svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

Soft Power โชว์หัตถศิลป์งานแฟชั่นผ้าไทยตระหง่านบนเวทีความยั่งยืน

07 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เกาะติดเทรนด์โลก Sustainable Fashion ผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ตอบโจทย์ความแตกต่าง ชูอัตลักษณ์ไทยสู่แฟชั่นบนพื้นฐานความยั่งยืน

นับเป็นอีกครั้งที่ Soft Power แฟชั่นผ้าไทยได้เฉิดฉายบนเวทีใหญ่ระดับสากล ในงานมหกรรมด้านความยั่งยืนที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน SUSTAINABILITY EXPO 2023 (SX2023) โดย "โครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย” ซึ่งเป็นโครงการที่ริเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2559 ภายใต้การดำเนินงานของคณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ ที่เราได้เห็นพัฒนาการของโครงการมาอย่างต่อเนื่อง ไม่เพียงแค่การขยายเครือข่ายของนักออกแบบหน้าใหม่ แต่ยังรวมไปถึงแพทเทิร์น เนื้อผ้า สไตล์การออกแบบ และความคิดสร้างสรรค์ที่ตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายแบบ Unisex Style โดยดึงเอาภูมิปัญญาลวดลายดั้งเดิมมาปรับประยุกต์ให้ลงตัว ผสานกับการสร้างความยั่งยืน อาทิ การใช้สีจากธรรมชาติ และการถักทอจากเส้นใยที่เหลือใช้ เป็นต้น

Soft Power โชว์หัตถศิลป์งานแฟชั่นผ้าไทยตระหง่านบนเวทีความยั่งยืน

Soft Power โชว์หัตถศิลป์งานแฟชั่นผ้าไทยตระหง่านบนเวทีความยั่งยืน

Soft Power โชว์หัตถศิลป์งานแฟชั่นผ้าไทยตระหง่านบนเวทีความยั่งยืน

ภาพการเดินแฟชั่นจาก “งานผ้าขาวม้าทอใจ 2566” สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้ชมได้อย่างมาก เพราะเทียบชั้นกับแฟชั่นโชว์ชั้นนำจากแบรนด์ดังระดับโลก โดยปีนี้ได้จัดงานภายใต้แนวคิด “ผ้าขาวม้าวิถีไทย ทอใจอย่างยั่งยืน” โดยเป็นเวทีเพื่อนำเสนอความสำเร็จของผลงานที่เกิดจากการพัฒนาร่วมกันระหว่างโครงการ Creative Young Designers และชุมชนเครือข่าย โดยมุ่งให้เกิดการพัฒนาผ้าขาวม้าทอมือของชุมชนการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนระหว่างกัน จนเกิดแฟชั่นโชว์ชุดผ้าขาวม้าจากโครงการ Creative Young Designers ซีซั่นที่ 3 ภายใต้แนวคิด “Nature Diversity” เพื่อต้องการสื่อสารให้เห็นถึงความหลากหลายของธรรมชาติ เช่นเดียวกับผ้าขาวม้าเองที่สามารถใส่ได้ทุกเพศทุกวัยเช่นเดียวกัน

Soft Power โชว์หัตถศิลป์งานแฟชั่นผ้าไทยตระหง่านบนเวทีความยั่งยืน

คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประธานคณะกรรมการโครงการผ้าขาวม้าท้องถิ่นหัตถศิลป์ไทย ได้กล่าวถึงหัวใจของการดำเนินงานของโครงการดังกล่าว พร้อมชื่นชมเด็กๆ ในโครงการ และเปิดมุมมองให้กับผู้ร่วมงานว่า 

“ชื่องานผ้าขาวม้าทอใจ ดุจการถักทอใจของน้องๆ ทุกๆ คน ที่เป็นคนไทยเข้ามาอยู่ร่วมกันสรรค์สร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับพี่น้องในชุมชน อยากจะกล่าวว่า วันนี้น้องๆ ที่เป็น Creative Young Designers ทั้งที่ร่วมทำโครงการกับ eisa และที่ได้มีโอกาสร่วมมือกับส่วนราชการ กับพี่ๆ กระทรวงมหาดไทย เชื่อมโยงไปถึงอาจารย์จากสถาบันมหาวิทยาลัยต่างๆ แล้วได้ผลงานที่ออกมาจากน้ำพักน้ำแรงที่น้องๆ ช่วยกันทุ่มเท ได้ร่วมกันสร้างสรรค์ประโยชน์อย่างมากมายกับโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณแม่คุณป้าในชุมชนที่ได้ถักทอเรื่องราวต่างๆ ที่เป็นผ้าขาวม้าในท้องถิ่นจากรุ่นสู่รุ่น แต่สิ่งที่สำคัญ ลูกหลาน เยาวชน เด็กเล็กๆ ที่เห็นว่าคนอื่นเค้าหันกลับมาสนใจเรื่องราวที่อยู่ในพื้นที่ของเขา เขาก็จะเติบโตขึ้นมาและเห็นคุณค่าในสิ่งเหล่านั้น เพราะนั่นคือการถักทอใจและก็เป็นน้ำใจที่เราเอื้อเฟื้อที่เราได้มีโอกาสสรรสร้างประโยชน์เพื่อสังคมไทย”  

Soft Power โชว์หัตถศิลป์งานแฟชั่นผ้าไทยตระหง่านบนเวทีความยั่งยืน

ภายในงานยังได้แบ่งปันประสบการณ์ในหลายแง่มุม อาทิ ลายผ้าขาวม้านั้นแท้จริง ไม่ใช่มีเพียงแค่คนไทยเท่านั้น แต่ว่ายังมีแบรนด์แฟชั่นของอังกฤษก็เรียกว่าเป็นลายผ้าขาวม้า เหมือนอย่างที่บ้านเราเรียกว่าผ้าขาวม้า หรือ “สกอตติช ตาร์ตัน” ซึ่งเป็นการระบุลายและสีเป็นตามกลุ่มคนในหมู่บ้าน ซึ่งก็ถือว่าเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ที่พอได้เห็นก็สามารถบอกได้เลยว่ามาจากหมู่บ้านไหน พร้อมทั้งแนะนำถึงการสร้าง Product Story เช่น ที่มาของเส้นใย สีธรรมชาติที่ใช้ซึ่งสามารถ สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของชุมชน เป็นต้น  

Soft Power โชว์หัตถศิลป์งานแฟชั่นผ้าไทยตระหง่านบนเวทีความยั่งยืน

คนรุ่นใหม่ที่มีหัวใจรักษ์โลก และผู้ที่สนใจสามารถตามรอยผลงานการออกแบบสวยๆ ดีไซด์เก๋ๆ ของน้องๆ ภายใต้ โครงการ Creative Young Designers ซีซั่นที่ 3  ทั้ง 16 มหาวิทยาลัย 18 ชุมชน ได้ใน โซน Better Me ในส่วนของ Life Long Learning และ  โซน Cultural Heritage for Climate Change ที่จัดแสดงผลงานที่เกี่ยวข้องกับภูมิปัญญาชุมชนที่ควรค่าในการอนุรักษ์ เพิ่มความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม และเรื่องราวของ Sustainable Fashion นอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าวแล้ว โครงการเองยังขยายโอกาสให้แก่กลุ่มผู้ผลิตผ้าขาวม้าทอมือให้มีพื้นที่การตลาดเพิ่มขึ้นในโซน SX Marketplace ที่โซน LG

logoline