svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ทำไมปีนี้​ 'ไฟป่าพรุควนเคร็ง​'​ รุนแรง

09 สิงหาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การดับไฟป่าพรุนั้นมีความยากลำบากกว่าการดับไฟป่าทั่วไปหลายเท่าตัว เพราะต้องต่อสู้กับไฟทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง หาขอบเขตที่แท้จริงของไฟได้ยากเนื่องจากไฟมีควันมหาศาลแต่แทบจะไม่มีเปลวไฟให้เห็น ในขณะที่ไฟจะคุกรุ่นคืบคลานไปเรื่อยๆ ดังนั้นไฟที่คิดว่าดับลงแล้วจึงกลับคุขึ้นใหม่ได้โดยง่าย จนดูประหนึ่งว่าไฟป่าพรุเป็นไฟปีศาจที่ไม่มีวันตาย

ในปีที่อากาศแห้งแล้งจัด มีการระบายน้ำออกจากป่าพรุ จนระดับน้ำในป่าพรุลดต่ำลงกว่าระดับผิวดิน ทำให้ดินพรุแห้งและกลายเป็นเชื้อเพลิงอย่างดี ก่อให้เกิดปัญหาไฟไหม้ป่าพรุตามมา

ไฟที่ไหม้ป่าพรุครั้งใหญ่ในประเทศอินโดนีเซียในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนธันวาคม ของปี 2540 ซึ่งพื้นที่ป่าพรุถูกไฟไหม้หลายแสนไร่ ก่อให้เกิดปัญหามลภาวะข้ามพรมแดน โดยหมอกควันจากไฟป่าพรุลอยปกคลุมไปถึงประเทศสิงคโปร์ ประเทศมาเลเซีย ประเทศพิลิปปินส์ ประเทศบรูไนดารุซาลาม และหมอกควันไฟส่วนหนึ่งลอยมาปกคลุมภาคใต้ประเทศไทย

สำหรับในประเทศไทย ก็เคยเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ป่าพรุหลายครั้ง โดยครั้งสำคัญเกิดในปี 2540 ที่ป่าพรุบาเจาะ ซึ่งมีพื้นที่พรุถูกไฟไหม้ประมาณ 7,000 ไร่ และในระหว่างเดือนพฤษภาคม-มิถุนายนของปี 2541 ซึ่งเกิดไฟไหม้ป่าพรุโต๊ะแดง เสียหายไปถึง 14,837 ไร่ โดยต้องใช้ระยะเวลาเกือบสองเดือนและเสียงบประมาณไปจำนวนหลายล้านบาทกว่าที่จะควบคุมไฟเอาไว้ได้

ปี 2562 ช่วงเดียวกันกับวิกฤตไฟป่าพรุในช่วงที่ผ่านมา วันนี้ยังยากที่จะควบคุมไฟเอาไว้ได้ และยังไม่สามารถสรุปได้ว่าไฟไหม้พื้นที่ไปกี่ตารางกิโลเมตร แต่ที่แน่ๆลามไปถึงสวนปาล์มของชาวบ้านในพื้นที่ สร้างความเสียหายอย่างมาก

ป่าพรุ เป็นป่าไม้ผลัดใบที่ขึ้นในบริเวณที่ลุ่มมีน้ำท่วมขัง ดินในป่าพรุ เรียกว่าดินพรุ หรือดินอินทรีย์ (Peat soil) ดินชนิดนี้แหละที่เป็นเชื้อเพลิงอย่างดี เกิดจากการตกสะสมของใบไม้ กิ่งไม้

พื้นป่าพรุที่มีน้ำท่วมขังทำให้ขบวนการย่อยสลายอินทรียวัตถุเป็นไปอย่างเชื่องช้า จึงมีการสะสมของใบไม้และกิ่งไม้เล็กๆ อยู่ในปริมาณมหาศาลและทับถมกันจนเป็นชั้นหนา ส่วนชั้นดินพรุมีความหนาโดยเฉลี่ยประมาณ 0.5 เมตร ในขณะที่ชั้นดินพรุโต๊ะแดงมีความหนาโดยเฉลี่ย 0.5-1.0 เมตร

การดับไฟป่าพรุจึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะไฟที่ไหม้ป่าพรุ มีลักษณะพิเศษ คือเป็นไฟกึ่งผิวดินกึ่งใต้ดิน (Semi-Ground Fire) ที่ไหม้ในสองมิติ

ส่วนหนึ่งจะไหม้ในแนวระนาบไปตามผิวพื้นป่าเช่นเดียวกับไฟผิวดิน ในขณะที่อีกส่วนหนึ่งจะไหม้ในแนวดิ่งลึกลงไปในชั้นดินพรุ แม้ชั้นดินพรุบางแห่งจะหนาหลายเมตรก็ตาม แต่ไฟในแนวดิ่งจะไหม้ลึกลงไปได้เพียงระดับหนึ่งเท่านั้น

ลักษณะเฉพาะของไฟป่าพรุที่แตกต่างไปจากไฟป่าบกโดยทั่วไป ทำให้วิธีการและกลยุทธในการดับไฟป่าพรุมีความแตกต่างไปจากการดับไฟป่าบกด้วยเช่นกัน

การดับไฟป่าพรุนั้นมีความยากลำบากกว่าการดับไฟป่าทั่วไปหลายเท่าตัว เพราะต้องต่อสู้กับไฟทั้งในแนวราบและแนวดิ่ง หาขอบเขตที่แท้จริงของไฟได้ยากเนื่องจากไฟมีควันมหาศาลแต่แทบจะไม่มีเปลวไฟให้เห็น ในขณะที่ไฟจะคุกรุ่นคืบคลานไปเรื่อยๆ ดังนั้นไฟที่คิดว่าดับลงแล้วจึงกลับคุขึ้นใหม่ได้โดยง่าย จนดูประหนึ่งว่าไฟป่าพรุเป็นไฟปีศาจที่ไม่มีวันตาย

ผู้ที่มีประสบการณ์ในการดับไฟป่าพรุตระหนักดีว่า การดับไฟให้ได้อย่างเด็ดขาดแทบจะเป็นไปไม่ได้ หรือถ้าทำได้ก็จะต้องใช้เวลานานนับเดือนและต้องสูญเสียงบประมาณจำนวนมหาศาลเกินกว่าที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนได้

ข้าราชการ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เคยเขียนไว้ว่า ขอให้ผู้รับผิดชอบการควบคุมไฟป่าในพื้นที่ป่าพรุพึงสังวรณ์ไว้ "รีบดับไฟป่าพรุตั้งแต่ไฟเริ่มเกิด มิเช่นนั้นไฟป่าพรุจะดับอนาคตของท่าน"

#วชิรวิทย์ #วชิรวิทย์รายวัน #VAJIRAVIT #VajiravitDaily #Nation #NationTV

logoline