svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

พริกหวาน 3 สี กับเรื่องราวดีๆ ที่คนรักสุขภาพต้องรู้

30 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ซูมข้อดี “พริกหวาน” โภชนาการจากพริกหลากสีที่ดีกับดวงตา รักษาระดับคอเลสเตอรอล บำรุงหัวใจ แถมช่วยให้ห่างไกลจากโรคมะเร็ง

ขึ้นชื่อว่า “พริก” สำหรับคนที่ไม่กินรสเผ็ดอาจร้องยี้ แต่ยังมีพริกที่ดีกรีความเผ็ดลดหลั่นลงมาให้ลิ้มรส อย่างพริกเม็ดโตที่ชื่อก็บอกแล้วว่า “กินง่ายกว่า” แน่นอนอย่าง “พริกหวาน” พริกที่มีรสชาติหวานและไม่เผ็ด สามารถนำมารับประทานสดในเมนูสลัด นำมาผัดกับผักชนิดอื่นๆ หรือรังสรรค์เป็นสารพันเมนูความอร่อยได้ตามความชอบ ซึ่งคนไทยนิยมนำพริกหวานมาทำอาหาร อาทิ หมูผัดพริกหวาน ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ พริกหวานยัดไส้ หรือว่านำมาเสียบไม้ย่างเป็นบาร์บีคิว ก็ยิ่งเพิ่มรสชาติและเพิ่มความหวานได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญทั้งเด็กและผู้ใหญ่สามารถรับประทานได้ ด้วยสีสันที่น่ารับประทาน อีกทั้งอุดมไปด้วยวิตามินเอ วิตามินซี แคลเซียม ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมสูง

พริกหวาน มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Capsicum มีชื่อสามัญว่า Bell pepper, Sweet pepper, Pepper, Capsicum มาจากประเทศเม็กซิโก และแถบทวีปอเมริกาใต้  รูปร่างสี่เหลี่ยมถึงหกเหลี่ยม มีหลากหลายสีสันให้เลือกทั้งสีเขียว สีม่วง สีแดง สีเหลือง สีส้ม แต่รสชาติไม่เผ็ดเมื่อนำไปปรุงอาหารจะออกรสชาติหวาน จึงเหมาะสำหรับทุกเพศทุกวัย

พริกหวาน 3 สี กับเรื่องราวดีๆ ที่คนรักสุขภาพต้องรู้

พริกหวานแต่ละสีมีรสชาติที่แตกต่างกันอย่างไร?

หากพิจารณาจากลักษณะทางกายภาพผลของพริกหวานมีสีสันแตกต่างกัน นั่นก็เป็นเพราะถูกเก็บเกี่ยวในระยะที่แตกต่างกัน โดยหากต้นพริกหวานออกผล ผลตอนแรกจะเป็นสีเขียว ต่อมาจึงค่อยกลายเป็นสีเหลือง สีส้ม และสีแดง เรียงตามลำดับ ซึ่งพริกหวานแต่ละสีก็จะให้รสชาติที่แตกต่างกันไป โดยสีเขียวจะให้รสชาติที่เผ็ดเล็กน้อย สีเหลือง ไม่หวานและไม่เผ็ด ส่วนสีส้ม สีแดงจะเริ่มให้รสหวาน และพริกหวานที่ให้รสชาติดีที่สุด ก็คือพริกหวานสีแดง เนื่องจากอยู่บนเถาเป็นเวลานานจึงมีความหวานกว่าพริกประเภทอื่นๆ และมีสารอาหารมากมาย นักโภชนาการได้เปิดเผยว่า พริกหยวกแดงมีเบต้าแคโรทีน วิตามินซี และวิตามินเอในระดับที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับพริกหยวกเขียว

