29 เมษายน 2565 เพจเฟซบุ๊กที่ให้ข้อมูลทางการแพทย์และความรู้เนื้อหาโรคติดเชื้อต่างๆ ชื่อเพจ "Infectious ง่ายนิดเดียว" ได้โพสต์ข้อมูลที่น่าสนใจกรณีของผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโควิดในเด็ก มีเนื้อหาดังนี้..
เพียบเลย เยาวรุ่น ..คนไข้ มิสซี (MIS-C) Multisystem infammatiry syndrome in children ภาวะอักเสบของอวัยวะทั่วร่างกายหลายระบบ ในผู้ป่วยเด็กที่หายจากโควิด
การวินิจฉัย
1. อายุ 0-21 ปี
2. เคยติดเชื้อโควิด
3. พบอาการ ไข้สูง หลังป่วยจากโควิด 2-6 สัปดาห์ ร่วมกัน 2 อาการดังนี้ อาการตาแดง ผื่น ท้องเสีย มือเท้าบวม ต่อมน้ำเหลืองโต
4. อาการอื่นๆ พบน้อยกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ตับ ไต วาย
5. ผลเลือดการอักเสบสูง เช่น ESR CRP TropT ProBNP Ferritin
การรักษา IVIG steroid ASA ส่วนการป้องกัน คือ ไม่ให้ติดเชื้อโควิด อายุ 5 ปีขึ้นไปควรฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อโควิด
การพยากรณ์โรค มีตั้งแต่ไม่รุนแรง และรุนแรงมาก ได้แก่ ช็อก กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ สมองอักเสบ
ทางด้านเว็บไซต์ โรงพยาบาลเพชรเวช ให้ข้อมูลเรื่อง มิสซี (MIS-C) ภาวะแทรกซ้อนหลังหายจากโควิด19 สำหรับเด็ก เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 ระบุว่า รายงานการเกิดภาวะภาวะมิสซี (MIS-C) ครั้งแรก ที่ประเทศอังกฤษ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 หลังจากนั้นสามารถพบผู้ป่วยวัยเด็กทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย
ภาวะมิสซี (MIS-C) จะพบในผู้ป่วยเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง ซึ่งเด็กที่ป่วยจากภาวะภาวะมิสซี (MIS-C) นี้ เป็นเด็กที่มีสุขภาพแข็งแรง และไม่มีการสัมพันธ์กับความรุนแรงขณะติดเชื้อโควิด19
ส่วนถึงการรักษาภาวะมิสซี (MIS-C) ในปัจจุบันยังไม่มีแนวทางในการรักษาภาวะมิสซี (MIS-C) อย่างชัดเจน เพราะเป็นโรคที่เกิดขึ้นใหม่ ยังคงต้องใช้เวลาในการศึกษาวิจัยเพิ่มเติม แต่การรักษาภาวะมิสซี (MIS-C) ยังคงใช้แนวทางในการรักษาแบบเดียวกับโรคคาวาซากิ ได้แก่
ขอบคุณข้อมูล : เพจ Infectious ง่ายนิดเดียว, เว็บไซต์ โรงพยาบาลเพชรเวช