svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

07 พฤษภาคม 2562
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พิจิตร - ชาวอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต นำอาหารคาวหวาน ผลไม้ตามฤดูกาล ใช้เครื่องเบญจรงค์ โดยการจับสลากหมายเลข ถวายอาหารเลี้ยงแด่พระภิกษุสงฆ์ เป็นการสืบสานประเพณีบุญสลากภัต ที่จัดขึ้นปีละครั้ง และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนที่ 6 ไทย

ชาวบ้านอำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร นำอาหารคาว หวาน ผลไม้ตามฤดูกาล จัดเรียงในภาชนะ เครื่องเบญจรงค์ที่ตกแต่งอย่างสวยงาม นำไป ทำบุญเลี้ยงพระ ในวัดท่าบัวทอง อำเภอโพธิ์ประทับช้าง จังหวัดพิจิตร เพื่อร่วมสืบสานประเพณีบุญสลากภัต ที่จัดขึ้นปีละครั้ง และจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนที่ 6 ไทย
ชาวบ้านจะนำอาหารคาวหวาน ที่ทำมาจากบ้านและผลไม้ตามฤดูกาล ซึ่งในช่วงนี้จะเป็นมะม่วงที่ออกผลผลิตจำนวนมาก นำใส่ในภาชนะถ้วยชามเบญจรงค์ ก่อนที่ชาวบ้านจะทำการจับสลาก เพื่อได้หมายเลขในการทำบุญเลี้ยงพระ โดยไม่ได้เจาะจงกับพระรูปใดตามหลักการในพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงวางไว้เพื่อสร้างจิตสำนึกความเท่าเทียมกันและสร้างความเป็นอันหนึ่งเดียวกันกับชาวบ้านและคณะสงฆ์

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

พระครูศรีรัตนวิเชียรเจ้าคณะตำบลวังจิกและเจ้าอาวาสวัดท่าบัวทองระบุว่า ในช่วงเดือน 6 ไทย ทุกปี จะเป็นการทำบุญสลากภัต ซึ่งจะมีอาหารคาวหวาน และผลไม้ ใส่กับชุดเครื่องชามเบญจรงค์ ที่ชาวบ้านเก็บไว้ประดับบ้าน นำมาใส่อาหาร เพื่อนำมาทำบุญเลี้ยงพระ ซึ่งแต่ละพื้นที่จะแตกต่างกันไป โดยเฉพาะผลไม้ ที่นำมาส่วนมากในจังหวัดพิจิตร จะเป็นมะม่วง ที่จะออกมากในช่วงนี้

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

.

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

ในส่วนภาคใต้ จะเป็น ทุเรียน เงาะ และ มังคุด ที่นิยมมาทำบุญเลี้ยงพระ หรืออีกอย่างหนึ่ง ที่เรียกว่าทำบุญตามผลไม้ฤดูกาล จะนำอาหาร ขนม และ ผลไม้ มาจับสลากให้ได้ตามพระสงฆ์แต่ละรูป มีทั้ง การจับสลาก ทั้งพระสงฆ์ และ ชาวบ้าน ให้ได้หมายเลขตรงกัน หรือให้ชาวบ้านจับสลากอย่างเดียว แล้วนิมนต์พระสงฆ์เดินรับอาหาร ซึ่งแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป
ประวัติของการทำบุญสลากภัต ซึ่งมีประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จประทับ ณ พระเชตวันมหาวิหาร วันหนึ่งมีนางกุมารีผู้หนึ่งได้หอบลูกน้อย หนีนางยักขิณี ผู้ซึ่งมีเวรกรรมต่อกัน พระพุทธองค์ จึงแสดงธรรมให้ทั้งสองคน "ระงับด้วยการไม่จองเวร" แล้วก็ช่วยกันทำมาหากิน
นางยักขิณีซาบซึ้ง จึงตอบแทนโดยเป็นผู้พยากรณ์ แก่นางกุมารี ว่าให้ทำนาปีที่น้ำมาก ทำนาที่ลุ่ม ปีที่แล้งทำนาบนดอนปีที่น้ำหลาก จนนางกุมารีมีฐานะดีขึ้น จึงนำอาหารมาตอบแทนนางยักขิณีจนมีข้าวของมากมาย นางยักขิณีจึงนำของเหล่านั้นถวายพระ แต่ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรถวายพระสงฆ์รูปไหน จึงทำเป็นสลากภัตร(ก๋วยสลาก) ขึ้น ให้พระจับเบอร์ด้วยการอุปโลกนกรรม พระสงฆ์รูปไหนจะได้ของอะไรจะมีค่ามากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นกับโชคของตัวเอง"การทำสลากภัตรของนางยักขิณีนี้ นับเป็นการทานสลากครั้งแรกในพระพุทธศาสนา

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

.

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

สำหรับประเพณีสลากภัต ในประเทศไทย ภาคเหนือเรียกว่า ประเพณีทานก๋วยสลาก ตามวัดต่าง ๆ โดยจัดในช่วงเดือน6จนถึงเดือน8ซึ่งเป็นช่วงผลไม้อุดมสมบูรณ์โดยมีการรวมตัวของคณะศรัทธาทั้งหมู่บ้านนำผลไม้และสำรับคาวหวานไปตั้งเป็นสลากถวายพระภิกษุที่นิมนต์มาจากวัดต่าง ๆ เป็นประเพณีใหญ่สำหรับหมู่บ้านและวัดนั้น ๆ โดยในแต่ละภูมิภาคมีรายละเอียดการจัดประเพณีแตกต่างกันไป...

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

.

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

.

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

.

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

.

ชาวพิจิตร สืบสานประเพณีบุญสลากภัต

logoline