ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม หรือพฤศจิกายนของทุกๆ ปี ชาวอินเดีย จะมีเทศกาลสำคัญประจำปีของศาสนาฮินดู ก็คือ เทศกาลแห่งแสงสว่าง Diwali สัญลักษณ์แห่งการเฉลิมฉลองชัยชนะของแสงสว่างเหนือความมืด และชัยชนะของความดีเหนือความชั่วของอินเดีย
ทำความรู้จัก Diwali คือ เทศกาลสำคัญของชาวฮินดู และยังถือเป็นขึ้นวันปีใหม่ของอินเดีย โดยในวันนี้จะมีการบูชาพระพิฆเนศ เทพเจ้าแห่งความมั่งคั่งและร่ำรวย และปัญญา ด้วยขนม #โมทกะ #ลาดู ขนมที่ท่านโปรดปรานเหนือสิ่งอื่นใด รวมถึงจะมีการบูชาพระแม่ลักษมีเทวี เทพเจ้าแห่งทรัพย์และความร่ำรวย
ตำนานความเชื่อของชาวอินเดียที่นับถือ ศาสนาฮินดูกว่าร้อยปีที่ผ่านมา Deepavali ในภาษาสันสกฤตมาจากรากศัพท์ “Row of Light” หรือ แถวของแสงสว่างแห่งชัยชนะ เป็นการต่อสู้ของ 2 ฝ่าย ระหว่างความดี และความชั่ว
ผู้นำฝ่ายอธรรม คือ Narakasura ปีศาจร้ายอาศัยในความมืด เมื่อบ้านเรือนหลังใดจุดตะเกียงเพื่ออาศัยแสงสว่างในการดำรงชีพ Narakasura จะฆ่ามนุษย์เพื่อไม่ให้เกิดแสงสว่าง ทำให้ประชาชนรู้สึกหวาดกลัว ตามความเชื่อของชาวฮินดู ทำให้ต้องสวดมนต์อ้อนวอนพระเจ้าให้ส่งผู้มีบุญมาปราบสิ่งชั่วร้าย
การต่อสู้ระหว่าง Lord Krishna (ลอร์ด กฤษณะ) ตัวแทนฝ่ายธรรมะ และ Narakasura เปรียบเสมือนการต่อสู้ระหว่างความดีกับ ความชั่ว ท้ายที่สุด Narakasura รู้สึกสำนึกบาปที่กระทำลงไป และเพื่อเป็นการไถบาป Nara-kasura ร้องขอให้ประชาชนจุดไฟเฉลิมฉลองในการตายของเขา
ในช่วงเทศกาลดีปาวาลี กิจกรรมสำคัญคือการจุดตะเกียงดินเผา อันมีที่มาจากชื่อเทศกาลที่แปลว่า “แถวตะเกียง” และการทำข้าวทิพย์ถวายเจ้าแม่ลักษมี นอกจากนี้ในช่วงการเฉลิมฉลอง ผู้คนยังนิยมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าใหม่ มีการแจกขนม และมีการจุดประทัดกันตลอดวัน เป็นที่คึกคักกันทั้งเมือง
โดยในทุกสถานที่ จะมีการจุด Diyas (ตะเกียงไฟน้ำมันรูปถ้วยขนาดเล็กที่ทำจากดินเผา)
หรือถ้าไม่มีตะเกียงดิน ก็จะใช้ตะเกียงทองเหลือง จุดไฟเพื่อให้เกิดความสว่างไสวไปทั้งบ้าน
และที่อยู่อาศัยของตนเอง รวมถึงจะมีการชำระปัดกวาดสถานที่ให้สะอาด เพื่อให้รับแต่สิ่งดีๆ เข้ามาในบ้านนั้นๆ
ย้อนวันวานแห่งความทรงจำ
เทศกาลของศาสนาฮินดูนี้ มีการเฉลิมฉลองในอินเดียและอีกหลายพื้นที่ในเอเชีย ที่มีผู้นับถือศาสนาฮินดูอาศัยอยู่ ซึ่งรวมถึงมาเลเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่นและไต้หวัน บรรดาสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูงจะมารวมตัวกันเพื่อพูดคุยกัน ไปวัด และตกแต่งบ้านด้วยตะเกียงน้ำมันเล็กๆที่ทำจากดินเหนียว
