svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

ยอมถอย! ถอดอำนาจดักฟังทางโทรศัพท์

23 ธันวาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ในที่สุดกรรมาธิการ พิจารณาร่างกฏหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ว่า ด้วย ป.ป.ช. ก็ต้องยอมถอน มาตรา 37/1 มาตราเจ้าปัญหา เรื่องการสืบค้นข้อมูลทางโทรศัพท์ หลังการถกเถียงกันยาวนาน 2 วันในที่ประชุม สนช. ติดตามรายงานเรื่องนี้กับคุณอนุพรรณ จันทนะ


หลังจากถูกสังคมตั้งคำถาม ถึงความจำเป็น ที่เพิ่มอำนาจให้ ป.ป.ช.สามารถเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารได้ทุกช่องทาง หรือ เป็นการดักฟัง เป็นการละเมิดสิทธิของประชาชนหรือไม่ โดยหากดูรัฐธรรมนูญที่คุ้มครอง ตามที่มีการถกเถียงกันในรัฐสภาอย่างกว้างขวาง ก็พบว่า ในมาตรา 36 ของรัฐธรรมนูญ ระบุว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร ไม่สามารถตรวจได้ เว้นแต่มีคำสั่งศาล และข้อนี้เอง ที่ถูกหยิบยกมาแย้งให้อำนาจดักฟังนี้ ต้องถอดออกไป

สนช.พิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยมีประเด็นที่สังคมจับตา คือ การเพิ่มอำนาจให้ ป.ป.ช.สามารถเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารได้ทุกชนิด หรือที่เข้าใจกันว่า การดักฟัง

การพิจารณาเพิ่มเขี้ยวเล็บให้ ป.ป.ช. ครั้งนี้ ใช้เวลาถกเถียงกว่า 2 วัน โดยมีมาตราที่สำคัญคือ 37/1 ที่ให้อำนาจ ป.ป.ช. สามารถเข้าถึงข้อมูลทุกช่องทางการสื่อสาร ที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า จะเกี่ยวข้องกับการทุจริต โดยเหตุผลผู้ที่สนับสนุนให้อำนาจนี้เกิดขึ้น ชี้ว่า ที่ผ่านมาการทำคดี ไม่สามารถแจ้งกับศาล ถึงที่มาของพยานหลักฐานได้ เพราะเป็นข้อมูลที่ได้มาอย่างผิดกฎหมาย หรือ เป็นการแอบดักฟังนั่นเอง ส่วนกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะผู้กุมอำนาจนี้ อย่าง สุภา ปิยะจิตติ ก็สนับสนุนเต็มที่ พร้อมชี้ว่า การปราบโกง จำเป็นต้องมีเครื่องมือ เพราะถ้าเสือไม่มีเขี้ยวเล็บ ก็คือแมว

ส่วนความเห็นแย้ง ดูเหมือนจะมีน้ำหนักกว่า โดยเฉพาะการลุกขึ้นพูดของอดีตกรรมการ ป.ป.ช. วิชา มหาคุณ ในฐานะกรรมาธิการเสียงข้างน้อย ซึ่งเป็นผู้มีประสบการณ์ตรงในการทำคดีทุจริต โดยได้หยิบยกหมัดเด็ดว่า การทำคดีทุจริตประวัติศาสตร์ อย่างคดีโครงการรับจำนำข้าว ก็ไม่เห็นต้องใช้เครื่องมือนี้ พร้อมชี้ให้เห็นถึงปัญที่จะตามมาว่า จะทำให้องค์กรสั่นสะเทือน เหมือนหน่วยงานตรวจสอบของแอฟริกาใต้ ที่มีอำนาจมากจนเกินไป สุดท้ายก็ถูกยุบ ขณะเดียวกัน ยังพบว่า บางประเทศ มีข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี หลุดอดกมา และถูกนำไปใช้แบล็คเมล์ในทางการเมืองโดยการเข้าถึงข้อมูลการสื่อสาร มีการอภิปรายกันว่า จะได้ข้อมูลทั้งหมด ทั้งที่เกี่ยวข้องกับคดี และที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี ซึ่งข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องกับคดี หลายคนเป็นห่วงในส่วนนี้ เพราะจะเป็นภัยทางการเมือง พร้อมมองว่า ถ้าอำนาจไปอยู่ในมือคนไม่ดี ก็จะเป็นดาบสองคม แต่ท้ายสุดกรรมาธิการเสียงข้างมาก ก็ต้องยอมถอดมาตรานี้ออก เพราะเสียงค้านดังกว่าสนับสนุนถึงแม้อำนาจการดักฟังนี้ จะถูกถอดออก แต่หากดูข้อกฎหมายอื่น ก็พบว่า ยังมีกฎหมายจำนวน 10 ฉบับ ที่ให้อำนาจกับเจ้าพนักงาน ในการดักฟังโทรศัพท์ และเข้าถึงข้อมูลของบุคคลอื่นได้ อย่าง พ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษ พ.ศ. 2547 ที่บัญญัติว่า ในกรณีที่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่า เอกสาร หรือข้อมูลข่าวสารอื่นใดซึ่งส่งทางไปรษณีย์ โทรศัพท์ คอมพิวเตอร์ ถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิด สามารถขออนุมัติจากอธิบดี ในการเข้าถึงข้อมูลได้รวมไปถึงยังมี พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2519 พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 นอกจากนี้ ยังมีอีก 1 ร่างกฎหมาย คือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาให้อำนาจ"พนักงานสอบสวน"ดักฟังโทรศัพท์ได้ โดยร่างกฎหมายฉบับนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบเมื่อ 25 เม.ย.60 และส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจ ซึ่งตรวจร่างเสร็จแล้ว กำลังรอส่งให้ สนช.พิจารณาต่อไป

logoline