svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเงิน-การลงทุน

เช็กราคาทองคำสัปดาห์หน้า (22-28 ม.ค.67) จะรุ่งหรือร่วง!

21 มกราคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ราคาทองคำในช่วงต้นปี-ปัจจุบัน  ปรับตัวลงประมาณ 31 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แรงกดดันจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น  หลังจากผู้ว่าเฟด-ประธานเฟดสาขา ส่งสัญญาณลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ลงอย่างระมัดระวัง ส่วนทิศทางทองคำในสัปดาห์หน้าเป็นอย่างไร ตามไปดูกันเลย

นายวรุต รุ่งขำ ผู้อำนวยการฝ่ายวิเคราะห์บริษัท วายแอลจี บูลเลี่ยน แอนด์ ฟิวเจอร์ส จํากัด  เปิดเผยถึงทิศทาง ราคาทอง คำในสัปดาห์หน้ากับ Nation Online ว่า ราคาทองคำช่วงเดือน 2 ม.ค.-19 ม.ค. ปรับตัวลงประมาณ 31 ดอลลาร์ต่อออนซ์   ปัจจัยกดดันมาจากค่าเงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้น  หลังจากผู้ว่าการธนาคารกลางสหรัฐ และ ประธานเฟดสาขา ส่งสัญญาณว่า เฟดมีแนวโน้มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้ลดอย่างระมัดระวังและไม่รวดเร็ว

ทั้งนี้ส่งผลให้ นักลงทุนได้ปรับลดน้ำหนักต่อคาดการณ์ที่ว่าเฟดจะเริ่มปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนมี.ค.นี้

ปัจจัยบวกลบที่ต้องติดตาม

- ธนาคารกลางจีนจะประกาศอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดี (LPR) ประเภท 1 ปีและ 5 ปี ในวันจันทร์ที่ 22 ม.ค.นี้ โดยอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 1 ปีของจีนเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะสั้น

ส่วนอัตราดอกเบี้ย LPR ประเภท 5 ปีเป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระยะยาว เช่น อัตราดอกเบี้ยเงินกู้จำนองหลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนประกาศคงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ระยะ 1 ปี

ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของจีนเอาไว้ ที่ระดับ 2.50% สวนทางกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่าธนาคารกลางจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยดังกล่าวลง 0.10% สู่ระดับ 2.40% เพื่อรับมือกับภาวะเงินฝืดและกระตุ้นการปล่อยกู้เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

 

เช็กราคาทองคำสัปดาห์หน้า (22-28 ม.ค.67) จะรุ่งหรือร่วง!

- การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) นักลงทุนประเมินว่าการเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินในปีนี้มีความเป็นไปได้น้อยลง เมื่อพิจารณาจากคาดการณ์ที่ว่า แบงก์ชาติญี่ปุ่นจะเลี่ยงใช้มาตรการที่ส่งผลต่อดีมานด์ หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 1 ม.ค. ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม นักลงทุน หาสัญญาณชี้นำว่า ธนาคารกลางญี่ปุ่นจะยุติการดำเนินนโยบายดอกเบี้ยติดลบเมื่อใด ซึ่งผลการเจรจาค่าจ้าง ในวันที่ 15 มี.ค. ที่ออกมานั้นถือเป็นหนึ่งในตัวแปรสำคัญที่ผู้เฝ้าติดตามนโยบายของ BOJ  โดยคาดหวังว่าผลการเจรจาประจำปีนี้จะมีการปรับขึ้นค่าจ้างมากกว่าปีที่แล้ว 4% ส่วนใหญ่คาดการณ์ว่า แบงก์ชาติญี่ปุ่นจะรอจนถึงเดือนเม.ยนี้ ก่อนพิจารณาปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย

- การประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางกลางยุโรป (ECB) แม้ว่านักลงทุนคาดว่า ธนาคารกลางยุโรป จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือนเม.ย.นี้ แต่ การหยุดชะงักของห่วงโซ่อุปทานเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงที่นางคริสติน ลาการ์ด ประธานธนาคารกลางยุโรป (ECB) ให้ความสนใจ 

โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้น สอดคล้องกับ นายโรเบิร์ต โฮลซ์แมนน์ สมาชิกคณะกรรมการควบคุมนโยบายของธนาคารกลางยุโรป (ECB) กล่าวในการประชุม World Economic Forum โดยระบุว่า ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ จะส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและตลาดพลังงาน และสร้างแรงกดดันต่อธนาคารกลางยุโรป พร้อมชี้แจงเพิ่มเติมว่า จะไม่มีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในปีนี้

เช็กราคาทองคำสัปดาห์หน้า (22-28 ม.ค.67) จะรุ่งหรือร่วง!

- กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ เปิดเผย ดัชนีราคาการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลพื้นฐาน (Core PCE) เดือน ธ.คทั้งนี้ ดัชนี PCE ถือเป็นมาตรวัดเงินเฟ้อที่สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมของผู้บริโภค และครอบคลุมราคาสินค้าและบริการในวงกว้างมากกว่าดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

ซึ่งการเปิดเผยข้อมูลเงินเฟ้อของสหรัฐฯ ที่ชะลอตัวลงสนับ สนุนการคาดการณ์ของตลาดที่ว่า เฟดอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในเดือนมี.ค.ปีนี้ โดยเป็นปัจจัยหนุนราคาทองคำ (ดัชนี PCE พื้นฐาน (Core PCE)  ไม่นับรวมหมวดอาหารและพลังงาน ปรับตัวขึ้น 3.2% ในเดือนพ.ย. เมื่อเทียบรายปี จากระดับ 3.4% ในเดือนต.ค. และต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 3.3%

สำหระับแนวโน้มทิศทางทองคำเป็นการแกว่งตัวในกรอบแบบ Sideway down  หลังเฟดส่งสัญญาณยังไม่รีบลดดอกเบี้ยแม้เงินเฟ้อชะลอตัว ขณะที่สถานการณ์สงคราม  การโจมตีของกลุ่มกบฏฮูตีในทะเลแดง หากไม่ได้รุนแรงมากขึ้น หรือ อิหร่าน ไม่เข้ามาทำสงครามด้วย อาจไม่ได้หนุนราคาทองคำมากนัก  

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 78.8 ในเดือนม.ค. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนก.ค.2564 และสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ของนักวิเคราะห์ที่ระดับ 70.2 จากระดับ 69.7 ในเดือนธ.ค. ส่งให้ทองคำลงต่อได้

อย่างไรก็ตาม ประเมินแนวต้านแรกที่ 2,032 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนวต้านถัดไปที่ 2,051 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนวต้านสุดท้ายที่  2,070 ดอลลาร์ต่อออนซ์  แนวรับแรกที่ 1,991 ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนวต้านถัดไปที่ 1,972  ดอลลาร์ต่อออนซ์ แนวต้านสุดท้าย 1,953 ดอลลาร์ต่อออนซ์

กลยุทธ์การลงทุน ราคาแกว่งตัวในกรอบแคบ หากราคายังไม่สามารถทรงตัวเหนือแนวต้านได้  แนะนำเปิดสถานะขายทำกำไรระยะสั้น ประเมินแนวต้านโซน  2,032-2,051 ดอล ลาร์ต่อออนซ์  เพื่อรอทยอยปิดสถานะขายทำกำไรหากราคาปรับตัวลงไม่หลุดแนวรับ 2,001-1,991 ดอลลาร์ต่อออนซ์  สถานะขายตัดขาดทุนหากราคาผ่านแนวต้าน 2,051  ดอล  ลาร์ต่อออนซ์
 

 

logoline