คุณค่าทางโภชนาการของพริกหวานสีเขียว ต่อ 100 กรัม

  • พลังงาน 20 กิโลแคลอรี
  • คาร์โบไฮเดรต 4.64 กรัม
  • น้ำตาล 2.4 กรัม
  • ใยอาหาร 1.8 กรัม
  • ไขมัน 0.17 กรัม
  • โปรตีน 0.86 กรัม
  • วิตามินเอ 18
  • ไมโครกรัม (2%)
  • เบต้าแคโรทีน 208 ไมโครกรัม (2%)
  • ลูทีน และ ซีแซนทีน 341 ไมโครกรัม
  • วิตามินบี1 0.057 มิลลิกรัม (5%)
  • วิตามินบี2 0.028 มิลลิกรัม (2%)
  • วิตามินบี3 0.48 มิลลิกรัม (3%)
  • วิตามินบี5 0.099 มิลลิกรัม (2%)
  • วิตามินบี6 0.224 มิลลิกรัม (17%)
  • วิตามินบี9 10 ไมโครกรัม (3%)
  • วิตามินซี 80.4 มิลลิกรัม (97%)
  • วิตามินอี 0.37 มิลลิกรัม (2%)
  • วิตามินเค 7.4 ไมโครกรัม (7%)
  • แคลเซียม 10 มิลลิกรัม (1%)
  • ธาตุเหล็ก 0.34 มิลลิกรัม (3%)
  • แมกนีเซียม 10 มิลลิกรัม (3%)
  • แมงกานีส 0.122 มิลลิกรัม (6%)
  • ฟอสฟอรัส 20 มิลลิกรัม (3%)
  • โพแทสเซียม 175 มิลลิกรัม (4%)
  • โซเดียม 3 มิลลิกรัม (0%)
  • สังกะสี 0.13 มิลลิกรัม (1%)
  • ฟลูออไรด์ 2 ไมโครกรัม %

ร้อยละของปริมาณแนะนำที่ร่างกายต้องการในแต่ละวันสำหรับผู้ใหญ่ (ข้อมูลจาก : USDA Nutrient database)

พริกหวาน 3 สี กับเรื่องราวดีๆ ที่คนรักสุขภาพต้องรู้

รวม 20 ประโยชน์ของพริกหวาน

1 บำรุงสายตา ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ลูกตา เนื่องจากอุดมไปด้วยวิตามิน A และ ลูทีน – ซีแซนทีน ทำให้ ช่วยกรองหรือป้องกันรังสีจากแสงแดดที่เป็นอันตรายต่อดวงตา  ชะลอความเสื่อมของเซลล์ลูกตา รวมถึงลดความเสี่ยงในการเป็นต้อกระจกได้

2 เสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ในพริกหวาน มีวิตามิน B หลายชนิด ทั้ง วิตามิน B1 B2 B3 B5 B6 B9 และวิตามิน C สูง ซึ่งวิตามินทั้ง 2 ชนิด ต่างมีส่วนช่วยในการเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ป้องกันเชื้อโรคต่าง ๆ ได้ เนื่องจากจะไปกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดขาวของร่างกาย ทำให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีขึ้น

3 พริกหวานช่วยทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง เพราะมีสารแคปไซซินซึ่งสามารถลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวาน และยังสามารถช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระได้

4 มีส่วนช่วยลดระดับของคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด โดยการเพิ่มคอเรสเตอรอลชนิดดี คือเฮชดีแอล (HDL Cholesterol) และมีหน้าที่คอยจับคอเลสเตอรอลร้าย แอลดีแอล ( LDL Cholesterol) แล้วส่งไปทำลายที่ตับ

5 ช่วยขยายหลอดเลือด ทำให้เส้นเลือดอุดตันน้อยลง และยังทำให้เลือดสามารถไหลเวียนไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายได้ดีขึ้นด้วย ทั้งยังป้องกันโรคหัวใจ

6 อุดมด้วยวิตามินบี ทั้งวิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 ซึ่งช่วยบำรุงเนื้อเยื่อต่างๆ ป้องกันโรคเหน็บชา แล้วยังช่วยสร้างฮอร์โมนจากต่อมหมวกไตอีกด้วย

7 ช่วยลดความดันโลหิต ควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย เมื่อทานพริกหวาน 100 กรัม จะได้รับโพแทสเซียมสูงถึง 175 มิลลิกรัม ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการลดความดันโลหิต ควบคุมสมดุลของน้ำในร่างกาย ตลอดจนประโยชน์อื่นๆ เช่น รักษาภูมิแพ้ กำจัดของเสียในร่างกาย และยังช่วยให้เลือดนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงระบบประสาทได้ดี ทำให้จิตใจแจ่มใส ร่าเริง

