svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สุขภาพ

"หมอธีระวัฒน์" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5    

14 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"หมอดื้อ" หรือ "หมอธีระวัฒน์" เผยรายงานข้อมูลจาก Journal of American College of Cardiology ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ มัดรวมทุกโพสต์ดีๆ ที่น่าสนใจของ หมอดื้อ รับรองอ่านครบทุกเรื่อง ได้ประโยชน์ครบครัน อ่านก่อน รู้ก่อน ทันโลก ทันโรคก่อนใคร

โพสต์เชิงวิชาการที่หยิบยกมาฝากกันตรงนี้ โดยทางด้าน ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา (หมอธีระวัฒน์) หรือ หมอดื้อ ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว (ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha)โดยมีข้อความระบุว่า

ทุก ๆ ปริมาณที่เพิ่มขึ้น10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรของฝุ่นจิ๋ว 2.5 ถึงระดับ 33.3 และ และฝุ่นพีเอ็ม 10 จนถึงระดับ 57.3 
จะเพิ่มความเสี่ยงของการตาย 4.14% และสำหรับไนโตรเจนไดออกไซด์เพิ่มความเสี่ยงในลักษณะเดียวกันโดยมีอัตราเพิ่มขึ้นอีก 1.3%

การที่ได้รับฝุ่นพิษจิ๋วเล็ก 2.5 และจิ๋วใหญ่ขึ้นขนาด 10 ไมครอนภายในหนึ่งวัน หรือในวันนั้นเองจะส่งผลกับการตายอย่างมีนัยยะสำคัญ
และยิ่งถ้าปริมาณสูงมากกว่านั้น…..

รายงานในวารสารของสมาคมโรคหัวใจ (Journal of American College of Cardiology) วันที่ 26 มกราคม 2021  รวมทั้งบทบรรณาธิการ
รูปจาก nasa fire map เวลา 06.34 วันที่ 14/3/2023

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

โพสต์เมื่อวานนี้ หมอดื้อ ระบุว่า

เจอฝุ่นจิ๋วพิษ 2.5 และจิ๋วใหญ่ PM 10 กับ ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2) เพียงแค่วันถึงสองวันโอกาสเสี่ยงตายสูงจากเส้นเลือดหัวใจตัน (acute MI)
เป็นการรายงานในวารสารของสมาคมโรคหัวใจ (Journal of American College of Cardiology) วันที่ 26 มกราคม 2021 นี่เอง รวมทั้งบทบรรณาธิการ
ทั้งนี้ ทุก ๆ ปริมาณของฝุ่นเล็กจิ๋ว และจิ๋วใหญ่ที่เพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จนกระทั่งถึงระดับ 33.3 และ 57.3 ตามลำดับ จะเสี่ยงตายต่อโรคหัวใจ สูงขึ้น  และเช่นเดียวกันกับความเข้มข้นของไนโตรเจนไดออกไซด์

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

ขณะที่ หากย้อนไปอ่านในประเด็นโควิด-19 ทางคุณหมอดื้อ ระบุไว้ว่า

โรคโคโรนาไวรัส 2019 UPDATE: XBB.1.5: คำแนะนำความรุนแรงของ CDC

CDC ของสหรัฐกล่าวว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญในความรุนแรงของโรคระหว่าง Omicron subvariant XBB.1.5 และสายพันธุ์ที่เด่นก่อนหน้านี้ ปัจจุบัน XBB.1.5 มีสัดส่วนในเพิ่มสูงการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ถึง 90% ในสหรัฐอเมริกา
CDC ศึกษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 9,100 คนในนิวยอร์กซิตี้ระหว่างเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา [2022] ถึงเดือนมกราคมปีนี้ [2023]

พบว่าอัตราส่วนการรักษาในโรงพยาบาลของผู้ติดเชื้อ XBB.1.5 อยู่ที่ 7.3% เทียบกับ 6.4% ในกลุ่มผู้ติดเชื้อ BQ.1 ที่เป็นสายพันธุ์เด่นก่อนหน้านี้
การศึกษายังพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในร้อยละของ
ผู้เสียชีวิต. อัตราส่วนคือ 0.8% สำหรับ XBB.1.5 และ 0.6% สำหรับ BQ.1
CDC สรุปว่าการค้นพบเบื้องต้นไม่ได้แสดงหลักฐานเพิ่มเติม
ว่าความรุนแรงของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ XBB.1.5 รุนแรงมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ
ผู้ที่ติดเชื้อ BQ.1
 

 

โควิด ปัจจุบันไม่ดุแล้ว ภูมิเก่าจากที่เคยติดกับวัคซีน เหลือเฟือ

 

