svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ผลโพลชี้ ภาคธุรกิจ ปัจจัยลบรอบด้าน ขอรัฐบาลใหม่ตั้งเร็ว เร่งจ่ายงบฟื้นศก.

21 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจภาคธุรกิจ ยังเจอผลกระทบรอบด้านทั้ง เงินเฟ้อ ค่าไฟ ราคาพลังงาน หวังการเลือกตั้งตามแผน ได้รัฐบาลใหม่เร็ว เร่งเบิกจ่ายงบ กระตุ้นเศรษฐกิจ ดันจีดีพีโตเกิน 3%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดี และ ประธานที่ปรึกษา ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย โดยสถาบันยุทธศาสตร์การค้า มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการทั่วประเทศจำนวน 600 ตัวย่าง ช่วงสำรวจ 1-15 มีนาคม  2566  โดยผู้ประกอบการในประเทศ  ยังเห็นว่าจำนวนนักท่องเที่ยวจีนที่เพิ่มสูงขึ้น และมีเม็ดเงินสะพัดในช่วงของการเลือกตั้งจะทำเศรษฐกิจให้ปี 2566 นี้ ยังขยายตัวได้เกิน 3%
 

นายธนวรรธน์ พลวิชัย

แต่ผู้ประกอบการยังกังวลผลกระทบจากหลายด้าน ทั้งจากอัตราเงินเฟ้อ ราคาน้ำมัน ค่าแรง รวมไปถึงการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า และอยากเห็นรัฐบาลใหม่มีเสถียรภาพ และมีนโยบายเศรษฐกิจที่ดี โดยส่วนใหญ่ 76% เป็นธุรกิจขนาดย่อม ทั้งในภาคการบริการ  การค้า อุตสาหกรรม และภาคเกษตร สะท้อนว่า สถานะทางธุรกิจขณะนี้ ยังคงทรงตัว เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว แต่เชื่อในอีก 6 เดือนข้างหน้าจะเริ่มปรับตัวดีขึ้น และกลับมาเป็นปกติในช่วงก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ในช่วงไตรมาสที่ 4 

ผลโพลชี้ ภาคธุรกิจ ปัจจัยลบรอบด้าน ขอรัฐบาลใหม่ตั้งเร็ว  เร่งจ่ายงบฟื้นศก.
 

ประกอบกับภาคการท่องเที่ยวที่ฟื้นตัว จากการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีน และ การเลือกตั้งทำให้เงินสะพัดในระบบเศรษฐกิจมากขึ้น แต่มีความกังวลต่อนโยบายของพรรคการเมืองที่จะมีผลต่อต้นทุนการประกอบธุรกิจ และนโยบายที่อาจ จะไม่ต่อเนื่อง รวมถึงอาจจะเกิดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองได้ 

ผลโพลชี้ ภาคธุรกิจ ปัจจัยลบรอบด้าน ขอรัฐบาลใหม่ตั้งเร็ว  เร่งจ่ายงบฟื้นศก.

นอกจากนี้ ภาคธุรกิจยังคงเจอผลกระทบจากสถานการณ์เงินเฟ้อ ที่มีผลต่อต้นทุน ค่าแรงขั้นต่ำ รวมทั้งการปรับขึ้นค่าไฟฟ้า แม้ปัจจุบันจะชะลอลงอยู่ที่ 5.33 บาทต่อหน่วย แต่มีผลกระทบโดยตรงต่อต้นทุน โดยมองว่าค่าไฟฟ้า ควรอยู่ที่ 3.94 บาทต่อหน่วย และการปรับขึ้นของราคาน้ำมันดีเซล ซึ่งหากปรับตัวสูงขึ้นอีก จะไม่สามารถแบกรับภาระต้นทุนได้ และจำเป็นจะต้องปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งภาครัฐ ควรดูแลราคาไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร 

ผลโพลชี้ ภาคธุรกิจ ปัจจัยลบรอบด้าน ขอรัฐบาลใหม่ตั้งเร็ว  เร่งจ่ายงบฟื้นศก.


ดังนั้น จึงประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2566 จะฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 4 อยู่ในกรอบ 3.35-3.82% หรือ เฉลี่ย 3.42% พร้อมขอให้ภาครัฐ ออกมาตรการบรรเทาผลกระทบโดยเฉพาะการดูแลต้นทุนของภาคเอกชนให้เหมาะสม และเร่งเบิกจ่ายงบประมาณอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะในช่วงที่มีรัฐบาลรักษาการ  รวมทั้งส่งเสริมการท่องเที่ยวจากต่างประเทศ และในประเทศให้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีความไม่แน่นอน

 

ทั้งนี้เชื่อว่าเศรษฐกิจไทย จะฟื้นตัวตั้งแต่ครึ่งปีหลัง และเด่นชัดในไตรมาสที่ 4 หากการเลือกตั้งเป็นไปตามกำหนด รัฐบาลมีเสถียรภาพ และมีนโยบายเศรษฐกิจที่ดี โดยการแข่งขันที่รุนแรงของการเลือกตั้งในครั้งนี้ จะส่งผลให้การรณรงค์หาเสียงเข้มข้น มีวงเงินสะพัดในช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม ประมาณ 1 – 1 แสน 2 หมื่นล้านบาท ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 2 โตได้ 3-4% ก่อนจะได้รัฐบาลใหม่ในช่วงเดือนสิงหาคม ซึ่งผลทำให้เศรษฐกิจในภาพรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้น 0.5-0.7%
 

"ส่วนความกังวลในช่วงสูญญากาศทางการเมือง ในช่วงไตรมาสที่ 3 หลังจากการยุบสภานั้น ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาล จะจัดตั้งเมื่อไหร่ เพราะหากทันในช่วงเดือนสิงหาคม จะมีงบผูกพันในปีงบประมาณ 2567 ที่จะต้องเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาฯ ให้เกิดความต่อเนื่อง รวมทั้งหากการเมืองไม่มีความขัดแย้ง เศรษฐกิจไทย ยังสามารถขยายตัวได้ 3-4% เป็นต้น" นายธนวรรธน์ กล่าว 

 

 

 

logoline