svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สำรวจ​ 'อมก๋อย' พื้นที่ศักยภาพ​แร่ถ่านหินชั้นดี​ 'ซับบีทูบีนัส'​

28 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัจจุบันไทยมีความต้องการใช้ถ่านหินมากกว่าปีละ 40 ล้านตันต่อปีซึ่งเราสามารถที่จะผลิตถ่านหินจากเหมืองแม่เมาะที่ใช้ได้เองเพียงแค่ 16 ล้านตันต่อปีเท่านั้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศ จึงมีความต้องการมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างโครงทำเหมืองถ่านหินเพิ่ม เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องนั่นคือผลิตพลังงานไฟฟ้า และการเผาปูนซีเมนต์

ใครเลยจะคิดว่า ลำธารสายเล็กๆ ที่ไหลผ่านขุนเขาสลับซับซ้อน ในตำบลอมก๋อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ จะพบแร่ถ่านหินโผล่ขึ้นจากพื้นดิน บ่งบอกให้เรารู้ว่าพื้นที่บริเวณนี้มีศักยภาพแรกสูงมาก

สำรวจ​ 'อมก๋อย' พื้นที่ศักยภาพ​แร่ถ่านหินชั้นดี​ 'ซับบีทูบีนัส'​



"ห้วยผาขาว" เป็นลำน้ำตามธรรมชาติที่ไหลผ่านพื้นที่เป้าหมายโครงการเหมืองถ่านหินอมก๋อย และในวันที่เราลงพื้นที่ เราได้เห็นแร่ถ่านหินที่อยู่ตามท้องน้ำลำธารทั่วไป ชาวบ้านแยกความแตกต่างระหว่างแร่ถ่านหินกับก้อนหินโดยการนำชะแลงแซะลงไป ในแผ่นคล้านหินสีดำ มันแตกกระจายออกมาได้อย่างง่ายดาย ซึ่งหากเป็นหินจะไม่แตกได้ง่ายๆ ทำให้แน่ใจว่านี่คือสินแร่ถ่านหิน

กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ระบุว่า พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ศักยภาพแร่ถ่านหิน "ซับบิทูมินัส" ซึ่งเป็นถ่านหินที่มีคุณภาพสูงกว่าถ่านหิน "ลิกไนต์" ที่พบในเหมืองแม่เมาะ จังหวัดลำปาง และจากคำขอใบประทานบัตร ของบริษัท 99 ธุวานนท์ จำกัด เนื้อที่ 284 ไร่ จะดำเนินการขุดแร่ถ่านหินในจำนวน 7.2 แสนตัน

สำรวจ​ 'อมก๋อย' พื้นที่ศักยภาพ​แร่ถ่านหินชั้นดี​ 'ซับบีทูบีนัส'​



โครงการทำเหมืองไม่ว่าชนิดใดก็ตาม จะไปตั้งอยู่ในชุมชนใดๆ ก็มักจะมีเสียงคัดค้านจากชาวบ้านในพื้นที่นั่นเพราะการทำเหมืองส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมค่อนข้างรุนแรง เป็นการเปลี่ยนสภาพภูมิประเทศ ระบบนิเวศไปจากเดิม

โครงการเหมืองถ่านหินที่อมก๋อย ก็เช่นเดียวกัน แต่มองในมุมของความต้องการใช้ถ่านหินในประเทศ ปัจจุบันไทยมีความต้องการใช้ถ่านหินมากกว่าปีละ 40 ล้านตันต่อปีซึ่งเราสามารถที่จะผลิตถ่านหินจากเหมืองแม่เมาะที่ใช้ได้เองเพียงแค่ 16 ล้านตันต่อปีเท่านั้น เพื่อเป็นการลดต้นทุนการนำเข้าถ่านหินจากต่างประเทศ จึงมีความต้องการมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างโครงทำเหมืองถ่านหินเพิ่ม เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องนั่นคือผลิตพลังงานไฟฟ้า และการเผาปูนซีเมนต์