8 ช่วยทำให้เจริญอาหาร แค่กินพริกหวานก็สามารถแก้อาการเบื่ออาหารได้ แล้วยังไปช่วยกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหารทำให้ระบบการย่อยอาหารทำงานดีขึ้นและยังช่วยบำรุงธาตุในร่างกาย

9 บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ ยังช่วยแก้อาเจียน ขับเหงื่อ ช่วยลดน้ำมูกทำให้หายใจสะดวก และยังขับลมได้อีกด้วย

10 มีเบต้าแคโรทีนสูง ในพริกหวานสีแดงพบว่ามีสารเบต้าแคโรทีนสูงสุด รองลงมาคือพริกหวานสีเหลือง ซึ่งช่วยบำรุงสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคเกี่ยวกับสายตา

พริกหวาน 3 สี กับเรื่องราวดีๆ ที่คนรักสุขภาพต้องรู้

11 วิตามินซีสูง พริกหวานสีเหลืองมีวิตามินสูงที่สุด รองลงมาคือพริกหวานสีแดง จึงเป็นการช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย และป้องกันหวัดได้

12 ลดความเสี่ยงโรคต่างๆ ในพริกหวานมีสารต้านอนุมูลอิสระ จึงช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งได้ มีสาร Capsaisin สามารถช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระได้ จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือด และโรคต้อกระจก ช่วยลดการเกิดโรคหลอดเลือด โรคต้อกระจก และโรคมะเร็ง

13 ช่วยสร้างสารเอ็นโดรฟิน ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลายความเครียดและรู้สึกมีความสุข

14 พริกหวานมีสารลูทิโอลิน ซึ่งสามารถลดความเสื่อมของสมองและชะลออาการหลงๆ ลืมๆ จากความชราได้ โดยจะมีผลในการยับยั้งการปล่อยสารที่มาทำลายเซลล์สมองซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ความจำลดลง

15 บำรุงผิวพรรณ เมื่อพริกหวานเริ่มเปลี่ยนสี เป็นสีเหลือง สีส้ม และ สีแดง จะอุดมไปด้วยสารเบต้าแคโรทีน ซึ่งเป็นวิตามินในกลุ่มแคโรทีนอยด์ มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ ส่งผลให้ผิวพรรณมีสุขภาพดี ช่วยชะลอความแก่ได้

16 ช่วยเสริมพัฒนาการของทารกในครรภ์ คุณแม่มือใหม่ควรรับประทานพริกหวาน เนื่องมีวิตามิน B6 (ไพริด็อกซิน) และ B9 (กรดโฟเลท) ซึ่งต่างมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างพัฒนาการของทารกในครรภ์ ให้เจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ แข็งแรง

17 ดีต่อสมอง พริกหวานเป็นหนึ่งในอาหารที่เป็นมิตรกับสมอง เนื่องจากมีเอนไซม์ในพริก ที่ทำให้ฮอร์โมนเกี่ยวกับความสุขในสมองของคุณหลั่งออกมา

18 ปรับปรุงสุขภาพหัวใจ ปัจจัยภายนอกและภายในหลายอย่างส่งผลต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือดของคุณ ในพริกหยวกเหล่านี้มีสารต้านอนุมูลอิสระจากพืชและแคโรทีนอยด์ ซึ่งจำเป็นต่อการทำให้หัวใจของคุณแข็งแรง อย่างไรก็ตามอย่าต้มมากเกินไปเพราะอาจทำลายสารอาหารได้

19 ลดความเสี่ยงของโรคมะเร็ง พริกหยวกให้สารต้านอนุมูลอิสระที่ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพมากรวมถึงอนุมูลอิสระ การกินพริกหยวกสีเหลืองส้มและสีแดง จะให้สารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นมะเร็ง และช่วยลดการทำงานของอนุมูลอิสระในร่างกาย

20 ช่วยเพิ่มการเผาผลาญ อัตราการเผาผลาญที่เพิ่มขึ้นเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับร่างกาย เมตาบอลิซึมที่เพิ่มขึ้นนี้ทำให้ระดับพลังงานสูงและช่วยให้เราลดน้ำหนักได้ และการกินพริกหยวกมีคุณสมบัติดังกล่าว

เห็นข้อดีของพริกหวาน 3 สีแบบนี้แล้ว มื้อต่อไปคงต้องมีไว้เป็นส่วนประกอบในการปรุงอาหารบ้างแล้ว

logoline