svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"แก้มลิงใต้ดิน" ทางออกน้ำท่วม กทม. ตอน2

16 มิถุนายน 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ปัญหาน้ำท่วมในกรุงเทพฯ หลายคนเชื่อว่าไม่มีทางออก แม้กทม.จะพยายามแก้ไขแค่ไหน เพราะพื้นที่ที่ต่ำกว่าระดับแม่น้ำเจ้าพระยาถึง 2 เมตร บวกกับปริมาณฝนที่ตกลงมาเพิ่มขึ้นทุกปี แต่วันนี้ คนเมืองกรุงอาจยังมีความหวัง เพราะนายกสภาวิศวกรออกมาเสนอแนวทางแก้ปัญหา ติดตามรายละเอียดกับรายงานคุณขวัญเรียม แก้วสุวรรณ

คนกรุงเทพอย่าเพิ่งสิ้นหวัง ประเทศที่ต่ำกว่าระดับน้ำอย่างเนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เขายังอยู่และแก้ปัญหาได้ เราต้องมีความหวัง ประโยคจาก อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยี พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หรือ สจล. ศ.ดร.สุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ ในฐานะนายกสภาวิศวกร ให้สัมภาษณ์หลังจากเกิดเหตุการณ์น้ำรอระบายในเขตกรุงเทพมหานครในวันที่ 7 มิ.ย.ที่ผ่านมา ส่งผลให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อน
นายกสภาวิศวกร บอกว่า ปัจจุบันโครงสร้างของกรุงเทพมหานคร มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะ อยู่ระดับถนนต่ำกว่าแม่น้ำเจ้าพระเจ้าถึง 2 เมตร ประกอบกับท่อระบายน้ำอยู่สูงกว่าถนน โดยเฉพาะบริเวณซอยที่เป็นพื้นที่อยู่อาศัยหนาแน่น เมื่อถึงช่วงฤดูฝนหรือช่วงที่มีฝนตกชุก จึงทำให้เกิดปัญหาระบายน้ำไม่ทัน และท่วมขังจนกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชน ถึงแม้ว่ากรุงเทพมหานครจะมี อุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำ เพื่อเป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาน้ำท่วมแล้วก็ตาม แต่ด้วยขีดความสามารถในการระบายน้ำที่จำกัด เช่น ปัญหาเครื่องสูบน้ำขัดข้องไม่พร้อมทำงาน และปัญหาขยะอุดตัน ทำให้ไม่สามารถลำเลียงน้ำไปยังอุโมงค์ระบายน้ำได้ จึงเสนอแนวคิดใช้เทคโนโลยีแก้ไขปัญหานี้ ก็คือการสร้างแก้มลิงใต้ดินตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 หรือ แก้มลิงใต้ดิน BKK
แก้มลิงใต้ดิน BKK เป็นโมเดลที่หลายประเทศเลือกใช้ โดยเฉพาะกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ที่มีข้อกำจัดด้านพื้นที่คล้ายกับกรุงเทพมหานคร ดังนั้น จึงมั่นใจว่าโมเดลนี้จะเป็นแนวทางการแก้ปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้ในระยะยาว
โดยแก้มลิงใต้ดิน BKK เป็นนวัตกรรมอ่างเก็บน้ำใต้ดิน ซึ่งใช้วิธีเปิดหน้าดินเป็นแทงค์เก็บกักน้ำ โดยใช้เครื่องมือเจาะคว้านดินด้านในสร้างเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ใต้ดินขึ้น โดยที่ไม่กระทบการใช้ประโยชน์จากผิวหน้าดิน ที่มีจุดยุทธศาสตร์ที่สามารถทำได้ทันที และทุนที่ต้องใช้ก็อยู่ในงบที่ทางการไทยสามารถกู้ยืมได้ เพราะการสูบน้ำในปัจจุบันใช้งบหลักหมื่นล้านบาทอยู่แล้ว
สำหรับจุดเสี่ยงที่ต้องเร่งทำทันที คือบริเวณสวนสาธารณะสวนจตุจักร บึงในพื้นทีโรงงานยาสูบ และจุดเสี่ยงขนาดเล็ก ได้แก่ ลาดพร้าว บางซื่อ รามคำแหง ปทุมวัน เพลินจิต สุขุมวิท
นอกจากนี้ ยังเสนอให้ใช้เทคโนโลยีการติดตามการทำงานของเครื่องสูบน้ำแบบอัตโนมัติ เพื่อให้ทราบสถานการณ์ทำงานของเครื่องสูบน้ำ และยังช่วยในการประเมินศักยภาพของเครื่องสูบน้ำได้จากศูนย์กลางได้ โดยเจ้าหน้าที่จะมีเวลาในการประเมินความพร้อมในกรณีที่อุปกรณ์ขัดข้อง ซึ่งสามารถตัดสินใจเคลื่อนย้ายอุปกรณ์จากพื้นที่ใกล้เคียง ไปใช้งานในพื้นที่ที่มีความจำเป็นได้ ช่วยให้ระบบการระบายน้ำไม่ขาดตอน และเป็นโมเดลที่แก้ปัญหาปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ได้อย่างยั่งยืน

logoline