ในเทศกาลแห่งความสุขนี้ นี้ยังมีงานเลี้ยงสังสรรค์และการแสดงดอกไม้ไฟซึ่งมักจะจัดขึ้นตลอดทั้งคืน เฉกเช่นเดียวกับทุกๆ ปี ทั่วทั้งอินเดียมีการประดับประดาด้วยแสงสีตระการตา รังโกลีสีสดใสถูกวาดไว้ที่ทางเข้าบ้านและสำนักงาน พร้อมทั้งตกแต่งด้วยไฟประดับดวงเล็กๆ
การเฉลิมฉลองเป็นไปอย่างตื่นตาตื่นใจ ที่เมืองอโยธยา ทางตอนเหนือของรัฐอุตตรประเทศ มีตะเกียงดินเผากว่า 900,000 ดวงถูกจุดที่ริมฝั่งของแม่น้ำสรยู ซึ่งชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นสถานที่ประสูติของพระราม
ในเมืองอาเมดาบัด ทางตะวันออกของรัฐคุชราต ผู้ศรัทธากำลังเสริมสิริมงคลให้กับสมุดบัญชีของตน เนื่องจากเทศกาลนี้ถือเป็นการเริ่มต้นปีการเงินใหม่ของชาวฮินดู
วันดังกล่าวถูกเรียกว่าวันติฮาร์หรือดีปาวาลีในประเทศเนปาล ซึ่งมีการเฉลิมฉลองต่อเนื่องเป็นเวลา 5 วัน เริ่มขึ้นในวันที่ 2 พฤศจิกายน และผู้คนก็แห่กันไปที่ตลาดพร้อมซื้อดอกดาวเรือง ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในเทศกาลนี้ ในวันที่ 3 พฤศจิกายน บรรดาผู้ศรัทธาได้ทำการเคารพบูชาสุนัข เนื่องจากได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้พิทักษ์ พระยม เทพเจ้าแห่งความตาย
ที่ประเทศมาเลเซีย ผู้ศรัทธาเดินทางไปสวดมนต์ที่วัดและจุดตะเกียงน้ำมัน บางส่วนขึ้นบันไดไปสวดมนต์ที่วัดถ้ำบาตู ทางเหนือของกรุงกัวลาลัมเปอร์เพื่อสักการะพระขันธกุมาร
วันดิวาลีคือวันที่พระราม เทพในศาสนาฮินดูกลับอาณาจักร หลังจากถูกเนรเทศไปเป็นเวลา 14 ปี ชาวฮินดูเชื่อว่าในช่วงเทศกาลดิวาลี พระลักษมี เทวีแห่งความมั่งคั่ง จะมาเยือนบ้านของพวกเขาหากได้จุดไฟส่องสว่างและตกแต่งบ้านเรือน
ในวัน Diwali คนใส่เสื้อผ้าที่ดีที่สุดของพวกเขาและแลกเปลี่ยนคำอวยพร ของขวัญและขนมกับเพื่อนและครอบครัวของพวกเขา
Dewali มักจะมีขึ้นประมาณเดือนตุลาคมหรือพฤศจิกายนของทุกๆ ปี (โดยส่วนมาก จะตรงกับช่วงหลังออกพรรษาของประเทศไทย)
ดิวาลี หรือ ดีปาวาลี จึงเป็นพิธีศักดิ์สิทธิ์สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาฮินดูและเป็นพิธีที่ชาวฮินดูให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเช่นกัน
สมาคมอินเดียแห่งประทศไทย (IAT) ประสานความร่วมมือกับ เครือข่ายพันธมิตรภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคธุรกิจของกลุ่มผู้ประกอบการชาวไทยเชื้อสายอินเดีย กลุ่มชาวอินเดียในประเทศไทย และผู้ที่เกี่ยวข้อง เตรียมจัดงานเทศกาลเฉลิมฉลองที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับคนเชื้อสายอินเดีย "งานเทศกาลดิวาลี" หรือเทศกาลไฟ ระหว่างวันที่ 21-23 ตุลาคม 2565 ณ บริเวณย่าน Little India ตั้งแต่บริเวณถนนพาหุรัด คลองโอ่งอ่าง สะพานเหล็ก และพื้นที่เชื่อมโยงที่เกี่ยวข้อง
