svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

21 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อันตรายแค่ไหน มีอาการอย่างไร รวมทั้งขั้นตอนการรักษา หลังคร่าชีวิตเด็ก 6 ขวบติดโควิดและไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด แพทย์ออกมาเตือนผู้ปกครองควรนำเด็ก 5 ปีขึ้นไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิด เพื่อลดผลกระทบรุนแรง

21 กรกฎาคม 2565 ภาวะมิสซี (MIS-C) ส่งผลให้เด็ก 6 ขวบเสียชีวิต โดย นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ชี้แจงกรณี มีข่าวเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อายุ 6 ปี ติดเชื้อโควิด-19 และป่วยหนักและเสียชีวิตจากภาวะมิสซี (MIS-C) หรือการอักเสบหลายอวัยวะ เบื้องต้นพบว่า ไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโควิด

 

พร้อมกันนี้ นพ.โอภาส ระบุว่า ภาวะมิสซี (MIS-C) ในเด็กสามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน หากเด็กได้รับการฉีดวัคซีนครบจะทำให้มีโอกาสติดเชื้อและป่วยน้อยลง กรณีที่ป่วยอาการจะไม่รุนแรง จึงเชิญชวนให้นำบุตรหลานไปฉีดวัคซีน ที่มีทั้ง วัคซีนไฟเซอร์ และ วัคซีนซิโนแวค

 

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

 

ในสถานกาณ์แพร่ระบาดของโควิด-19ในปัจจุบัน โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย BA.5 เป็นสายพันธุ์หลักในการระบาด ซึ่งมีการแพร่ระบาดที่รวดเร็ว รวมทั้งมักไม่แสดงอาการ ประกอบกับการเรียนการสอนได้กลับมาเปิดเรียนแบบ On Site แล้ว จึงเกิดการติดโควิดในกลุ่มนักเรียนและเด็กเล็กมากขึ้น “เนชั่นออนไลน์”ชวนทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) เพื่อรู้เท่าทัน สามารถป้องกันผลเสียที่อาจจะเกิดกับบุตรหลานในอนาคต

 

ก่อนหน้านี้ ช่วงปลายเดือนเมษายน 2565 เพจเฟซบุ๊ก "Infectious ง่ายนิดเดียว" ออกมาเตือน "ภาวะมิสซี" เกิดในเด็กหลังติดเชื้อโควิด ส่งผลให้เกิดอักเสบทั่วร่างกาย พร้อมระบุว่าเกิดขึ้นกับผู้ป่วยเด็กที่หายจากโควิด-19

 

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

 

สำหรับ มิสซี (MIS-C) ชื่อเต็มว่า Multisystem infammatiry syndrome in children เป็นภาวะอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกายหลายระบบ ภาวะแทรกซ้อนเกิดขึ้นเมื่อหายจากการติดเชื้อโควิด-19 ในช่วงระยะเวลา 2-6 สัปดาห์

 

สำหรับเด็ก เกิดอาการอักเสบระบบต่างๆ ทั่วอวัยวะของร่างกาย ตั้งแต่ 2 ระบบขึ้นไป มีการคาดการณ์ว่า เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันที่สูงผิดปกติ มีอาการคล้าย โรคคาวาซากิ หากมีอาการรุนแรงสามารถส่งผลให้เกิดอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

เว็บไซต์ โรงพยาบาลเพชรเวช ให้ข้อมูลเรื่อง มิสซี (MIS-C) ภาวะแทรกซ้อนหลังหายจากโควิด19 สำหรับเด็ก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ระบุว่า รายงานการเกิดภาวะ ภาวะมิสซี (MIS-C) ครั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 หลังจากนั้นสามารถพบผู้ป่วยวัยเด็กทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย

 

  สาเหตุในการเกิดภาวะมิสซี (MIS-C)  

ในปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดว่า ภาวะมิสซี (MIS-C) เกิดจากอะไร แต่มีการคาดการณ์ว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเด็กตอบสนองต่อเชื้อไวรัสมากจนเกินไป มักจะเกิดตามหลังการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ช่วง 2-6 สัปดาห์ การติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และการสัมผัสกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 เป็นสิ่งที่ทำให้เกิด ภาวะมิสซี (MIS-C) ได้เช่นกัน

 

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

 

 อาการ ภาวะมิสซี (MIS-C) พบว่าส่วนใหญ่มักเกิดอาการดังนี้

  • ไข้ขึ้นไม่ต่ำกว่า 38 องศาเซลเซียส
  • ปวดศีรษะ
  • แน่นหน้าอก หายใจลำบาก
  • ตาแดง
  • ริมฝีปากแห้ง ลิ้นบวมเป็นตุ่ม
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • ปวดท้อง
  • ตับอักเสบ ลำไส้อักเสบ
  • มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย
  • ความดันต่ำ มีอาการชัก
     

