svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

เทียงกง-1 สถานีอวกาศแห่งแรกของจีน ตกสู่โลก หลังโคจรด้วยตัวเองนาน 2 ปี

02 เมษายน 2561
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในที่สุดสถานีอวกาศแห่งแรกของจีน เทียงกง-1 ก็ตกลงในแปซิฟิกใต้ เฉียงเกาะตาฮิติไปเพียงนิดเดียว หลังจากโคจรเข้าใกล้โลกด้วยตัวเองมานาน 2 ปี ที่เชื่อว่า จีนสูญเสียการควบคุม ทั้งยังคาดการณ์ผิดก่อนหน้านี้ว่า มันจะตกใกล้ชายฝั่งบราซิล

สถานีอวกาศเทียนกง-1 ที่แปลว่า "พระราชวังแห่งสรวงสวรรค์" ยาว 12 เมตร หนัก 9 ตัน ได้พุ่งเข้าสู่บรรยากาศโลก ด้วยความเร็วเกือบ 29,000 ก.ม./ช.ม. ก่อนตกนอกชายฝั่งเกาะตาฮิติในแปซิฟิกใต้ ในสภาพของลูกไฟขนาดใหญ่เมื่อเวลาประมาณ 08.15 น. ตามเวลากรุงปักกิ่ง หรือราว 07.15 น. ตามเวลาในไทย หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศูนย์อวกาศของจีนได้ทำนายว่า เทียงกง-1 จะตกที่นอกชายฝั่งบราซิล ในเซาธ์ แอตแลนติก ใกล้กับนครใหญ่ๆ เช่น เซา เปาโล หรือไม่ก็ริโอ เด จาเนโร แต่ก็ยืนยันว่า โอกาสที่มนุษย์คนหนึ่งจะโดนเศษเสี้่ยวของสถานีอวกาศ มีไม่ถึง 1 ในล้านล้าน

เทียนกง-1 กลับสู่โลกในสภาพที่ไร้การควบคุม, แตกออก และบางส่วนเกิดไฟลุกไหม้ ตอนที่ตกลงสู่มหาสมุทรสำนักงานอวกาศแห่งยุโรป หรือ ESA ระบุว่า แม้ว่าขนาดของมันจะไม่เท่ากับสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS แต่ก็ใหญ่กว่าขยะอวกาศอื่นๆ ที่โคจรอยู่รอบโลก และเชื่อว่า ตอนที่กลับสู่บรรยากาศโลก น้ำหนักของมันเหลือเพียง 1.5-3.5 ตัน โดยเหลือเพียงชิ้นส่วนที่เป็นไททาเนียมกับสแตนเลสที่ทนความร้อนเท่านั้น

เทียนกง-1 เป็นสถานีอวกาศแห่งแรกของจีน ถูกส่งขึ้นไปในอวกาศ เมื่อปี 2554 และถูกใช้เป็นแพล็ตฟอร์มเพื่อการทดลองและรองรับโครงการที่ใหญ่กว่า เช่น เทียนกง-2ที่ถูกปล่อยขึ้นไปเมื่อเดือนกันยายน ปี 2559 และการสร้างสถานีอวกาศถาวรในอนาคต มันเคยรองรับลูกเรือ 2 คน ที่ขั้นไปปฏิบัติภารกิจ และถูกใช้ในการทดสอบขั้นตอนการเชื่อมต่อยานอวกาศ และปฏิบัติการอื่นๆ โดยลูกเรือชุดสุดท้ายเดินทาง กลับออกมาเมื่อปี 2556 ก่อนขาดการติดต่อไปเมื่อปี 2559 และนับแต่นัน มันได้โคจรเข้าใกล้โลกมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยตัวของมันเอง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญอวกาศของตะวันตกต่างคิดว่า จีนสูญเสียการควบคุมสถานีอวกาศแห่งนี้ แต่จีนปฏิเสธ




logoline