svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ท่องเที่ยว

สธ.สั่งคุมเข้ม 10 มาตรการจัดงานลอยกระทง

17 พฤศจิกายน 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กระทรวงสาธารณสุข เผย 10 มาตรการคุมเข้มพื้นที่จัดงานลอยกระทง เพื่อความปลอดภัยของประชาชน พร้อมเอาผิด 3 ร้านอาหาร ที่จำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์โดยไม่ปฏิบัติตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุขในพื้นที่สีฟ้า โดยมีโทษปรับสูงสุด 20,000 บาท

17 พฤศจิกายน 2564 นายแพทย์สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย  แถลงถึงมาตรการการจัดงานลอยกระทงว่า ปีนี้หลายพื้นที่จัดงานลอยกระทง ส่วนใหญ่จะจัดในพื้นที่โล่งแจ้ง จึงอยากให้เคร่งครัดมาตรการป้องกันด้านสาธารณสุข เพื่อความปลอดภัยของประชาชน  โดยเน้นย้ำให้สถานที่จัดงาน และผู้ประกอบการต้องปฏิบัติตามใน 10  มาตรการเข้ม  ดังนี้ 

สธ.สั่งคุมเข้ม 10 มาตรการจัดงานลอยกระทง

กำหนดจุดเข้าออกทางเดียว มีจุดลงทะเบียนไทยชนะ  จุดคัดกรองอุณหภูมิ เลือกสถานที่จัดงานไม่แออัดระบายอากาศดี  มีห้องน้ำเพียงพอทำความสะอาดทุก 1 ชั่วโมง โดยมีจุดล้างมือและเจลแอลกอฮอล์ล้างมือบริการ เว้นระยะห่างของบูธร้านค้าโต๊ะที่นั่งอย่างน้อย 1 เมตร กระจายจุดลอยกระทงและมีผู้ควบคุมไม่ให้แออัด การแสดงทางวัฒนธรรมมโหรสพเว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร ไม่ตะโกน ไม่จับมือ แผงลอยหรือพาหนะจำหน่ายอาหารให้ปฎิบัติตามมาตรการและงดการจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผู้จัดงานผู้ค้าขายอาหารนักแสดงต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ ผู้เข้าร่วมการปฎิบัติตามมาตรการ UP อย่างเคร่งครัด และผู้จัดงานมีการกำกับการปฎิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด

อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยผลสำรวจอนามัยโพลหลังจากที่มีการอนุญาติให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในจังหวัดพื้นที้สีฟ้า โดยส่วนใหญ่มองว่า ร้านอาหารที่เปิดให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้กับผู้ที่เข้ามาร่วมดื่ม เนื่องจากมีผู้ติดเชื้ออยู่ในสถานที่ และอยู่ในสถานที่เป็นระยะเวลานาน  อีกทั้งการดื่มสุราส่งผลให้เกิดการติดเชื้อโควิค-19 เนื่องจากสุราทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอหอยมีประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้เชื้อโควิด-19 ลงปอดได้ง่ายขึ้น 

สธ.สั่งคุมเข้ม 10 มาตรการจัดงานลอยกระทง

นอกจากนี้ การดื่มสุราทำให้เม็ดเลือดขาวอ่อนแอเมื่อเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกาย จึงติดเชื้อได้ง่ายขึ้น และการดื่มสุราทำให้ความยับยั้งชั่งใจลดลง ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อเช่น ดื่มเหล้าแก้วเดียวกัน ไม่สวมหน้ากากอนามัย และไม่รักษาระยะห่าง 

ส่วนการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนในการปรับมาตรการหลังการอนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยมีผู้ตอบแบบสำรวจประมาณ 3,000 ราย  พบว่า ประชาชนร้อยละ 56.8 ไม่เห็นด้วยกับการดื่มสุราในร้านอาหารที่มีการอนุญาตให้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากร้อยละ 86.6 กังวลจะเกิดการระบาดระลอกใหม่ ไม่มั่นใจในมาตรการป้องกันโรคของร้าน ร้อยละ 56.3 จำนวนผู้ติดเชื้อยังสูงอยู่ร้อยละ 53.8 กลัวตนเองจะติดเชื้อร้อยละ 17.7 ส่วนมาตรการอื่นๆเช่น การร่วมกลุ่ม ผู้ดื่มมีการป้องกันตัวเองลดลงร้อยละ5.4 

ทั้งนี้ ประชาชนยังระบุด้วยว่าหากร้านอาหารที่เปิดให้บริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีการติดป้ายมาตรฐาน จะสร้างความเชื่อมั่นได้ร้อยละ 70.7

 

นายแพทย์เกษม เวชสุทธานนท์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาวะเขตเมือง กรมอนามัย ระบุถึงผลการติดตามและส่งประเมินสถานประกอบการร้านอาหารที่มีการบริโภคสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยพบว่า ร้านค้าบางแห่งให้ความร่วมมือและปฏิบัติตามอย่างเคร่องครัดเช่น  การจำกัดระยะเวลาการบริโภค ไม่จัดกิจกรรมที่มีการรวมกลุ่มเยอะ และไม่จัดกิจกรรมส่งเสริมการขาย พร้อมย้ำ ต้องจัดอุปกรณ์เครื่องดื่มบริโภคเฉพาะบุคคล รวมถึงไม่จำหน่ายในรูปแบบภาชนะที่มีโอกาสสัมผัสใช้ร่วมกัน เช่น ถังน้ำแข็ง 

สธ.สั่งคุมเข้ม 10 มาตรการจัดงานลอยกระทง

ส่วนมาตรการที่ร้านไหน ควรปรับปรุงซึ่งกระทรวงสาธารณสุขเน้นย้ำในเรื่องของระยะห่างระหว่างบุคคล การจัดพื้นที่ไม่ให้แออัด การจัดเจลแอลกอฮอล์ประจำโต๊ะ การให้พนักงานประเมินความเสี่ยงของตนเองผ่านไทยเซฟไทย 

ทั้งนี้ จากการสุ่มประเมินร้านอาหารที่เปิดให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในร้าน พบ 3 ร้านไม่ปฏิบัติตามมาตรการกระทรวงสาธารณสุข เบื้องต้น ได้สั่งปรับเงินทั้ง 3 ร้าน ร้านละ 6,000 บาท ตามมาตรา 51  พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558  ปรับสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท  โดยอัตราเทียบคดี ครั้งที่แรก 6,000 บาท ครั้งที่ 2    1,200 บาท และครั้งที่ 3 เป็นต้นไป 20,000 บาท

 

logoline