svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

‘เศรษฐพุฒิ’ เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง มองเศรษฐกิจปีหน้าไม่แน่นอนสูง

ผู้ว่าแบงก์ชาติเตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง มองเศรษฐกิจปีหน้าความไม่แน่นอนสูง นโยบายการเงินต้องยืดหยุ่น-ทนทาน-มีเสถียรภาพ ย้ำดอกเบี้ยไม่ใช่เครื่องมือเดียวแก้ปัญหาทุกสิ่ง

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ปาฐกถาพิเศษ หัวข้อ “Thailand's Monetary and Financial Policy: Building Resiliency for an Uncertain World” นโยบายการเงินนำประเทศรับมือบริบทโลกใหม่” ว่าในระยะข้างหน้า สิ่งที่ต้องเจอไม่เฉพาะความเสี่ยงหรือ Risk เท่านั้น แต่ยังเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน Uncertain ที่คาดเดาได้ยากมากกว่าความเสี่ยงที่ผ่านๆมา ทำให้การบริหารจัดการความเสี่ยงต่างๆยากกว่าในอดีต ที่สามารถรับมือกับช็อกใหม่ๆที่เกิดขึ้นได้

ภายใต้ความไม่แน่นอนจะเกิดขึ้นในระยะข้างหน้า ไม่ว่าช้า หรือเร็วมองจะเกิดขึ้นอย่างน้อย 2-3 เรื่อง เรื่องแรก การแยกตัวของการค้า (Geoeconomic fragmentation) เพิ่มขึ้น การค้าการเชื่อมโยงเศรษฐกิจจะเห็นการแยกกันมากขึ้นถัดมานโยบายเศรษฐกิจประเทศหลัก

‘เศรษฐพุฒิ’ เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง มองเศรษฐกิจปีหน้าไม่แน่นอนสูง

โดยในช่วงโควิด-19 นโยบายเศรษฐกิจประเทศไปในทิศทางเดียวกันคือ การปรับดอกเบี้ยขึ้น แต่หลังจากหลังโควิด-19 จะเห็นว่านโยบายไปคนละทิศทาง และความเร็ว (Speed) ที่ต่างกัน เพราะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไม่เท่ากันระหว่างประเทศหลัก เช่น สหรัฐ ก็จะเห็นว่าเศรษฐกิจสหรัฐดีกว่าประเทศอื่นๆ กว่าประเทศอื่นๆ แต่คำถามตอนนี้คือนโยบายใหม่จากรัฐบาลใหม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น เหล่านี้ตามมาสู่ความไม่แน่นอนที่จะเพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า

สุดท้ายคือ Markets & pricing of risk จะเห็นว่าหุ้น NVDIA มีมูลค่าถึง 3.5 ล้านดอลลาร์ ซึ่งหุ้นเพียงตัวเดียวมีมูลค่าตลาดมากกว่าตลาดหุ้นในประเทศแคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมัน เป็นต้น ดังนั้น การคำนวณความเสี่ยงของตลาดจะมีมากพอหรือไม่ เป็นเรื่องที่ยังต้องติดตาม เพราะโอกาสที่โลกจะมีความเสี่ยงและความไม่แน่นอนมีมากขึ้น

“ความไม่แน่นอนอย่างที่พูดถึง ตลาดรับรู้ความเสี่ยงความไม่แน่นอนเท่าที่ควรหรือไม่ ก็ยังเป็นคำถาม แต่สำหรับผมเอง มองเห็นความไม่แน่นอนยังไม่ได้ Price in เข้าไปในตลาดเท่าที่ควร”

‘เศรษฐพุฒิ’ เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง มองเศรษฐกิจปีหน้าไม่แน่นอนสูง

หากดูผลข้างเคียงที่มองยังไม่เห็น ที่จะมีผลกระทบต่อไทย เช่น เรื่องการนำเข้าสินค้าจีนที่อยู่ระดับสูง จะเห็นในปี 2563-2564 ในตลาดอาเซียนมีการนำเข้าค่อนข้างสูง ซึ่งเวียดนามเป็นอันดับ 1 และไทยเป็นอันดับ 2 แต่สิ่งที่เห็นคือ การฉีกการเติบโตระหว่างการบริโภค และการผลิต ซึ่งจากเดิมการบริโภค และการผลิตจะขยายตัวใกล้เคียงกัน โดยในปี 2555-2563 จีดีพีการผลิตอยู่ที่ 1.6% และการบริโภคขยายตัว 1.8% โดยค่าเฉลี่ยความสัมพันธ์การผลิตและการบริโภคอยู่ที่ 0.79% และหากดูปัจจุบันในปี 2564-ไตรมาสที่ 3 ปี 2567 จีดีพีการผลิตอยู่ที่ 0.6% และการบริโภคอยู่ที่ 2.1% โดยค่าเฉลี่ยอยู่เพียง 0.05%

