svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

1 สัปดาห์น้ำท่วมลิเบีย ยังเร่งกู้ภัยบรรเทาทุกข์ สอบสาเหตุเขื่อนแตก

18 กันยายน 2566

น้ำท่วมในลิเบียผ่านพ้นมาครบ 1 สัปดาห์ หน่วยกู้ภัยยังคงเผชิญความท้าทายกับการกู้ร่างผู้เสียชีวิตที่ส่วนใหญ่จมหายไปในทะเล และการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ขณะเดียวกันเริ่มสอบสวนหาสาเหตุที่เขื่อนแตกทำให้เกิดโศกนาฏกรรมครั้งเลวร้ายหลายพันราย หรือ อาจเกินกว่า 10,000 ราย

1 สัปดาห์น้ำท่วมลิเบีย ยังเร่งกู้ภัยบรรเทาทุกข์ สอบสาเหตุเขื่อนแตก หน่วยกู้ภัยนานาชาติร้องขอความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการกู้ร่างผู้เสียชีวิตจากภัยพิบัติน้ำท่วมกลืนเมืองเดอร์นา ริมชายฝั่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือของลิเบีย ขณะที่หลายศพเน่าเปื่อยจนยากจะกู้ขึ้นจากน้ำได้ และหลายศพอยู่ในอ่าวหรือเวิ้งที่สามารถเข้าถึงได้ด้วยเรือพิเศษเท่านั้น ซึ่งทีมค้นหาจากแอลจีเรียพบศพเกือบ 50 รายจากหน้าผาห่างจากท่าเรือเมืองเดอร์นาราว 13 กม. แต่มีเพียงนักประดาน้ำหรือเรือจึงจะเข้าไปได้ และบอกด้วยว่า หากมีเรือที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ก็อาจกู้ศพได้มากถึงวันละ 100 ราย

น้ำท่วมใหญ่ในภาคตะวันออกของลิเบียผ่านพ้นมานานหนึ่งสัปดาห์แล้ว นับจากพายุ “แดเนียล” พัดถล่มเมื่อวันที่ 10 กันยายน ทำให้เกิดฝนตกหนัก จนเขื่อน 2 แห่งแตก ส่งผลให้มวลน้ำมหาศาลไหลทะลักเข้าท่วมเมืองเดอร์นา กระแสน้ำสูงราว 7 เมตรซัดหลายหมู่บ้านพังราบลงไปอยู่ในทะเล ทำให้เมืองถูกแบ่งเป็นสองฝั่งและกลายเป็นทะเลโคลน 1 สัปดาห์น้ำท่วมลิเบีย ยังเร่งกู้ภัยบรรเทาทุกข์ สอบสาเหตุเขื่อนแตก
เสี้ยววงเดือนแดงของลิเบีย รายงานว่า มีผู้เสียชีวิตราว 11,300 ราย และผู้สูญหายอีกราว 10,100 ราย ขณะที่องค์การอนามัยโลก รายงานตัวเลขผู้เสียชีวิตที่อย่างน้อย 3,958 ราย และผู้สูญหายมากกว่า 9,000 ราย และสหประชาชาติ ประเมินว่า มีผู้ไร้ที่อยู่อาศัยอีกกว่า 40,000 ราย ผู้ประสบภัยเหล่านี้กำลังต้องการน้ำสะอาด อาหาร ที่พักอาศัยและสิ่งของจำเป็นขั้นพื้นฐาน ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับความเสี่ยงจากอหิวาตกโรค โรคท้องร่วง ภาวะขาดน้ำ และภาวะทุพโภชนาการ

ส่วนการประเมินความเสียหายเบื้องต้น พบว่า อาคารราว 1,500 แห่งจากเกือบ 6,142 แห่งในเมืองเดอร์นา โดยเกือบ 900 หลังพังย่อยยับ ส่วนที่เหลือได้รับความเสียหายบางส่วน หรือ จมอยู่ใต้กองโคลน

