svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ผู้นำเกาหลีใต้เยี่ยมชมเรือดำน้ำสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์สหรัฐฯ

19 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ประธานาธิบดียุน ซอก ยอล ของเกาหลีใต้ เยี่ยมชมเรือดำน้ำติดตั้งขีปนาวุธที่สามารถติดหัวรบนิวเคลียร์ ของกองทัพสหรัฐฯ ที่ฐานทัพเรือในเมืองปูซาน เพื่อส่งสัญญาณเตือนอย่างแข็งกร้าวต่อเกาหลีเหนือ

ผู้นำเกาหลีใต้เยี่ยมชมเรือดำน้ำสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์สหรัฐฯ ประธานาธิบดียุน ซอก ยอล พร้อมด้วย คิม กึน ฮี ภริยา เยี่ยมชมเรือดำน้ำ ยูเอสเอส เคนตักกี เอสเอสบีเอ็น 737ของสหรัฐฯ ที่ฐานทัพเรือในเมืองปูซานของเกาหลีใต้ในวันพุธ (19 กรกฎาคม 2566)  เพียงหนึ่งวันหลังจากเรือดำน้ำชั้นโอไฮโอ ขนาด 18,750 ตัน ลำนี้เข้าเทียบท่าเมื่อบ่ายวันอังคาร เรือดำน้ำ ยูเอสเอส เคนตักกี เป็นเรือดำน้ำติดขีปนาวุธ ที่สามารถติดหัวบนิวเคลียร์ (เอสเอสบีเอ็น) ที่เทียบท่าในเกาหลีใต้ครั้งแรกนับจากเรือดำน้ำ ยูเอสเอส โรเบิร์ต อี. ลี เทียบท่าในเดือนมีนาคม 2524

ยุนได้สำรวจห้องควบคุมและห้องบัญชาการ ห้องควบคุมขีปนาวุธ และช่องเก็บขีปนาวุธ รวมถึงรับฟังรายงานเกี่ยวกับศักยภาพของเรือดำน้ำนิวเคลียร์จากกัปตันเรือด้วย

ก่อนหน้านี้ในช่วงเช้ามืดวันพุธ เกาหลีเหนือยิงขีปนาวุธพิสัยใกล้ 2 ลูก ตกลงในทะเลตะวันออก โดยมีขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังเรือดำน้ำสหรัฐฯ เข้าเทียบเท่า  และเมื่อเร็ว ๆ นี้ เกาหลีเหนือเพิ่งยิงทดสอบขีปนาวุธพิสัยไกลข้ามทวีปชนิดใช้เชื้อเพลิงแข็งรุ่น ฮวาซอง-18 เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม

ผู้นำเกาหลีใต้เยี่ยมชมเรือดำน้ำสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์สหรัฐฯ
ผู้นำเกาหลีใต้กล่าวขณะอยู่บนเรือยูเอสเอส เคนตักกี ว่า การมาถึงของเรือดำน้ำลำนี้แสดงชัดเจนถึงความมุ่งมั่นของเกาหลีใต้และสหรัฐฯ ที่จะประจำการอาวุธยุทธศาสตร์ในเกาหลีใต้ และเสริมความน่าเชื่อถือของระบบป้องปรามที่ขยายกว้างมากขึ้น พร้อมกับประกาศด้วยว่า ทั้งสองประเทศจะตอบสนองต่อภัยคุกคามด้านนิวเคลียร์และขีปนาวุธของเกาหลีเหนืออย่างเด็ดเดี่ยวและหนักหน่วงผ่านคณะที่ปรึกษานิวเคลียร์ และการประจำการของอาวุธยุทธศาสตร์ เช่น เรือดำน้ำประเภท เอสเอสบีเอ็น

ผู้นำเกาหลีใต้เยี่ยมชมเรือดำน้ำสามารถติดหัวรบนิวเคลียร์สหรัฐฯ ประธานาธิบดียุน และประธานาธิบดีโจ ไบเดน ตกลงระหว่างการประชุมสุดยอดร่วมกันที่กรุงวอชิงตันเมื่อเดือนเมษายนว่า จะจัดตั้งคณะที่ปรึกษานิวเคลียร์ (เอ็นซีจี) เพื่อหารือเกี่ยวกับการวางแผนด้านนิวเคลียร์และยุทธศาสตร์ระหว่างชาติพันธมิตร และเสริมความเข้มแข็งให้กับความน่าเชื่อถือของระบบป้องปรามที่ขยายขอบเขตมากขึ้นเพื่อปกป้องเกาหลีใต้ด้วยศักยภาพทางทหารทั้งหมดที่มีของสหรัฐฯ ซึ่งรวมถึง อาวุธนิวเคลียร์

logoline