svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

สุดทึ่ง อาหารทำจากพลาสติกชิ้นแรกของโลก “ไอศกรีมรสวานิลลา” 

22 สิงหาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โลกสุดทึ่ง ค้นพบวิธีใหม่ ที่ทำให้มนุษย์สามารถรับผิดชอบกับขยะของตัวเองได้ “ด้วยการกิน” Eleonora Ottolani ออร์โตลินี นักศึกษาปริญญาโทสาขา Material Futures จากโรงเรียนออกแบบ Central Saint Martins ต้องการทำโปรเจกต์จบของเธอ อาหารที่ทำมาจากพลาสติกชิ้นแรกของโลก

ในช่วงก่อนหน้านี้ เรา-เคยดีใจไปกับการค้นพบที่น่าทึ่งของหนอนที่สามารถกินพลาสติกและย่อยสลายได้ ซึ่งพอจะทำให้เราชุ่มชื้นหัวใจ ว่าพลาสติกยังมีวิธีการกำจัดที่เป็นดีต่อโลกได้ โดยไม่ต้องรีไซเคิล

สุดทึ่ง อาหารทำจากพลาสติกชิ้นแรกของโลก “ไอศกรีมรสวานิลลา” 

แต่ล่าสุด เราค้นพบวิธีใหม่ที่จะทำให้มนุษย์สามารถรับผิดชอบกับขยะของตัวเองได้ “ด้วยการกิน” Eleonora Ottolani ออร์โตลินี นักศึกษาปริญญาโท สาขา Material Futures จากโรงเรียนออกแบบ Central Saint Martins ต้องการทำโปรเจกต์จบของเธอ

ออร์โตลินี สังเกตเห็นว่า เพื่อน ๆ นักออกแบบของเธอใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิตผลงานผลิตภัณฑ์ ซึ่งเมื่อทำเสร็จแล้ว ผลงานนั้นก็ไม่สามารถนำไปรีไซเคิลได้อีกต่อไป เนื่องจากพลาสติกมักจะถูกหลอมด้วยเรซิน หรือวัสดุอื่น ๆ

ดังนั้น เธอจึงมองหาวิธีที่แตกต่างออกไปในการผลิตผลงาน ว่ามีวิธีใดบ้างที่มนุษย์จะสามารถกินพลาสติกและกำจัดมันทิ้งไปตลอดกาลได้

สุดทึ่ง อาหารทำจากพลาสติกชิ้นแรกของโลก “ไอศกรีมรสวานิลลา” 

ออร์โตลานี ทำงานร่วมกับ Hamid Ghoddusi ผู้นำหลักสูตรวิทยาศาสตร์การอาหารของ London Metropolitan University และ Joanna Sadler นักวิทยาศาสตร์การวิจัย ซึ่งทีมงานของมหาวิทยาลัย Edinburgh

เพื่อนำพลาสติกจำนวนเล็กน้อยมาลองย่อยสลายในห้องแล็บ แล้วเปลี่ยนมันให้กลายมาเป็นวานิลลิน โมเลกุลของรสชาติวานิลลา และเมื่อเธอนึกถึง วานิลลา สิ่งที่เธอนึกถึงต่อมาคือไอศกรีม ของหวานที่เธอชื่นชอบ

ในที่สุดพวกเขาก็ทำมันได้ โดยใช้แบคทีเรียดัดแปลงพันธุกรรม เพื่อสังเคราะห์วานิลลินออกจากพลาสติก แต่ผลงานนี้ยังไม่สามารถทานได้ และยังไม่เคยมีใครได้ลิ้มลองเลยสักครั้ง แม้จะเป็นเจ้าของอย่างออร์โตลินีเองก็ยังไม่เคยได้ลิ้มลอง
ปกติแล้ว วานิลลินสังเคราะห์มีขายให้บริโภคได้ทั่วไปตามซูเปอร์มาเก็ตอยู่แล้ว เนื่องจากมีราคาถูกกว่าวานิลลินธรรมชาติ ซึ่งวานิลลินสังเคราะห์มักจะผลิตจากน้ำมันดิบ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเชื้อเพลิงฟอสซิลเช่นเดียวกับพลาสติก

ออร์โตลานีอธิบายว่า  

พวกเธอได้ออกแบบเอนไซม์ที่จะใส่ไว้ในแบคทีเรีย E.coli เพื่อให้สามารถตัดการเชื่อมโยงโมเลกุลของพลาสติก อันเป็นหนึ่งในกระบวนการเผาผลาญของมัน จากนั้นก็ใช้เอนไซม์อีกตัวหนึ่งสังเคราะห์โมเลกุลที่ไม่ได้เชื่อมโยงกัน กลั่นออกมาให้เป้นวานิลลิน

ดังนั้น เมื่อเอนไซน์ตัวแรกไม่มีการเชื่อมโยง มันก็จะไม่ใช่พลาสติกอีกต่อไป และมันจะกลายเป็นโมโนเมอร์ เธอได้จำลองกระบวนการสังเคราะห์ที่ได้รับสิทธิบัตรในนามนักวิทยาศาสตร์ ภายใต้เงื่อนไขที่เข้มงวด จากการทดลองเธอได้สารที่ให้กลิ่นเหมือนวานิลลาทุกประการ

สุดทึ่ง อาหารทำจากพลาสติกชิ้นแรกของโลก “ไอศกรีมรสวานิลลา” 

แม้ว่า โมเลกุลที่ค้นพบนี้ จะมีคุณสมบัติทางเคมีที่เหมาะกับวานิลลาสังเคราะห์ทุกประการ แต่ก็ถือว่าทั้งหมดนี้คือส่วนผสมใหม่ที่จะต้องผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานด้านความปลอดภัยของอาหาร และนักวิทยาศาสตร์ไม่แนะนำให้เธอชิมจนกว่าจะผ่านการทดสอบทั้งหมดแล้วมีประกาศออกมาว่า กินได้อย่างปลอดภัย

และเพราะกินไม่ได้ ออร์โตลินีจำเป็นที่จะต้องโชว์มันไว้เฉย ๆ ในตู้เย็นที่ถูกล็อกไว้ในนิทรรศการบัณฑิตศึกษาของ CSM และหวังว่าโครงการของเธอจะเริ่มบทสนทนาที่น่าสนใจเกี่ยวกับธรรมชาติและการสังเคราะห์ เพื่อนำไปสู่ความมั่นคงในยุคที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงรุนแรง

logoline