แต่คำถามสำคัญก็คือชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ที่เป็นผู้ได้รับผลกระทบ จะต้องรับผิดชอบกับสิ่งเหล่านี้ แทนความต้องการของส่วนหรือไม่ หรือจริงๆแล้วเรามีทางเลือกอื่นที่จะอยู่ร่วมกันได้ โดยไม่ต้องมีใครได้รับความเดือดร้อน

จากการลงพื้นที่พูดคุยกับชาวบ้านอมก๋อย ที่อยู่ในพื้นที่เป้าหมายการทำเหมือง เราพบว่าโครงการนี้คิดวางแผนมาเป็นอย่างดี และใช้เวลานาน ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ชาวบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในพื้นที่เล่าให้ฟังว่ามีคนภายนอกเข้ามาติดต่อขอซื้อที่ ซึ่งไม่ทราบว่าจะนำไปทำอะไร แม้ที่ดินบริเวณนี้ไม่มีผู้ใดครอบครองเป็นเอกสารสิทธิ์ แต่ใช้ทำกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ปัจจุบันอยู่ในเขตป่าสงวนซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบเป็นกรมป่าไม้

สำรวจ​ 'อมก๋อย' พื้นที่ศักยภาพ​แร่ถ่านหินชั้นดี​ 'ซับบีทูบีนัส'​



เมื่อขายสิทธิ์ในที่ดินให้กับคนนอกพื้นที่ ที่พวกเขาไม่แน่ใจว่าเป็นตัวแทนบริษัทหรือไม่ เพราะไม่มีหลักฐานแน่ชัด มีการรับเงินชดเชยมาแปลงละ 2 แสนบาท มีจำนวน 10 ครอบครัวที่รับเงินดังกล่าวมาแล้ว แต่ยังทำกินต่อไปได้

ตลอดระยะเวลา 10 ปีให้หลังมานี้พวกเขาไม่รู้เลยว่าพื้นที่บริเวณนี้ได้ผ่านก่รมีการสำรวจแร่ และเตรียมพื้นที่ที่จะทำเหมืองแร่ถ่านหิน จนกระทั่งมีกลุ่มภาคประชาสังคมทราบเรื่อง ว่าจะมีการทำเวทีรับฟังความคิดเห็นจึงเข้าไปให้ความรู้กับชาวบ้านถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการมีเหมือง ถึงได้รู้ว่าชาวบ้านถูกกดทับ จากการสื่อสารที่ไม่รอบด้านจากผู้ประกอบการ และจากความกลัว ผู้นำท้องถิ่นในชุมชน

ปฏิเสธไม่ได้ว่า การยินยอมขายที่ดินแม้จะไม่ใช่เอกสารสิทธิ์ให้กับคนภายนอกพื้นที่ไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว รวมไปถึงการทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ที่ปรากฏรายชื่อชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมาย "บ้านกะเบอะดิน" ลงชื่อเห็นชอบโครงการดังกล่าวกลายเป็นจุดอ่อนของชาวชุมชนในการต่อสู้คัดค้านๆโครงการเหมืองถ่านหินแห่งนี้

สำรวจ​ 'อมก๋อย' พื้นที่ศักยภาพ​แร่ถ่านหินชั้นดี​ 'ซับบีทูบีนัส'​



แต่ความหวังก็ยังมีอยู่ เพราะโครงการยังต้องทำเวทีรับฟังความคิดเห็นตาม พ.ร.บ.แร่ พ. ศ. 2560 ที่จะต้องรับฟังชาวบ้านที่อยู่ที่มีส่วนได้เสียในรัศมี 1 กิโลเมตร ซึ่งความเคลื่อนไหวในชุมชนชาวบ้านนั้นไม่เห็นด้วยที่จะให้มีเหมืองถ่านหินดังกล่าว แม้ว่าจะมีข้อเสนอว่าจะพัฒนาถนนหนทางให้สะดวกสบายยิ่งขึ้น และจะเกิดการจ้างงาน

แค่อาชีพของชาวบ้านที่นี่ส่วนใหญ่ ปลูกข้าว มะเขือเทศและกะหล่ำปลี ส่งขายไปยังตลาดไทย สามารถสร้างเม็ดเงินให้กับชาวชุมชนได้เป็นกอบเป็นกำอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีเหมือนเข้ามาตั้งในพื้นที่อีก

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #Vajiravit #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline