svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แบน 3 ยาปราบวัชพีช! ใช้ "สารทดแทน" เป็นเรื่องดี(ถ้ามีจริง)

10 ตุลาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีที่สั้งคมให้ความสนใจกันอยู่ในขณะนี้ เมื่อรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยบุคลากรทางการแพทย์ แสดงจุดยืนชัดเจน แบน สารเคมี 3 สาร พร้อมส่งข้อความถึง คณะกรรมการวัตถุอันตรายให้พิจารณาถึงผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน เป็นสำคัญ ชี้ไม่มีผลประโยชน์อยู่เบื้องหลังการใช้สารทดแทน

ล่าสุดรศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เกี่ยวกับสารเคมีฆ่าหญ้าทั้ง 3 โดยระบุว่า...
มีสารปราบวัชพืชอะไรมั้ย ที่จะนำมาใช้ทดแทนพาราควอตและไกลโฟเสคที่จะถูกแบน ... คำตอบคือ ตอบลำยากครับ เพราะว่ายาฆ่าหญ้าแต่ละตัวก็มีข้อดี ประสิทธิภาพ ข้อควรระวัง และราคา ที่แตกต่างกันมาก จะบอกว่าเอาตัวใดตัวนึงมาแทนอีกตัวหนึ่งก็คงไม่ได้
ยิ่ง กลูโฟสิเนต ที่ NGO อ้างว่าใช้แทนพาราควอตได้นั้น ก็ยิ่งมีปัญหา เพราะประสิทธิภาพก็ต่ำกว่า ราคาก็สูงกว่ามาก และก็มีอันตรายเช่นกัน
หรือจะอ้างถึงสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืช ที่มีคนเอามาขายกันทางอินเทอร์เน็ต นั้นก็หลอกขายชัดเจนเพราะตรวจพบว่ามีการผสมพาราควอตและไกลโฟเสตลงไปด้วย
ลองอ่านข้อมูลที่สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย สรุปให้ฟังตามด้านล่างนี้ได้นะครับ จะยิ่งเห็นชัดเลยว่ามันทดแทนกันไม่ได้จริงอย่างที่อ้าง-----สารทดแทน..มีจริงมั้ย??
ฝ่ายที่อยากแบน พาราควอตและไกลโฟเซต ชอบพูดกันว่ามีสารทดแทน หรือมีวิธีการทดแทนแล้ว แต่แปลกมั้ยที่กรมวิชาการเกษตรยังไม่เคยออกมายืนยันเรื่องนี้ณ นาทีนี้ สารยอดฮิตที่ถูกอุปโลกให้เป็นสารทดแทน คือกลูโฟสิเนท แอมโมเนียม
สารนี้จะทดแทนได้มั้ย ต้องพิจารณา
1. พาราควอต ไกลโฟเซต และกลูโฟสิเนต เป็นสารประเภทใช้พ่นทางใบหลังจากวัชพืชงอกแล้ว และกำจัดวัชพืชแบบไม่เลือกทำลายเหมือนกัน แต่การตายของวัชพืชมีรายละเอียดที่ต่างกัน
2. พาราควอต มีกลไกเข้าไปยับยั้งการสังเคราะห์แสงของพืช ทำลายเฉพาะส่วนลำต้นและใบที่มีสีเขียว แต่ส่วนลำต้นที่เป็นสีน้ำตาลจะปลอดภัย
ระยะปลอดฝนหลังพ่น 30-60 นาที
ไม่เคลื่อนย้ายในต้นพืช
เข้าใจง่ายๆ คือโดนตรงไหน ตายตรงนั้น พ่นไม่ทั่ววัชพืชก็ไม่ตาย
พืชแสดงอาการแห้งตายภายใน 1 วัน
ในบางประเทศ เช่นอเมริกา บราซิล ใช้พ่นให้พืชใบร่วงก่อนเก็บเกี่ยว เข่น ถั่วเหลือง และ ฝ้าย
3. ไกลโฟเซต ยับยั้งการสร้างกรดอะมิโนใน Shikimate pathway ในพืช รา และแบคทีเรีย แต่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมไม่มีกระบวนการนี้ ไกลโฟเซตจึงไม่เป็นพิษต่อคนและสัตว์ ค่า LD50 = 5,600 มก./ กก. ปลอดภัยกว่ากินเกลือแกงในครัว แต่การเกิดพิษมาจากสารจับใบที่ผสมลงไปเพื่อช่วยให้ไกลโฟเซตเข้าสู่ต้นพืชได้ดีขึ้น เช่น POE talloamine ซึ่งถูก EU ประกาศห้ามขายไกลโฟเซตเฉพาะสูตรที่มีสารชนิดนี้ เพราะPOE talloamine เป็นสารก่อมะเร็ง แต่ยังอนุญาตให้ใช้ไกลโฟเซตที่มีสารจับใบตัวอื่นๆที่ปลอดภัย