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

ภาวะมิสซี (MIS-C) จะพบในผู้ป่วยเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งเด็กที่ป่วยจากภาวะภาวะมิสซี (MIS-C)  นี้ เป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีการสัมพันธ์กับความรุนแรงขณะติดเชื้อโควิด19

 

  การรักษา ภาวะมิสซี (MIS-C)  

ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางในการรักษาภาวะมิสซี (MIS-C) อย่างชัดเจน เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ยังคงต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม แต่การรักษาใช้แนวทางในการรักษาแบบเดียวกับโรคคาวาซากิ  ได้แก่

  • 1. การรักษาแบบประคับประคอง
  • 2. การให้ยากลุ่มต้านการอักเสบ เช่น อิมมูโนกลอบูลิน (Immunoglobulins)
     

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

 

 ผลกระทบต่อร่างกายจาก ภาวะมิสซี (MIS-C) 

จากที่กล่าวมาข้างต้น เห็นได้ว่า ภาวะมิสซี (MIS-C) นั้น จะทำให้ระบบในร่างกาย มากกว่า 2 ระบบเกิดความผิดปกติ อวัยวะต่างๆทั่วร่างกาย ซึ่งมักเกิดการอักเสบกับระบบต่างๆดังนี้

  • ระบบประสาท เด็กมีอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • ระบบหายใจ  เด็กมีอาการปอดอักเสบ ลิ่มเลือดอุดตันในปอด และหายใจลำบาก
  • ระบบหัวใจ และหลอดเลือด เด็กมีอาการช็อค หัวใจอักเสบ
  • ระบบเลือด การแข็งตัวเลือดผิดปกติ
  • ระบบทางเดินอาหาร เด็กมีอาการท้องเสีย ปวดท้อง และตับอักเสบ    
  • เด็กมีอาการไตวายเฉียบพลัน
  • ผิวหนัง เด็กมีอาการเยื่อบุผิวหนังอักเสบ เป็นผื่น แดง


ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต
 

 การวินิจฉัยว่าเกิด ภาวะมิสซี (MIS-C) หรือไม่ ?  สามารถทำได้ดังนี้ 
1. การตรวจเลือดเพื่อประเมินค่าปฏิกิริยาการอักเสบในร่างกาย
2. การตรวจหัวใจเพื่อดูความผิดปกติของหลอดเลือดหัวใจ ด้วยเครื่องสะท้อนเสียงความถี่สูง (Echocardiogram)

 

 เปิดข้อแตกต่างระหว่าง ภาวะมิสซี (MIS-C) และ โรคคาวาซากิ 
ภาวะมิสซี (MIS-C) มักจะเกิดขึ้นในเด็กอายุ 8-14 ปี แต่โรคคาวาซากิ มักจะเกิดขึ้นในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ภาวะมิสซี (MIS-C) ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจผิดปกติ และอาการในระบบทางเดินอาหาร มีอาการรุนแรง และ โอกาสเกิดการช็อคได้มากกว่าโรคคาวาซากิ

 

แพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการ ตรวจเลือด และตรวจหัวใจ เพื่อทำการแยกโรคระหว่างภาวะมิสซี (MIS-C) และ โรคคาวาซากิ

 

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

 

 เปิดข้อแตกต่างระหว่าง ภาวะมิสซี (MIS-C) และ ภาวะลองโควิด (Long COVID) 

ภาวะมิสซี (MIS-C)  จะทำให้เกิดอาการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ระบบเกิดความมากกว่า 2 ผิดปกติระบบ มักจะเกิดขึ้นหลังหายจากการติดเชื้อโควิด-19 2-6 สัปดาห์

 

ภาวะลองโควิด (Long COVID) จะมีอาการเหมือนกับ การติดเชื้อไวรัสทางเดินหายใจ มักจะเกิดขึ้นภายหลังจากการติดเชื้อโควิดตั้งแต่ 4 สัปดาห์ขึ้นไป อาการจากภาวะลองโควิด (Long COVID) จะเป็นอาการแบบเรื้อรัง เป็นๆหายๆ และมีความรุนแรงน้อยกว่าภาวะมิสซี (MIS-C) 

 

รายงานการเกิดภาวะภาวะมิสซี (MIS-C)  ครั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 หลังจากนั้นสามารถพบผู้ป่วยวัยเด็กทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย ภาวะมิสซี (MIS-C)  จะพบในผู้ป่วยเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งเด็กที่ป่วยจากภาวะภาวะมิสซี (MIS-C) นี้ เป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีการสัมพันธ์กับความรุนแรงขณะติดเชื้อโควิด-19

 

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

ทำความรู้จัก ภาวะมิสซี (MIS-C) อาการอักเสบในเยาวชนติดโควิด อันตรายถึงชีวิต

ที่มา : เพจเฟซบุ๊ก "Infectious ง่ายนิดเดียว" และ เว็บไซต์ โรงพยาบาลเพชรเวช

logoline