ดังนั้น หากยิ่งให้กระตุ้นการบริโภค ตราบใดที่การแข่งขันสินค้าจีนสูงเช่นนี้ สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ ภาคผลิตของเรา อาจจะไม่ได้โตก็ได้ ยิ่งกระตุ้นไป สิ่งที่จะตามมาคือกลายเป็นเรื่องของการนำเข้าสินค้าจีนมากขึ้น เหล่านี้คือตัวอย่างของผลข้างเคียงที่จะมากระทบต่อภาคการผลิตของไทย และกระทบต่อด้านอื่นๆ ด้วย โดยเฉพาะเรื่องของสินเชื่อ

จากสินค้าต่างๆ ที่เข้ามาทำให้ราคาสินค้าต่างๆ ปรับลดลง โดยเฉพาะราคารถมือสองต่างๆ ลดลง ทำให้ความเสี่ยงด้านการปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นทันที เหล่านี้คืออีกตัวอย่างที่มาจากผลข้างเคียง และจะเจอมากขึ้นในระยะข้างหน้า

สำหรับ การดำเนินนโยบาย Resiliency ไม่ใช่แค่เสถียรภาพ (stability) แต่กว้างกว่านั้น ยังรวมไปถึง ความทนทาน ยืดหยุ่น ล้มแล้วลุกเร็ว ปรับตัว แต่ก็หนีไม่พ้นเรื่องของเสถียรภาพ 

“หากดูด้านนโยบายการเงินของธปท. คงไม่ใช่การดำเนินนโยบายใด เป็นนโยบายเดียว เช่นการดำเนินนโยบายการเงิน จากดอกเบี้ย ที่ดอกเบี้ยต้องเล่นหลายบทบาท ต้องดูแลเรื่องเสถียรภาพในประเทศ เสถียรภาพต่างประเทศ ดูแลเจ้าหนี้ลูกหนี้ ดังนั้นการจะให้ดอกเบี้ยอันเดียวตอบโจทย์ตัวของมันเองเป็นไปได้ยาก”

‘เศรษฐพุฒิ’ เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง มองเศรษฐกิจปีหน้าไม่แน่นอนสูง ‘เศรษฐพุฒิ’ เตือน 3 ปัจจัยเสี่ยง มองเศรษฐกิจปีหน้าไม่แน่นอนสูง

ดังนั้น การดำเนินนโยบายการเงินต้องมี Resiliency จึงต้องเสริมนโยบายอื่นๆ เข้ามาด้วย เช่นมาตรการด้านการเงิน การแก้หนี้ มาตรการปรับหนี้เพื่อมาเสริมตรงนี้ และอีกด้านที่ทำมาโดยตลอดคือ การดู Outlook dependent มากกว่า Data dependent ให้สอดคล้องกับโลกที่มีความผันผวนสูง เพราะหากไปพึ่ง Data depend ผลที่ออกมาจะทำให้นโยบายมีความผันผวน ทำให้นโยบายขาดเสถียรภาพ และเกิดความเสี่ยงจากการทำนโยบายตามมาได้ 

แทนที่การทำนโยบายการเงิน จะลดความเสี่ยงในระบบ ลดความไม่แน่นอน จะยิ่งทำให้เกิดความไม่แน่นอนสูงขึ้น เหล่านี้คือสิ่งที่ธปท. ไม่อยากเห็น ดังนั้น นโยบายการเงินต้องยืดหยุ่น และไม่ทำเหมือนบางประเทศ ที่มีการให้ Forward Guidance มากเกินไป เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ถูกต้องและเหมาะสมทำได้ยาก หากเงื่อนไขเปลี่ยนแปลงนโยบายที่เหมาะสมอาจต้องเปลี่ยนไปด้วย ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราไม่อยากเห็น คือการทำนโยบายไปทางหนึ่ง แต่ต้องกลับลำ เหล่านี้ไม่ใช่นโยบายที่เอื้อต่อเศรษฐกิจไทย และไม่ใช่นโยบายที่ Resiliency