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

ปิดท้ายกับสาระเชิงสุขภาพ

ปั่มปั๊ม อย่างน้อย 21 ครั้งต่อเดือน !! ลดเสี่ยงมะเร็งฯลูกหมาก ถึงร้อยละ 20

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     
จากการเสนอผลงาน ในที่ประชุมประจำปี สมาคมระบบทางเดินปัสสาวะของอเมริกา และมีตีพิมพ์ใน
วารสารฯ เป็นผลการศึกษาติดตาม โดยคณะศึกษา ทางระบาดวิทยามะเร็งที่บอสตัน 
ผลที่น่าตื่นเต้น คือ ความเสี่ยงเกิดมะเร็ง จะลดลงถึงร้อยละ 20 ถ้ามีอัตราการปั่มปั๊ม อยู่ในเกณฑ์อย่างน้อย 21 ครั้งต่อเดือน เมื่อเทียบกับผู้มีปฏิบัติการ 4 - 7 ครั้งต่อเดือน ส่วนความถี่ปั่มปั๊ม ในระดับอื่น ๆ ครั้ง จะลดเสี่ยงมะเร็งเท่าไร ก็มีแนะนำเช่นกัน
บทความ หมอดื้อ (13 มิ.ย. 2565) 


ชายเรา...ถึงอายุหนึ่ง จะมีปัญหาเรื่อง “ฉี่” กล่าวคือ ยืนตั้งนานไม่ออกซักที ออกก็ไม่ค่อยจะพุ่ง เสร็จแล้วก็เหมือนไม่เสร็จ มีปัญหาจนไม่ค่อยอยากจะฉี่ ยอมอดน้ำเลยลุกลามไปจนเลือดข้นหนืด ไปมีปัญหาต่อไต ต่อหัวใจ อัมพฤกษ์ต่อสำหรับบุรุษเพศ สาเหตุใหญ่สำคัญ คือ ต่อมลูกหมากโต และมีเยอะที่เป็นมะเร็ง ถ้ายังไม่เป็น และยังไม่อยากผ่าตัด คว้านต่อม ก็มียา.. ซึ่งเดิมเป็นยาลดความดัน แต่ความที่ทำให้หูรูดในการฉี่บานได้ เลยเอามาใช้ในการนี้ แต่ควรต้องระวังความดันตก หน้ามืด ยาประเภทนี้ ออกฤทธิ์ต้าน alpha receptor

ยาอีกกลุ่ม ทำให้ต่อมลูกหมากเล็กลง ผ่านกระบวนการยับยั้งฮอร์โมน DHT ที่มาจากฮอร์โมนเพศชาย (5-Alpha Reductase Inhibitor) เช่น ยา Finasteride (Proscar) Dutasteride (Avodart) แต่แถมผลข้างเคียง คือ ลดความต้องการทางเพศ ไม่ค่อยแข็งตัว การขับเคลื่อนน้ำกาม (ejaculation) แปรปรวน
 

แต่ที่ต้องระวังเป็นสำคัญ คือ ยากลุ่มหลังนี้ ทำให้การตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก ที่ชื่อว่า PSA ได้ค่าลดลง จนถึงตรวจไม่เจอ เลยตายใจว่า ไม่เป็นมะเร็งทั้ง ๆ ที่เป็น

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

รายงานในปี 2011 พบว่า แม้ยากลุ่มหลังนี้ จะลดการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้บ้าง แต่ถ้าเป็นแล้ว ยากลุ่มนี้ อาจกลับทำให้เป็นมะเร็ง แบบชนิดที่มีความรุนแรงลุกลามมากขึ้น

อาหารเสริมที่อ้างว่า ทำให้ต่อมเล็กลงชื่อ Saw Palmetto สกัดจากผลของ Serenoa Repens พบว่า ไม่มีประสิทธิภาพจริง และอาจทำให้การตรวจค่ามะเร็ง PSA ได้ผลลบปลอมถึงตอนนี้ มาถึงคำโบราณที่พูดกันมา ในกลุ่มผู้ชายทั้งหลายว่า หนทางสุขภาพ รวมทั้งต่อมลูกหมาก กันโต กันมะเร็ง คือ ปฏิบัติการ “ล้างท่อบ่อยๆ” (keep the pipes clean!)
และเป็นที่มาของ การศึกษาฮือฮาทั่วโลก นับแต่มีการเสนอผลงาน ในที่ประชุมประจำปีของ สมาคมระบบทางเดินปัสสาวะของอเมริกา และตีพิมพ์ในวารสาร European Urology (29 มีนาคม 2016)

