svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

สเปซเอ็กซ์ทดสอบปล่อยสตาร์ชิปล้มเหลวครั้งที่ 2

19 พฤศจิกายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สเปซเอ็กซ์ทดสอบการปล่อยจรวด “สตาร์ชิป” ครั้งใหม่เมื่อวันเสาร์ แต่พบกับความล้มเหลวเป็นครั้งที่สอง โดยจรวดทะยานออกจากฐานปล่อยและเดินทางถึงขอบอวกาศ ได้ แต่ภารกิจจบลงก่อนกำหนดและต้องระเบิดทำลายตัวเอง

สเปซเอ็กซ์ทดสอบปล่อยสตาร์ชิปล้มเหลวครั้งที่ 2 จรวดสตาร์ชิป (Starship) ที่ประกอบด้วยจวดขนส่ง “ซูเปอร์ เฮฟวี” (Super Heavy) และยานสตาร์ชิป ถูกปล่อยขึ้นจากฐานปล่อยสตาร์เบสของบริษัทสเปซเอ็กซ์ใกล้เมืองโบคา ชิคา ในรัฐเท็กซัสเมื่อเช้าวันเสาร์ (18 พฤศจิกายน) ตามเวลาสหรัฐฯ โดยจรวดขนส่ง “ซูเปอร์ เฮฟวี” สามารถแยกตัวออกจากยาน “สตาร์ชิป”ได้สำเร็จ แต่จรวดระเบิดทำลายตัวเองเหนืออ่าวเม็กซิโกแทนที่จะลงทะเลตามที่วางแผนไว้ ส่วนยานสตาร์ชิปสามารถเดินทางต่อด้วยตัวเองได้เพียงไม่กี่นาที และเพียงเกือบ 12 นาทีนับจากทะยานขึ้นจากฐานปล่อย ศูนย์ควบคุมภารกิจแจ้งขาดการติดต่อกับยาน ทำให้ต้องสั่งเปิดระบบยุติการบิน ซึ่งเป็นระบบให้ยานทำลายตัวเองเพื่อป้องกันไม่ให้ออกจากเส้นทางการบิน 

สเปซเอ็กซ์ทดสอบปล่อยสตาร์ชิปล้มเหลวครั้งที่ 2 ในการทดสอบครั้งนี้จรวดสตาร์ชิปสามารถเดินทางขึ้นจากฐานปล่อย โดยอยู่เหนือจากพื้นโลกเกือบ 150 กม. ซึ่งแตะขอบอวกาศแล้ว ก่อนสัญญาณการสื่อสารขาดหายไป

ตามแผนการทดสอบ สเปซเอ็กซ์ของอีลอน มัสก์ ตั้งเป้าว่า ยานสตาร์ชิปจะสามารถเดินทางสู่อวกาศเหนือจากพื้นโลก  240 กม. และโคจรรอบโลกก่อนดิ่งลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิกใกล้ฮาวายโดยใช้เวลารวม 90 นาที     

สตาร์ชิปมีความสูง 121 เมตร เป็นจรวดที่สูงที่สุดและทรงพลังที่สุดในโลก ประกอบด้วยส่วนจรวดขนส่งซูเปอร์ เฮฟวี  ที่ยาว 70.7 เมตร และส่วนตัวยานสตาร์ชิปที่ยาว 50.2 เมตร และถูกออกแบบให้สามารถบรรทุกสัมภาระหรือมนุษย์อวกาศ แต่ในการทดสอบครั้งนี้ไม่ได้บรรทุกคน

สเปซเอ็กซ์ทดสอบปล่อยสตาร์ชิปล้มเหลวครั้งที่ 2

แม้การทดสอบครั้งที่สองนี้ประสบความล้มเหลว แต่ก็มีความคืบหน้ากว่าผลการทดสอบเมื่อเดือนเมษายนที่จรวดระเบิดหลังทะยานขึ้นจากฐานปล่อยได้เพียง 4 นาที โดยจรวดไม่สามารถแยกตัวจากยาน และเครื่องยนต์ของจรวดบางตัวไม่ทำงาน ขณะที่ในครั้งนี้จรวดซูเปอร์ เฮฟวี สามารถจุดระเบิดเครื่องยนต์ทั้ง 33 ตัวได้สำเร็จเพื่อทะยานขึ้นจากฐานปล่อย และสตาร์ชิปเดินทางได้ไกลขึ้นและนานขึ้นกว่าการทดสอบครั้งแรก โดยสามารถเดินทางถึงขอบอวกาศเป็นครั้งแรก

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติของสหรัฐฯ (นาซา) ทำสัญญากับสเปซเอ็กซ์เพื่อใช้สตาร์ชิปเป็นพาหนะส่งมนุษย์เดินทางไปดวงจันทร์ในโครงการ “อาร์ทิมิส 3” ภายในปี 2023

logoline