svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ และ ความงาม

รู้จักภาวะ "หัวใจโต" ภัยเงียบคร่าชีวิต "ครูหนึ่ง พิมพร"

26 พฤษภาคม 2564
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทำความรู้จักภาวะ "หัวใจโต" หลังคร่าชีวิต 'ครูหนึ่ง พิมพร' มันนีโค้ชชื่อดังในโลกโซเชียล ไปอย่างกะทันหัน ซึ่งได้เกิดอาการวูบล้มลงไปขณะทำอาหาร ท่ามกลางโลกโซเชียลโพสต์อาลัย

การเสียชีวิตไปอย่างกะทันหันของ ครูหนึ่ง พิมพร จันทร์แดง มันนีโค้ชชื่อดังในโลกโซเชียล ซึ่งได้เกิดอาการวูบล้มลงไปขณะทำอาหาร ท่ามกลางโลกโซเชียลโพสต์อาลัยเมื่อได้เห็นคลิปไลฟ์สด
ซึ่งในเวลาต่อมาทางญาติได้ออกมาแจ้งรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเสียชีวิตของ ครูหนึ่ง พิมพร จันทร์แดง ว่า 'ครูหนึ่ง' เสียชีวิตจากหัวใจโต ทำให้หัวใจวายเฉียบพลัน และวอนสื่อหยุดแชร์คลิปไลฟ์สดดังกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ข้อมูลจากโรงพยาบาลวิชัยเวช อินเตอร์เนชั่นแนล หนองแขม ได้พูดถึง หัวใจโต หรือ Cardiomegaly ว่า ไม่ใช่โรค แต่เป็นภาวะที่หัวใจมีขนาดใหญ่หรือหนากว่าปกติ ทั่วไปจะเรียกว่า ภาวะหัวใจโต เพราะขนาดของหัวใจทุกคนจะมีขนาดเท่ากับกำปั้น หัวใจโตสาเหตุเกิดได้หลายอย่าง ส่วนใหญ่มาจาก ความดันโลหิตสูงหรือโรคหลอดเลือดหัวใจ และสาเหตุจากโรคอื่น ๆ เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคลิ้นหัวใจผิดปกติ หากปล่อยทิ้งไว้นานจะทำให้การทำงานของหัวใจบกพร่องได้

รู้จักภาวะ "หัวใจโต" ภัยเงียบคร่าชีวิต "ครูหนึ่ง พิมพร"

10 ปัจจัยเสี่ยงหัวใจโต1.ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง
2.ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
3.ผู้ที่เป็นโรคหัวใจเต้นผิดปกติ
4.ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์
5.ผู้ที่มีโรคลิ้นหัวใจ
6.ผู้ที่มีโลหิตจาง

7.ผู้ที่รับประทานธาตุเหล็กมากเกินไป
8.ผู้ที่เป็นโรคความดันในปอดสูง
9.มีความผิดปกติเกี่ยวกับโปรตีน
10.ผู้ที่มีโรคหัวใจพิการแต่กำเนิด
อาการภาวะหัวใจโต ในระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย หรือกรณีที่เป็นภาวะหัวใจโต จากโรคอื่น เช่น โรคกล้ามเนื้อหัวใจทำงานผิดปกติ หรือลิ้นหัวใจตีบ หัวใจรั่ว อาการที่เจอก็อาจมีเหนื่อยหอบผิดปกติ เพราะฉะนั้นอาการของภาวะหัวใจโตมักจะขึ้นกับโรคที่เป็น แต่หากปล่อยทิ้งไว้นาน ๆ หัวใจสูบฉีดเลือดได้ไม่ดีพอก็อาจทำให้มีอาการเหล่านี้เกิดขึ้นได้ อาการที่เกิดขึ้น เช่น หายใจลำบาก เหนื่อยง่ายกว่าปกติ หายใจเร็ว เวียนศีรษะ อ่อนเพลียง่าย ใจสั่น ไอเวลานอน บวมบริเวณเท้าตอนสาย ๆ สำหรับการรักษา เบื้องต้นต้องหาสาเหตุของโรคก่อน โดยคุณหมอจะทำการรักษาตามสาเหตุและอาการ ซึ่งรูปแบบการรักษา มีทั้งการใช้ยารักษาตามโรคที่พบ เช่น โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง ควบคู่กับการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตหรือถ้าโรคหัวใจโต จากลิ้นหัวใจตีบ ลิ้นหัวใจรั่ว อาจจะต้องรักษาด้วยยา หรือการรักษาโดยการผ่าตัดแก้ไข ถ้ามีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบ ทั้งหลอดเลือดหัวใจโต กล้ามเนื้ออ่อนแรง การรักษาก็อาจจะกินยารักษาโรคหัวใจตีบ หรือต้องไปฉีดสีที่ศูนย์หัวใจ ทำบอลลูน หรือผ่าตัดแก้ไข ก็ขึ้นอยู่กับสาเหตุที่เป็น

การตรวจหาเพื่อหาสาเหตุของโรค คุณหมออาจจะให้การเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์ หรือวินิจฉัยด้วยการการตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ส่วนการตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง หรือการตรวจคลื่นสะท้อนหัวใจ (Echocardiography) ช่วยให้เห็นห้องหัวใจและสามารถวัดขนาดได้ว่าโต หรือไม่ การตรวจชนิดนี้ช่วยให้เห็นการทำงานของลิ้นหัวใจ ลักษณะของกล้ามเนื้อหัวใจ และความสามารถในการบีบตัวของหัวใจ

logoline