svasdssvasds
เนชั่นทีวี

รักษ์โลก

รักษ์โลก : Ocean Call ไอเดีย...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป

18 เมษายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ชื่นชมผลงานสุดบรรเจิด "Ocean Call"  ไอเดีย...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป คว้ารางวัลรองชนะเลิศ ลำดับที่ 1 งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน 2566

อดชื่นชมในความสามารถและความหมายที่ต้องการสื่อสารออกมาไม่ได้ เมื่อเห็นผลงานเต็มหน้าฟีดจนต้องค้นหาว่าไอเดียกระตุ้นต่อมรักษ์โลกในผลงานศิลปะสุดบรรเจิดที่สะท้อนมุมมองรักษ์โลก จนคว้ารางวังรองชนะเลิศ ลำดับที่ 1 ประเภท ฉ. (ศิลปะร่วมสมัย) ในงานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน ประจำปี พ.ศ. 2566 ไปครอง มีที่มาที่ไปอย่างไร

รักษ์โลก : Ocean Call ไอเดีย...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป

รักษ์โลก : Ocean Call ไอเดีย...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป

สำหรับผลงานดังกล่าวเป็นผลงานจากทีมศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยได้ตั้งชื่อผลงานนี้ว่า “Ocean Call” บรรยายถึง วัตถุㆍเรื่องราวㆍสิ่งสวยงาม ไว้ว่า

"เพราะอะไรต้องเป็นขยะ....คำตอบนั้นคือ เราต้องการสร้างความแตกต่างของผลงาน และเป็นกระจกสะท้อนในมนุษย์ตระหนักถึงปริมาณขยะในทะเล ในทัศนะของผู้สร้างงานศิลปะ มุมมองที่ว่าทุกอย่างล้วนนำมาสร้างเป็นผลงานได้ทั้งสิ้น รวมถึงขยะ เพราะขยะจากทะเลคือวัตถุดิบที่นำมาถ่ายทอดให้เป็นเรื่องราว จากขยะที่ไร้ค่า...สู่งานประติมากรรมทรายที่จะส่งคุณค่าแด่คุณ”

รักษ์โลก : Ocean Call ไอเดีย...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป รักษ์โลก : Ocean Call ไอเดีย...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป

รูปแบบผลงานที่นำเสนอ

ผลงานทรงกลมที่ไร้ขีดจำกัด ด้วยขยะที่เสาะหามาได้สู่รูปแบบตัว O

“เด็กผู้หญิง” ตัวแทนความบริสุทธิ์และความงาม เป็นการ call idea เพื่อสร้างอิมแพค...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป

รักษ์โลก : Ocean Call ไอเดีย...ให้มนุษย์ มองขยะ เปลี่ยนไป

สำหรับงานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน นับเป็นประเพณีสำคัญที่ชาว ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี ได้ถือปฏิบัติสืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ซึ่งเดิมเรียกว่า “งานทำบุญวันไหล” เป็นรูปแบบการรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงามของคนท้องถิ่น ผสมผสานการเล่นสาดน้ำสงกรานต์ของคนยุคใหม่

การประกวดก่อพระทรายวันไหลบางแสน ถือเป็นประเพณีของท้องถิ่นที่ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน สำหรับปีนี้งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน ประจำปี พ.ศ. 2566 จัดระหว่างวันที่ 16-17 เมษายน ที่ผ่านมา ณ บริเวณชายหาดบางแสน โดยมีการแข่งขันก่อพระทรายประเภทต่างๆ การแข่งขันการละเล่นพื้นบ้าน การออกบูธอาหาร และความสนุกสนานจากเวทีการแสดงดนตรีของศิลปิน

 

ขอขอบคุณภาพและข้อมูลจาก

เทศบาลเมืองแสนสุข จังหวัดชลบุรี

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

เพจชอบจังบางแสน

อาจารย์อุทัย หวังพัชรพล อาจารย์ประจำภาควิชาการจัดการเรียนรู้ คณะศึกษาศาสตร์

นิสิตสาขาวิชาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์

 

 

 

logoline