svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ไลฟ์สไตล์

โปงลางเชื่อมสัมพันธ์ไทย-แอฟริกา

22 กันยายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถานทูตไทยในกรุงมาปูโต ประเทศโมซัมบิก แอฟริกา นำเอาโปงลางคณะแรกข้ามน้ำข้ามทะเล เข้าไปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีของสองประเทศ ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากชาวโมซัมบิก และยังมีการอวดลีลาท่าเต้นแบบฉบับของชาวแอฟริกา เข้ากับเสียงแคน จากไทย

หลังจากที่กลุ่มโปงลาง เดินทางไปเผยแผ่วัฒนธรรม ได้เกือบ นับ10 วัน ที่ประเทศโมซัมบิก ในทวีปแอฟริกา ก็มีการชักชวนพนักงานทำความสะอาดของสถานทูตไทย ในโมซัมบิก ออกลีลาการแต้นแบบแอฟริกัน โมซัมบิกประกอบจังหวะกลองยาวเคล้าเสียงแคน จาก"ครูพงศ์" และหมอแคนอีสาน ชื่อ "ซัน" ที่ทางสถานทูตจัดให้พวกเขาและคณะมาแสดงที่โมซัมบิก


เรื่องนี้ เกิดจาก เอกอัครราชทูตไทยประจำโมซัมบิก ที่เห็นว่า ดนตรีพื้นบ้านอีสานหรือโปงลางนั้นน่าจะเข้ากับลีลาดนตรีแบบแอฟริกันได้ดี และจะเป็นเครื่องมือชั้นยอดที่จะสร้างความเข้าอกเข้าใจกันของคนไทยกับคนโมซัมบิก


โปงลางพื้นบ้านอีสานจึงได้ฤกษ์มาแสดงที่โมซัมบิก ซึ่งน่าจะถือเป็นครั้งแรกในแอฟริกาด้วย



การแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมโดยเฉพาะในระดับประชาชนคนเดินถนนแบบนี้ เป็นสิ่งที่ทางสถานทูต ตั้งใจและเพียรพยายามทำในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา โดยหวังว่าจะเป็นรากฐานที่สำคัญของความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศ และเป็นสิ่งเกื้อกูลประโยชน์ในทุกด้านของไทยในโมซัมบิก ในขณะที่สถานทูตเพิ่งจะเปิดได้เพียงสองปีกว่าๆ เท่านั้น


(คือแอริกันบีนที่เป็นจังหวะเร็ว ก็คล้ายๆกันกับเครื่องดนตรีโปงลางของเราที่มีความครึกครื้น ซึ่งคนที่นี่ก็ตอบรับด้วยดี สามารถแลกเปลี่ยนกันเล่นเครื่องดนตรีด้วยกันได้ ซึ่งทางฝั่งไทยของเราก็ข้ามไปลเ่นเครื่องทิมพีล่าของเค้า ของเค้าก็ข้ามมาโปงลางได้เช่นกัน ซึ่งสเกลมันเป็นสเกลเดียวกัน ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกที่คนแอฟริกา และคนไทยฟังเสียงสเกลเหมือนกัน ที่ต่างกับดนตรีตะวันตก ซึ่งครั้งนี้เป็นมากกว่าที่เราคิดด้วยซ้ำ)


การแลกเปลี่ยนการเล่นเครื่องดนตรีของสองประเทศ ทำให้คนดูชาวโมซัมบิกมีอารมณ์ร่วมไปด้วย ซึ่งเป็นเครื่องชี้ให้เห็นว่า ถึงแม้สองประเทศจะอยู่ห่างกัน แต่ก็มีวัฒนธรรมที่ใกล้เคียงกัน เมื่อนักดนตรีท้องถิ่นโมซัมบิกทราบว่า มีคณะโปงลางจากประเทศไทยจะเดินทางมาจัดแสดงที่เกาะโมซัมบิก กลุ่มนักดนตรีโมซัมบิกกลุ่มนี้ก็ไม่รีรอที่จะเชิญคณะโปงลางมาร่วม Jam ด้วย


การเข้าไปเล่นในหมู่บ้านตวน ในจังหวัดกาซ่า ทำให้เห็นถึงพรสวรรค์ของคนแอฟริกาได้อย่างชัดเจน เพราะไม่ว่าจะเล่นเครื่องดนตรีชิ้นใด คนที่นี่ก็สามารถเข้าร่วมแจมได้อย่างมีจังหวะ แบบลงตัว


การเดินทาง 1 วันเต็มๆที่ทางสถานทูตไทยในโมซัมบิกได้นำคณะโปงลางจากประเทศไทย ข้ามน้ำข้ามทะเล มาแสดงให้ชาวกรุงมาปูโต และชาวบ้านที่อาศัยอยู่บนเกาะโมซัมบิก ซึ่งก่อนหน้านี้ที่นี่เป็นเมืองหลวงเก่าของโมซัมบิก และยังเป็นเมืองมรดกโลกยูเนสโก "ที่มีชีวิต" ที่จังหวัดนัมปูลา อยู่ทางภาคเหนือของโมซัมบิก เพื่อให้เราทั้งสองประเทศรู้จักกันมากขึ้น


ซึ่งไทยและโมซัมบิกเคยใกล้ชิดกันผ่านอาณานิคมโปรตุเกส มหาสมุทรอินเดียจึงเปรียบดั่งถนนหลวงสายใหญ่ที่ไทยและโมซัมบิกเป็นเพื่อนบ้านเรือนเคียง ใกล้กันเพียงแค่ข้ามถนน

logoline