svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

เช็กลิสต์ 9 โรคหรืออาการต้องห้ามขับรถ เคลมประกันไม่ได้ มีอะไรบ้าง?

25 ธันวาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

How to ขับรถกลับบ้านช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อม และเช็กอาการต้องห้ามขับขี่ยานพาหนะ เสี่ยงอุบัติเหตุ แถมเคลมประกันไม่ได้ มีอะไรบ้าง?

เดินทางกลับบ้านช่วงปีใหม่ หรือขับรถไปท่องเที่ยว นอกจากการตรวจเช็กสภาพยานพาหนะให้พร้อมแล้ว ผู้ขับขี่ก็ต้องเตรียมความพร้อมก่อนเดินทางเช่นกัน มาดู How to ขับรถกลับบ้านช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 เตรียมตัวอย่างไรให้พร้อม ที่เรารวมมาให้ได้เลย

เตรียมร่างกายให้พร้อม : ผู้ขับรถควรเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อม ยิ่งถ้าใครต้องขับรถเดินทางไกลๆ แล้วไม่มีคนเปลี่ยนขับ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมเต็มที่ รวมถึงการนอนหลับให้เพียงพอ ควรนอนหลับให้ได้อย่างน้อย 7 -8 ชั่วโมง

เช็กลิสต์ 9 โรคหรืออาการต้องห้ามขับรถ เคลมประกันไม่ได้ มีอะไรบ้าง?

ตรวจสภาพรถก่อนออกเดินทาง : ก่อนที่จะออกเดินทางไกลควรมีการนำรถยนต์ไปตรวจสภาพรถก่อน เช็กปัญหาทุกจุดว่ามีส่วนไหนบกพร่อง ชำรุดหรือไม่ เพื่อที่จะได้ดำเนินการซ่อม หรือเปลี่ยนทันที ป้องกันการเกิดปัญหาเสียระหว่างทาง ไม่ว่าจะเป็น ระบบเบรก หม้อน้ำ ยางรถยนต์ ระบบไฟฟ้าต่างๆ เป็นต้น

วางแผนการเดินทาง : ศึกษาเส้นทางที่เราจะไป ยิ่งในช่วงเทศกาลวันหยุดยาวแบบนี้ รถจะเยอะเป็นพิเศษ ควรการวางแผนเดินทางล่วงหน้า เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาจราจรติดขัด โดยหาข้อมูล ทางลัด ทางเลี่ยง ทั้งบนบนทางหลวงสายหลักและสายรอง รวมไปถึงการเช็กสภาพอากาศของพื้นที่นั้นๆ เพื่อเป็นการเตรียมตัวความพร้อมล่วงหน้า

ไม่ขับรถเร็วเกินไป : การขับรถเร็วเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดที่เป็นเรื่องที่อันตราย บางคนอยากที่จะไปถึงที่หมายโดยไว แต่การขับรถที่เร็วเกินไปนั้น อาจเสี่ยงทำให้รถคุณเสียหลัก หรือเกิดเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นควรขับขี่ด้วยความเร็วที่เหมาะสมจะดีกว่า

เช็กลิสต์ 9 โรคหรืออาการต้องห้ามขับรถ เคลมประกันไม่ได้ มีอะไรบ้าง?

งดใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ : บางคนติดการแชท การโทรคุย แต่เพียงเสี้ยววินาทีที่คุณจดจ่อกับมือถือ และละเลยการมองถนน เสียสมาธิในการขับขี่ ก็อาจเสี่ยงทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้นควรให้ถึงที่หมายก่อน หรือใช้งานขณะจอดพักรถ

เมาไม่ขับ : เรียกได้ว่าเป็นสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุต้นๆเลยก็ว่าได้ หลายคนที่เป็นคอดื่ม นั่นก็มักจะเฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปีด้วยการดื่มแอลกอฮอล์ แต่หากดื่มแล้วอยู่บ้านเฉยๆ อันนี้สามารถทำได้ แต่การดื่มแล้วมาขับขี่รถถือเป็นเรื่องที่ไม่ควรทำ เนื่องจากอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุทั้งต่อตัวเรา แล้วผู้ร่วมทางคนอื่นๆ ได้ ดังนั้น เมาไม่ขับ

หลีกเลี่ยงยาที่ทำให้มีอาการง่วงซึม : ผู้ขับรถไม่ควรรับประทานยาที่ทำให้มีอาการง่วงซึมแม้เพียงแค่เล็กน้อยก็ไม่ควร หลายคนเลือกเดินทางในช่วงเวลากลางคืน เพื่อไปให้ถึงที่หมายในตอนเช้า การรับประทานยาที่ทำให้ง่วง บวกกับสภาพบบรยากาศตอนกลางคืนอาจทำให้คุณง่วงได้ ดังนั้นไม่ควรรับประทานยาที่ทำให้ง่วงเด็ดขาด แต่หากทานแล้วรู้สึกง่วง ควรเปลี่ยนให้อีกคนมาขับ หรือไม่ก็ควรจอดปั้มน้ำมันนอนพักสักครู่แล้วค่อยเดินทางต่อ

ควรหยุดจอดพักรถบ้าง : ในช่วงเทศกาลปีใหม่แบบนี้ หลายคนต้องขับรถเดินทางข้ามหลายจังหวัด ซึ่งการขับรถเดินทางไกลแบบนี้จะส่งผลทำให้มีอาการเมื่อยล้า โดยเฉพาะผู้ขับ ดังนั้น ควรมีการจอดพักรถทุกๆ 2 ชั่วโมง เพื่อให้ผู้ขับ หรือบุคคลอื่นในรถ ได้ลงมายืดเส้นยืดสาย ลดอาการปวดเมื่อยได้

 

เช็กลิสต์ 9 โรคหรืออาการต้องห้ามขับรถ เคลมประกันไม่ได้ มีอะไรบ้าง?

