svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

ทำความรู้จัก "โรคอุจจาระเต็มท้อง" พร้อมวิธีดูแลลำไส้ ให้สุขภาพดีสุดปัง

03 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากกรณีที่นักร้องสาว (พี่)ฮาย อาภาพร เคยประสบปัญหาสุขภาพ ซึ่งหมอเอกซเรย์เห็นว่า ในลำไส้ มีแต่อุจจาระ ซึ่งเป็นที่มาของ "โรคอุจจาระเต็มท้อง" โรคขี้เต็มท้อง หรือ "ภาวะอุจจาระอุดตัน" ในวันนี้ ชวนคอข่าวไปรู้จักกับโรคนี้ พร้อมแนะวิธีดูแลลำไส้ ให้สุขภาพดีกันถ้วนหน้า ดีมั้ย

จากกระแสข่าวสุดฮือฮาอย่างมาก หลังจากนักร้องอารมณ์ดี พี่ฮาย อาภาพร เคยมีปัญหาสุขภาพ พักผ่อนไม่พอ กินแล้วไม่ถ่าย มึนหัว ครั่นเนื้อครั่นตัว เหมือนโลกหมุน ลืมตาไม่ได้ เหมือนทุกอย่างจะร่วงลงมา กระทั่งหมอเอกซเรย์ เห็นทุกสิ่งอย่าง อุจจาระ ถึงคอหอย ลำไส้ มีแต่อุจจาระ และได้มีการแชร์ประสบการณ์ไปแล้วนั้น จากอาการที่กล่าวมา

 

ย้อนไปในช่วงก่อนหน้านี้ "ตุ๊กตา" จมาพร นักร้องสาวจากเวที The Voice ที่ออกมาแชร์อุทาหรณ์หลังป่วยด้วย "โรคขี้เต็มท้อง" โดยเธอเล่าว่าสาเหตุของการเกิดโรคนี้มาจากที่เธอชอบอั้นอุจจาระ นั่งถ่ายผิดท่า จนเริ่มมีอาการคลื่นไส้ แน่นท้อง และอยากอาเจียนตลอดเวลา ก็เคยประสบกับโรคนี้มาด้วยเช่นกัน 

ทำความรู้จัก \"โรคอุจจาระเต็มท้อง\" พร้อมวิธีดูแลลำไส้ ให้สุขภาพดีสุดปัง

วันนี้ เนชั่นออนไลน์ ขออาสาพาไปทำความรู้จักกับโรค "อุจจาระเต็มท้อง" หรือ ภาวะอุจจาระอุดตัน แบบเจาะลึกกันอีกสักครั้ง เพื่อความรู้ความเข้าใจและก้าวทันโรค!!

ทำความรู้จัก \"โรคอุจจาระเต็มท้อง\" พร้อมวิธีดูแลลำไส้ ให้สุขภาพดีสุดปัง

นพ.อนุพงศ์ ตั้งอรุณสันติ จาก โรงพยาบาลสมิติเวช ให้ความรู้ว่า

..
โรคนี้เกิดจากภาวะ อุจจาระอุดตัน หรือ “อุจจาระเต็มท้อง” หรือ อุจจาระตกค้าง เป็นภาวะที่ขับถ่ายอุจจาระออกไม่หมดทำให้มีการตกค้างอยู่ภายใน ลำไส้ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานจนอุจจาระเกาะติดแน่น เมื่อมีอุจจาระใหม่ก็จะไม่สามารถขับอุจจาระเก่าออกไปได้ กลายเป็นอุจจาระที่แข็งติดแน่นสะสมไม่สามารถออกไปจากลำไส้ได้  ส่งผลให้มีอาการท้องผูกรุนแรง คลื่นไส้ อาเจียน  เวียนศีรษะ หายใจติดขัด แน่นท้อง รู้สึกมีลมจำนวนมาก

สาเหตุของภาวะ อุจจาระอุดตัน หรือ “อุจจาระเต็มท้อง”

สามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศทุกวัย แม้แต่ผู้ที่มีสุขภาพดีหรือ อุจจาระ ทุกวัน โดยมีสาเหตุ ดังนี้

  • การเบ่งถ่ายอุจจาระผิดวิธี เช่น การเบ่งถ่ายขณะหายใจเข้าแล้วแขม่วท้อง  
  • การกลั้นอุจจาระ ผู้ป่วยอาจปวดอุจจาระในระหว่างการเดินทาง ระหว่างการประชุม หรือสถานการณ์ต่างๆ จนต้องกลั้นอุจจาระไว้ไม่สามารถเข้าห้องน้ำขณะรู้สึกปวดได้ 
  • ผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยเรื้อรัง ที่เคลื่อนไหวน้อย 
  • รับประทานอาหารไขมันสูง เช่น เนื้อแดง หรืออาหารที่ย่อยยาก  ไม่มีกากใย รวมถึงอาหารที่ทำให้เกิดอาการอืดแน่นท้อง
  • ขาดการออกกำลังกาย
  • ดื่มน้ำน้อย 
  • ผู้ที่ได้รับการผ่าตัดบ่อย จนลำไส้เป็นพังผืด มีซอกหลืบให้อุจจาระไปตกค้าง  