ความเสียหายอย่างหนักด้านโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะถนนทำให้ยากที่ความช่วยเหลือจะเข้าไปถึงเมืองเดอร์นา และความแตกแยกทางการเมืองที่ทำให้มี 2 รัฐบาลควบคุมพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกของประเทศตั้งแต่ปี 2557 หลังการโค่นล้มอดีตผู้นำเผด็จการโมอัมมาร์ กัดดาฟี ในปี 2554 ก็เป็นอุปสรรคยิ่งขึ้นต่อการบริหารจัดการความช่วยเหลือกู้ภัยและบรรเทาทุกข์  1 สัปดาห์น้ำท่วมลิเบีย ยังเร่งกู้ภัยบรรเทาทุกข์ สอบสาเหตุเขื่อนแตก ขณะที่รัฐบาลลิเบียตะวันออก ที่ได้รับการยอมรับจากประชาคมโลก สั่งให้อัยการดำเนินการสอบสวนว่า ความผิดพลาดของมนุษย์มีส่วนทำให้ภัยพิบัตินำไปสู่การสูญเสียชีวิตจำนวนมากหรือไม่ โดยมุ่งหาว่า ใครมีส่วนรับผิดชอบต่อเหตุการณ์เขื่อนแตก และเบื้องต้นอัยการ เปิดเผยว่า จากผลการศึกษาเมื่อหลายสิบปีก่อนพบว่า เขื่อนทั้ง 2 แห่งที่สร้างในช่วงทศวรรษ 1970 มีประวัติเกิดรอยแตกและการทรุดตัว ที่อาจนำไปสู่การพังทลาย นอกจากนี้เงินซ่อมบำรุงเขื่อนราว 8 ล้านดอลลาร์ ถูกระงับเพียงไม่กี่เดือน หลังการปฏิวัติอาหรับสปริงเริ่มต้นขึ้นในประเทศช่วงต้นทศวรรษ 2010 จึงจะมีการตรวจสอบว่า ใครมีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ด้วย

1 สัปดาห์น้ำท่วมลิเบีย ยังเร่งกู้ภัยบรรเทาทุกข์ สอบสาเหตุเขื่อนแตก อิทธิพลจากพายุทำให้เกิดฝนตกหนักวัดได้กว่า 400 มิลลิเมตรในบางส่วนของชายฝั่งตะวันออกเฉียงเหนือภายในเวลาเพียง 24 ชั่วโมง ทั้งที่ปกติในภูมิภาคแถบนี้มีปริมาณฝนตกวัดได้เพียงเกือบ 1.5 มิลลิเมตรตลอดทั้งเดือนกันยายน

ฝนถล่มทำให้เขื่อน 2 แห่งบนแม่น้ำวาดี เดอร์นา ซึ่งไหลจากภูเขาผ่านเมืองเดอร์นาก่อนลงสู่มหาสมุทรเมดิเตอเรเนียนรองรับน้ำไม่ไหว และพังทลาย ทำให้มวลน้ำราว 30 ล้านลูกบาศก์เมตร ไหลทะลักท่วมเมืองเดอร์นา ที่มีประชากรราว 100,000 คน ซัดบ้านเรือนหลายหมู่บ้านพังราบและไหลลงสู่ทะเล 

ปกติเขื่อนที่อยู่ตอนบนมีความจุ 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนอีกแห่งที่อยู่ตอนล่างสามารถกักเก็บน้ำได้ 22.5 ล้านลูกบาศก์เมตร และเขื่อนทั้ง 2 แห่งขาดการซ่อมบำรุงตั้แต่ปี 2002 นอกจากนี้เคยมีรายงานเตือนว่า เขื่อนดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงอาจเกิดน้ำท่วม และจำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุงตามรอบระยะเวลาเพื่อหลีกเลี่ยงหายนะจากน้ำท่วม  1 สัปดาห์น้ำท่วมลิเบีย ยังเร่งกู้ภัยบรรเทาทุกข์ สอบสาเหตุเขื่อนแตก
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก บอกว่า ความสูญเสียชีวิตอาจหลีกเลี่ยงได้ หากลิเบีย ที่อยู่ในภาวะการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองของรัฐบาล 2 ฝ่ายมานานทศวรรษ มีสำนักงานอุตุนิยมวิทยาที่ทำงานได้อย่างปกติ ก็อาจสามารถออกคำเตือนภัย และหน่วยบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินอาจสามารถดำเนินการอพยพประชาชนได้

ขณะที่ความช่วยเหลือทั้งทีมค้นหากู้ภัย แพทย์ และสิ่งของบรรเทาทุกข์จากนานาชาติทยอยหลั่งไหลเข้าสู่ลิเบียแล้ว และสหประชาชาติประกาศขอระดมเงินช่วยเหลือมากกว่า 71 ล้านดอลลาร์ ซึ่งขณะนี้มีการจัดส่งน้ำ อาหาร เตนท์ ผ้าห่ม อุปกรณด้านสุขอนามัย ยาและเวชภัณฑ์ และเครื่องผ่าตัดฉุกเฉิน ตลอดจนเครื่องจักรหนักเพื่อเคลียร์เศษซาก และถุงใส่ศพไปยังลิเบียแล้ว รวมถึงมีการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามในพื้นที่ประสบภัยเพื่อรักษาผู้บาดเจ็บและผู้ป่วย  1 สัปดาห์น้ำท่วมลิเบีย ยังเร่งกู้ภัยบรรเทาทุกข์ สอบสาเหตุเขื่อนแตก