ผลการศึกษา จากการติดตาม โดยคณะศึกษา ทางระบาดวิทยามะเร็ง ที่ บอสตัน ในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ จำนวน 31,925 คน ตั้งแต่ปี 1992 จนถึง 2010 โดยที่ ณ ปี 1992 อายุเกณฑ์เฉลี่ยอยู่ประมาณที่ 59 ปี ในช่วง 18 ปี ของการติดตามมี 3,839 ราย เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก และ 384 ราย รุนแรงถึงชีวิต ขั้นตอนในการวิเคราะห์เจาะลึก ตั้งแต่เริ่มต้นในปี 1992 มีการให้รายงานปริมาณจำนวนของ การขับเคลื่อนน้ำกาม (แทนในที่นี้ด้วยปั่มปั๊ม) ในช่วงเวลาตั้งแต่อายุ 20 - 29, 30 - 39, 40 - 49 และ 50 เป็นต้นไป ทั้งนี้มีการวิเคราะห์ของปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจมีส่วนให้เกิดมะเร็ง

ผลที่น่าตื่นเต้น คือ ความเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง จะลดลงถึงประมาณร้อยละ 20 ถ้ามีอัตราการปั่มปั๊ม อยู่ในเกณฑ์อย่างน้อย 21 ครั้งต่อเดือน เมื่อเทียบกับผู้มีปฏิบัติการ 4 - 7 ครั้งต่อเดือน 


การลดความเสี่ยงของมะเร็ง จะพบได้ในกลุ่มที่มีปฏิบัติการถี่ ทั้งทุก ช่วงอายุ เหตุผลที่ใช้อัตรา 4 - 7 ครั้งต่อเดือน เป็นบรรทัดฐานในการเปรียบเทียบ เนื่องจากมีน้อยมาก ที่กลุ่มคนในการศึกษานี้ ปฏิบัติในช่วง 0 - 3 ครั้งต่อเดือน จึงตัดออกไป
สำหรับปั่มปั๊ม น้อยกว่า 21 ครั้ง อย่าเพิ่งเสียใจ ถ้าอัตรา 8 - 12 ครั้งต่อเดือนในช่วง 40 - 49 ปี จะมีความเสี่ยงลดลงร้อยละ 10 และถ้าอยู่ในอัตรา 13 - 20 ครั้งต่อเดือน ในช่วงอายุนี้ จะมีความเสี่ยงลดลง 20% (มีนัยสำคัญทางสถิติ P trend <.0001)
เมื่อดูลึกละเอียดลงของกลุ่มปั่มปั๊ม 21 ครั้ง พบว่ากลุ่มนี้ กลับไม่ค่อยเป็นกลุ่มรักสุขภาพนัก กินเยอะ ดื่มเยอะ มีโอกาสเป็นโรคติดต่อ ทางเพศสัมพันธ์มาก และดูดบุหรี่เยอะ แต่กลุ่มนี้ ไม่ได้ตายเร็วขึ้น เนื่องจากสาเหตุอื่น ๆ 

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

กลไกของการป้องกันมะเร็งต่อม ยังไม่เป็นที่แน่ชัดทั้งนี้เป็นได้ที่ ต่อมลูกหมากสะสมสารพิษ ที่จะก่อมะเร็งไว้ (prostate stagnation ) และการขจัดชะล้าง โดยการขับเคลื่อนออกไป อาจจะลดความเสี่ยง แต่ทั้งนี้อาจเป็นผลอื่น ๆ จากการที่มีการขับเคลื่อน หรือการออกกำลังปั่มปั๊ม อาจจะปรับเปลี่ยนสภาพ สภาวะแวดล้อมในเนื้อเยื่อต่อม อีกทั้งปฏิบัติการ อาจก่อให้เกิดความหรรษาสุข อย่างฉับพลันในวินาทีนั้น ก่อให้เกิดการสั่งงานผ่านสมอง มายังระบบภูมิคุ้มกัน
ข่าวนี้ ยังปรากฎ ใน Harvard news 2022

จะอย่างไรก็แล้วแต่ 21 ครั้งต่อเดือน เท่ากับมากกว่า 5 ครั้งต่ออาทิตย์ จัดเวลาให้ดีนะครับ อาจจะเสียชีวิตซะก่อน เกิดมะเร็งต่อมลูกหมาก


..................

ส่งท้ายกับบทความดีที่น่าอ่าน ในยุคโควิด 2023 >> คลิกอ่านได้เลย "หมอธีระวัฒน์" แนะนำ วิธีการอยู่ร่วมกับโควิด-19 

 

\"หมอธีระวัฒน์\" ส่งโพสต์ล่าสุด ให้ความรู้ประชาชนในเรื่อง ฝุ่นจิ๋ว 2.5     

 

logoline