9 โรคหรืออาการต้องห้ามขับรถ เคลมประกันไม่ได้ มีอะไรบ้าง?

เพื่อความปลอดภัยของผผู้ขับขี่และเพื่อนร่วมทาง กรมการขนส่งทางบก ได้ระบุโรคหรืออาการป่วยที่ห้ามทำเรื่องขอรับและต่ออายุใบอนุญาตขับรถไว้ในใบรับรองแพทย์ ตามรูปแบบที่แพทยสภากำหนด ซึ่งนอกจากจะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุแล้ว หากเหตุอุบัติเหตุขึ้นมาจะไม่สามารถเคลมประกันได้ ประกอบด้วย

1.โรคเกี่ยวกับสายตา

ปัญหาที่เกิดจากความบกพร่องของการทำงานทางสายตา ซึ่งส่งผลต่อทัศนวิสัยในการมองเห็น ไม่ว่าจะเป็นต้อหิน ต้อกระจก หรือจอประสาทตาเสื่อม ที่จะทำให้มุมมองสายตาแคบลงและมองไฟจราจรพร่ามัว 

2.โรคพาร์กินสัน

ผู้ป่วยที่มีอาการเกร็ง มือสั่น เท้าสั่น และเคลื่อนไหวช้า ส่งผลให้มีการตัดสินใจที่ช้ากว่าปกติ และสมถรรภาพในการขับขี่ไม่ดีเท่าที่ควร ซึ่งอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้

3.โรคลมชัก

เกิดจากคลื่นไฟฟ้าในสมองทำงานผิดปกติ ทำให้เกิดอาการสั่น เกร็งชัก และกระตุกโดยไม่รู้สึกตัว อีกทั้งยังทำให้การตัดสินใจช้าลง ซึ่งหากอาการกำเริบ จะทำให้ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายและควบคุมการขับขี่ได้  

4.โรคเบาหวาน (ระยะควบคุมไม่ได้)

หากผู้ป่วยมีปริมาณน้ำตาลในเลือดต่ำ จะทำให้หน้ามืด วิงเวียนศีรษะ สายตาพร่ามัว ใจสั่น หรืออาจถึงขั้นหมดสติได้ 

5.โรคความดันโลหิตสูง

เกิดจากภาวะที่สมองขาดเลือดไปเลี้ยง ทำให้การทำงานของสมองหยุดชะงักลง ยิ่งหากมีความเครียดจากการขับขี่ ความดันจะยิ่งสูงขึ้นเรื่อยๆ จนมีอาการหน้ามืด วิงเวียนศรีษะ แขนขาอ่อนแรง หรืออาจเกิดเส้นเลือดในสมองแตกได้ 

6.โรคหัวใจ

หากผู้ป่วยมีภาวะเครียด กดดันจากการขับรถนานๆ หรือตกใจกับสถานการณ์ตรงหน้า ซึ่งอาจส่งผลให้มีอาการแน่นหน้าอก เจ็บหน้าอก หรืออาจรุนแรงถึงขั้นหัวใจวายเฉียบพลันได้ ทั้งนี้อาจนำไปสู่อุบัติเหตุร้ายแรงได้เช่นกัน

 7.โรคข้อเสื่อม ข้ออักเสบ

มีอาการปวดบริเวณข้อเมื่อขับรถนานๆ เนื่องจากข้อเสื่อมสภาพ จึงทำให้ไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างเต็มที่ ซึ่งหากเกิดอุบัติ อาจทำให้ได้รับบาดเจ็บรุนแรงได้

8.โรคหลอดเลือดสมอง

ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง และสมองสั่งการได้ช้าลง ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจและตอบสนองในการขับขี่

9.โรคทางสมองและระบบประสาท

ในระดับที่ไม่มากจนเกินไป มีเพียงอาการหลงลืม ส่งผลให้การตัดสินใจช้า จดจำเส้นทางไม่ได้ ขาดสมาธิในการขับขี่ ซึ่งอาจทำให้ขับรถหลงทางได้

เช็กลิสต์ 9 โรคหรืออาการต้องห้ามขับรถ เคลมประกันไม่ได้ มีอะไรบ้าง?

นอกจากนี้ ผู้ขับขี่ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมเมื่อทราบว่าต้องขับรถเป็นระยะทางไกลๆ ควรพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง หากมีอาการเหนื่อยล้าระหว่างการเดินทางควรหยุดพักในจุดที่ปลอดภัย ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพิ่มความระมัดระวังเมื่อต้องขับขี่ในเส้นทางที่ไม่คุ้นเคย ทั้งนี้ การกินยาที่มีฤทธิ์ทำให้ง่วงซึม สับสน หรือมึนงง อาจทำให้ผู้ขับขี่มีประสิทธิภาพในการบังคับรถลดลง หรือตอบสนองต่อเหตุการณ์ตรงหน้าช้าลง จึงควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะเพื่อให้การเดินทางในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2567 เป็นการเดินทางที่มีความสุขและปลอดภัยสำหรับทุกคน

logoline