาะสมโดยเร็ว เพื่อไม่ให้เป็นการทรมานสัตว์ นอกจากนี้ควรจัดโปรแกรมการให้อาหารอย่างเหมาะสมกับความต้องการทางโภชนาการในแต่ละช่วงอายุ9.กําจัดขยะ นํ้าเสีย ของเสีย โดยวิธีที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งของกลิ่นและเชื้อโรค สําหรับซากซึ่งเป็นพาหะนําเชื้อ เช่น นก หนู ให้ทําลายโดยการฝังหรือเผา ควรจัดการนํ้าเสีย ที่เกิดจากการล้างโรงเรือนและอุปกรณ์ในช่วงเตรียมโรงเรือนก่อนปล่อยลงในแหล่งนํ้าสาธารณะ วัสดุรองพื้นที่ใช้แล้วหลังการปลดไก่ต้องพ่นด้วยยาฆ่าเชื้อโรคเพื่อป้องกันการฟุ้งกระจายก่อนเคลื่อนย้าย และห้ามนําวัสดุรองพื้นเก่ากลับมาใช้อีก มีผ้าใบคลุมรถบรรทุกเพื่อป้องกันการตกหล่นทั้งหมดเป็นแค่สรุปย่อของมาตรฐานควบคุมฟาร์มไก่ไข่ ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง กำหนดมาตรฐานสินค้าเกษตร : การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มไก่ไข่ตาม พ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 ลงวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562โดยมติ ครม.กำหนดให้ ฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ตั้งแต่จำนวน 1,000 ตัว ถึง 99,999 ตัว ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 5 ปีนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปส่วนฟาร์มที่เลี้ยงไก่ไข่ ตั้งแต่จำนวน 100,000 ตัวขึ้นไป ให้มีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

logoline