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการจัดงานเทศกาลในย่าน The Little India ให้กลับมามีชีวิตชีวา มีสีสัน เป็นเทศกาลหลั่กประจำปีของเมืองหลวงของไทย สามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ทางด้านวิถีชีวิตสังคม วัฒนธรรมที่หลากหลาย สามารถสนับสนุนผู้ประกอบการ ภาคธุรกิจ การค้า ภาคประชาชนในย่าน จากการกระตุ้นเศรษฐกิจ และสามารถเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางของนักเดินทาง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่า
ประกอบกับเพื่อเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างราชอาณาจักรไทย และ สาธารณรัฐอินเดีย ที่ครบรอบ 75 ปี ในปีพ.ศ. 2565 โดยจะมีพิธีเปิดงานเทศกาลดิวาลี ประจำปี พ.ศ.2565 ในวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม2565 เวลา 17.00 - 19.00 น. ณ เวทีหลัก บริเวณคลองโอ่งอ่าง เขตพระนคร
นายปรีชา จำปี หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนจำกัดเดสทิเนชั่นสยาม เปิดเผยว่า การจัดงานเทศกาลดิวาลีในครั้งนี้จะสามารถส่งเสริมและกระตุ้นให้ย่าน The Little India ที่พาหุรัดเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก สามารถยกระดับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่เมืองหลวงของประเทศไทย สามารถกระตุ้นให้คนเชื้อสายอินเดียทั่วโลกเดินทางมาท่องเที่ยวกรุงเทพมหานคร ประเทศไทยต่อไป
สำหรับงานเทศกาลดิวาลี หรือเทศกาลไฟ ถือเป็นเทศกาลที่ใหญ่ที่สุดของคนเชื้อสายอินเดียทั่วโลก นับเป็นวันหยุดยาวที่ใหญ่ที่สุด ซึ่งคนอินเดียทั่วทั้งโลกจะออกมาเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ โดยตามปกติในช่วงที่ไม่มีการเกิดไวรัสโควิดระบาด ชาวอินเดียจำนวนมากนิยมเลือกจุดหมายปลายทางเพื่อเดินทางไปเที่ยวกันหลายๆ ประเทศทั่วโลกที่ได้มีการจัดงานนี้ขึ้นในช่วงประมาณเดือนพฤศจิกายน หรือช่วงเดือนธันวาคม ของทุกปี ทั้งที่นิวยอร์ก ลอนดอน ดูไบ สิงคโปร์ และมาเลเซีย
สำหรับในส่วน ประเทศไทย ได้จัดเทศกาลนี้ขึ้นแล้ว 2 ครั้ง ล่าสุดในช่วงเดือนพ.ย.ปี 2564 ที่ผ่านมา ทั้งที่กรุงเทพฯ และที่เมืองพัทยา เพื่อดึงดูดตลาดอินเดีย ให้เดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในประเทสไทย และทำให้ประเทศไทยเข้าไปอยู่ในปฏิทินของเทศกาลดีวาลีของโลก ภายในงานมีกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับประเทศอินเดีย เช่น การแสดงเชิงวัฒนธรรม การออกร้านอาหารเมนู คาว-หวาน และการจำหน่ายสินค้าสไตล์อินเดียนจากร้านค้าชื่อดังทั้งส่าหรี เครื่องประดับ ของตกแต่ง และอื่นๆ
ขอขอบคุณที่มา : บทความจาก คฑา สิงหนันท์ / ฐานเศรษฐกิจ