อาการของภาวะ อุจจาระตกค้าง หรือ “อุจจาระเต็มท้อง”

หาก อุจจาระ ตกค้างจำนวนมากและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความผิดปกติต่อร่างกายมากมาย ดังนี้

  • ปวดท้อง ท้องอืด แน่นท้อง ไม่สบายท้อง
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ต้องใช้แรงในการเบ่งอุจจาระอย่างมาก
  • รู้สึกว่าอุจจาระไม่สุด หรืออุจจาระไม่หมดท้อง
  • มีเลือดปนอุจจาระ
  • ปัสสาวะบ่อยจากการที่กระเพาะปัสสาวะถูกกดทับ 
  • ปวดหลังส่วนล่าง
  • หายใจติดขัด หายใจได้ครึ่งเดียว ต้องหายใจลึกๆ ตลอดเวลา
  • รับประทานอาหารได้น้อยมาก เบื่ออาหาร 
  • ขมคอ เรอเปรี้ยว และผายลมตลอดทั้งวัน  
  • อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ
     

การป้องกันภาวะ “อุจจาระเต็มท้อง” 

  • ฝึกถ่ายอุจจาระให้สม่ำเสมอและเป็นเวลา เพื่อให้ร่างกายและลำไส้เคยชิน เวลาขับถ่ายที่เชื่อว่าดีที่สุดคือ 05.00 น. ถึง 07.00 น.
  • ดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิปกติ 1 แก้วหลังตื่นนอนตอนเช้า น้ำอุ่นจะช่วยให้เลือดไหลเวียนดี ช่วยกระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนตัวได้ดี ทำให้ขับถ่ายสะดวก
  • อย่าอั้นอุจจาระ เพราะอาจทำให้ลำไส้บีบอุจจาระกลับขึ้นไปที่ลำไส้ จนเกิดอุจจาระคั่งค้างที่ผนังลำไส้ได้
  • อย่าเบ่งอุจจาระแรงๆ ขณะที่ไม่ปวด เพราะจะกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ จะเกิดผลเสียตามมาได้ หากทำบ่อยๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพองส่งผลต่อการเกิดริดสีดวงทวารได้
  • นั่งถ่ายอย่างถูกวิธี ท่านั่งที่เหมาะกับการขับถ่ายมากที่สุดคือ "นั่งยองๆ" เพราะจะมีแรงกดจากหน้าขาช่วยให้ขับถ่ายได้คล่องที่สุด แต่สำหรับชักโครก ท่านั่งที่ถูกต้องช่วยให้ขับถ่ายได้ดีขึ้นคือ "เอนตัวมาข้างหน้าเล็กน้อย"

(ผู้ป่วยจำเป็นจะต้องปรับพฤติกรรมด้วยการฝึกพฤติกรรมการขับถ่าย - การนั่งถ่ายที่ถูกสุขลักษณะ)

 

 

ทำความรู้จัก \"โรคอุจจาระเต็มท้อง\" พร้อมวิธีดูแลลำไส้ ให้สุขภาพดีสุดปัง

  • หากยังไม่ปวดอุจจาระแต่จำเป็นต้องออกนอกบ้าน ไม่ควรพยายามเบ่งขณะที่ยังไม่ปวด เนื่องจากการเบ่งอุจจาระแรงๆ เป็นการกระตุ้นและเพิ่มแรงดันในลำไส้ หากทำบ่อยๆ อาจทำให้ลำไส้โป่งพอง เกิดริดสีดวงทวารได้
  • กรณีมีภาวะท้องผูก ควรรับประทานอาหารที่มีโปรไบโอติกเพิ่ม เช่น นมเปรี้ยว ชาหมัก
  • ฝึกหายใจให้ถูกวิธี โดยหายใจเข้าท้องป่อง หายใจออกท้องแฟบ
  • ไม่ควรเกร็งขณะเบ่งถ่าย 
  • ลุกขึ้นขยับร่างกายหลังรับประทานอาหาร  เพื่อช่วยให้ลำไส้ได้บีบตัว  และกระเพาะอาหารย่อยอาหารได้ดีขึ้น
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ
  • ปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการวินิจฉัย และรักษาอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
logoline