ระยะปลอดฝน 4-6 ชั่วโมง เมื่อเข้าสู่ต้นพืชทางใบ ก็จะเคลื่อนย้ายในต้นพืชได้ดี จึงเหมาะสำหรับกำจัดวัชพืชที่มีหัวหรือ เหง้าอยู่ใต้ดิน เช่นแห้วหมู หญ้าคา
วัชพืชจะตายภายใน 10-15วันหลังพ่น
4. กลูโฟสิเนท แอมโมเนียม ยับยั้งเอนไซม์ glutamine synthethase ซึ่งพืชจะไปใช้สลายแอมโมเนีย ที่มากเกินไปในต้นพืช เมื่อเอนไซม์ตัวนี้ถูกยับยั้ง พืชจะสะสมปริมาณแอมโมเนียมากเกินไปจนทำให้พืชตาย
สารนี้เคลื่อนย้ายในพืชได้เล็กน้อย คือ ดีกว่า พาราควอต แต่เป็นรองไกลโฟเซต
ระยะปลอดฝน 4-6 ชั่วโมง
พืชจะตายภายใน 3-7 วันหลังพ่น
5. ราคาสารต่อลิตร (ก่อนมติคณะกรรมการขับเคลื่อนฯ ให้แบน 3 สาร 5 เม.ย. 2559 )พาราควอต ลิตรละ 80 บาท (อัตราใช้ 500 มล./ไร่ คิดเป็นต้นทุนครั้งละ 40 บาท/ไร่)
ไกลโฟเซต ลิตรละ 120 บาท (อัตราใช้ 500-1,000 มล/ไร่ คิดเป็นต้นทุนครั้งละ 60-120 บาท/ไร่)กลูโฟสิเนท ลิตรละ 650 บาท (อัตราใช้ 600-900 มล./ไร่ คิดเป็นต้นทุนครั้งละ 390-585 บาท/ไร่)
6. ราคาปัจจุบันพาราควอต ลิตรละ 200-250 บาท คิดเป็นต้นทุนครั้งละ 100-125 บาท/ไร่เมือวานคุยกับเกษตรกรปลูกมันสำปะหลังที่โคราช เล่าว่าปลูกมัน 1 รอบ ใช้พาราควอต 3 ครั้งและไกลโฟเซต 2 ครั้ง มีพื้นที่ 50 ไร่ยังไม่แบนก็ต้องจ่ายเงินเพิ่มไปแล้วไร่ละ 400 บาท หรือ ปีละ 20,000 บาท พี่เค้าแอบบ่นว่า ราคามันก็ถูกลงๆถ้าเกษตรกรยังมีความต้องการใช้ พาราควอตหรือไกลโฟเซต ก็ไปหาจากหลังร้าน แพงก็ยอมจ่าย (ไม่ได้หมายความว่าผู้ประกอบการทุกบริษัทจะแอบขายใต้ดิน แต่ในกลุ่มคนหมู่มากย่อมมีกลุ่มชอบฉวยโอกาส แต่ขาดสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม)พี่แกเล่าให้ฟังอีกว่าปลูกมันสำปะหลังมาตั้งแต่ 2540 พ่นยาฆ่าหญ้าเองมาตลอด 22 ปี ไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคเนื้อเน่าเลย ตรวจสุขภาพก็แข็งแรงดี เพราะแกใส่อุปกรณ์ป้องกันตัวอย่างดี ถามว่ามีคนตายเพราะพาราควอต แกตอบว่ามีครับ เค้ากินฆ่าตัวตาย แล้วก็ตายสมใจแกพูดอีกว่า "ข้างขวดก็บอกไว้ชัดเจนว่า ห้ามรับประทาน แต่คนมันอยากตาย เราจะไปโทษสารก้ไม่ถูกนะครับ"
6. ในสภาพพิ้นที่ปลูกยางพารา ปาล์มน้ำมัน ไม้ผล ที่มีฝนตกหนักเกือบทั้งวัน สารที่มีระยะปลอดในสั้นที่สุดคือ พาราควอต ปลอดฝน 30 นาทีก็พอ จะใช้คนหรือรถลงไปตัดหญ้าในช่วงหน้าฝน..เป็นไปไม่ได้
7. วัชพืชทีมีหัว เหง้า ไหลใต้ดิน จำเป็นต้องกำจัดด้วยไกลโฟเซต พ่นครั้งเดียวก็พอ ถ้าใช้พาราควอต ต้องพ่น 4-5 ครั้ง และเสียเวลารอให้วัชพืชแตกใบใหม่ก่อน เสียเวลาไป2-3 เดือนไม่ได้ปลูกอะไร
ถ้าใช้กลูโฟสิเนทก็พ่น 2-3 ครั้ง เปลืองต้นทุนและเวลา เช่นกัน
การแบนสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เพราะอ้างว่ามีพิษ ไม่ใช่หนทางที่ยั่งยืน เพราะเกษตรกรที่ยังใช้ไม่ถูกวิธี ใช้อัตรามากเกินความจำเป็นเพราะกลัววัชพืชไม่ตาย ใช้หัวฉีดผิดประเภท พ่นโดยไม่คำนึงถึงระยะปลอดฝน แถมยังไม่ยอมใส่อุปกรณ์ป้องกันตัว เพราะบ่นว่าร้อนอึดอัด
แบบนี้ สารเคมีที่เหลืออีก 260 ตัว ก็ต้องถูกแบนตามๆกันไปหมด

แบน 3 ยาปราบวัชพีช! ใช้ "สารทดแทน" เป็นเรื่องดี(ถ้ามีจริง)


สารทดแทนที่น่ากลัวที่สุดคือสารชีวภัณฑ์ เพราะทุกคนเข้าใจว่าปลอดภัย แต่ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า ยังไม่มีสารชีวภัณฑ์กำจัดวัชพืชที่ขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฏหมาย เคยมีสารสกัดจากใบยูคาลิปคัสที่อ้างว่ากำจัดวัชพืชได้เหมือนพาราควอต แต่เมื่อมีคนไปซิ้อและส่งวิเคราะห์พบว่ามีพาราควอต ปนอยู่ 4-5% ถ้าสารกสัดจากใบยูคา สามาถกำจัดวัชพืชได้จริง ทำไมออสเตรเลีย ประเทศต้นกำเนิดยูคาลิปตัส ไม่มีสารนี้จำหน่าย แถมยังอนุญาตให้ใช้พาราควอตและไกลโฟเซต อยู่ในปัจจุบัน
การใช้สารชีวภัณฑ์มาทดแทนพาราควอตหรือไกลโฟเซต เป็นเรื่องดี (ถ้ามีจริง) แต่ต้องตรวจสอบให้เแน่ใจว่าไม่ๆด้แอบใส่พาราควอต หรือไกลโฟเซต เข้าไปเจือปน ใส่นิดเดียวแต่ขายแพง ทำกำไรมากมายมหาศาล..
พวกกลัวสารเคมี อย่าตกเป็นเหยื่อของคนฉวยโอกาสแบบนี้.
แบบนี้เราเรียกว่าสารชีวภัณฑ์ได้หรือ???
ขอเรียกร้องให้หน่วยงานของ กษ. ที่มีหน้าที่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้องให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบธุรกิจเคมีเกษตร มหาวิทยาลัย องค์กรอิสระทางวิชาการ และ NGO ที่หวังดีกับประเทศชาติ มาร่วมมือกัน เปลี่ยนวิกฤตครั้งนี้ให้เป็นโอกาสดี ที่เกษตรกรทุกคนจะปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด ทำให้ตัวเองปลอดภัย ผลผลิตปลอดภัย ผู้บริโภคปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมยั่งยืน
ทุกฝ่ายที่อ้างว่ารักประชาชน รักประเทศชาติ ก็ตัองหันหน้าเข้ามาช่วยกัน คงไม่มีใครไม่รักประเทศไทยใช่มั้ย???
จากเพจสมาคม https://www.facebook.com/1868825710042450/posts/2401290876795928/

logoline