svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ผงะคนวัยทำงานอายุ 25-29 ปีก่อหนี้เกินตัว

14 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธปท.เผยโควิดหนุนสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีพุ่ง หวั่นยืดเยื้อยาวนานฉุดรั้งเศรษฐกิจระยะยาว ผงะคนวัยเริ่มทำงานสัดส่วน 58% เป็นหนี้  มีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนสูงถึง 10-25 เท่าของรายได้ในแต่ละเดือน

 

นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หลังจากเกิดโควิดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีสูงถึง 90.1% จากปี 62 อยู่ที่ 79.9% และปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่ 86.6% ซึ่งธปท.ไม่อยากให้หนี้ไม่เกิน 80% เพราะไม่เช่นนั้นจะฉุดรั้งเศรษฐกิจระยะยาว  ซึ่งปัญหาหนี้ครัวเรือนเป็นปัญหาโครงสร้างต้องใช้เวลาในการแก้ไขปัญหา ถ้าไม่ทำอะไรจะเกิน 80%ไปเรื่อย ๆ จนถึงปี 70  และเห็นว่าการแก้ปัญหาไม่ใช่จะปรับโครงสร้างหนี้อย่างเดียว แต่ต้องทำอย่างไรให้ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เพื่อสามารถชำระหนี้ได้  

นอกจากนี้พบว่าการเป็นหนี้ของคนไทยที่ทำให้เป็นหนี้สะสมเกิดจาก  8 ปัจจัยหลักคือ 1.เป็นหนี้เร็ว โดยคนวัยเริ่มทำงาน (อายุ 25-29 ปี) มากกว่า 58% เป็นหนี้ และ มากกว่า 25% เป็นหนี้เสีย (NPL) 2. เป็นหนี้เกินตัว  โดยกู้เงินมาตลอดตั้งแต่เริ่มทำงานแรก ๆ เพื่อช่วยเหลือครอบครัวและใช้จ่ายส่วนตัว แต่เมื่อยอดหนี้สูงมาก ๆ ภาระที่ต้องจ่ายต่อเดือนก็สูงตาม จนสุดท้ายถูกหักหนี้จากเงินเดือนจนแทบไม่เหลือใช้  เกือบ 30% ของลูกหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคล มีหนี้เกิน 4 บัญชีต่อคน วงเงินรวมต่อคนสูงถึง 10-25 เท่าของรายได้ในแต่ละเดือน จนทำให้รายได้เกินกว่าครึ่งต้องเอาไปจ่ายคืนหนี้

3.  เป็นหนี้โดยไม่ได้ข้อมูลที่ครบถ้วนหรือถูกต้อง 4.เป็นหนี้เพราะมีเหตุจำเป็น  โดยกว่า 62% ของครัวเรือนไทยมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินไม่เพียงพอ และหากเกิดเหตุที่ทำให้รายได้ลดลง 20% จะมีครัวเรือนเกินครึ่งที่มีเงินไม่พอจ่ายหนี้

 5. เป็นหนี้นาน  มากกว่า 1 ใน 4 ของคนอายุเกิน 60 ปี ยังมีภาระหนี้ที่ต้องผ่อนชำระ โดยมีหนี้เฉลี่ยสูงกว่า 415,000 บาทต่อคน รวมทั้งลูกหนี้มักผ่อนจ่ายขั้นต่ำ (เกือบ 40%) 6. หนี้เสีย ลูกหนี้ 10 ล้านบัญชีที่เป็นหนี้เสีย เกือบครึ่งหรือ 4.5 ล้านบัญชี เพิ่งเป็นหนี้เสียในช่วงโควิด-19

 7.เป็นหนี้ไม่จบไม่สิ้น เกือบ 20% ของบัญชีหนี้เสียถูกยื่นฟ้อง โดย 1 ใน 3 ของลูกหนี้ในคดีที่จบด้วยการยึดทรัพย์มาขายทอดตลาดแล้ว ก็ยังปิดหนี้ไม่ได้ 8. หนี้นอกระบบ 42% ของกว่า 4,600 ครัวเรือนที่สุ่มตัวอย่างจากทั่วทุกภูมิภาค มีหนี้นอกระบบเฉลี่ยคนละ 54,300 บาท

ขณะเดียวกันเห็นว่าหนี้ที่ต้องเร่งแก้ไขคือ หนี้เสียที่เกิดขึ้นในช่วงโควิดส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคล และหนี้ในภาคเกษตร จำนวน 4.5 ล้านบัญชี เกิดจากธนาคารเฉพาะกิจ 70%  นอนแบงก์  20% และ แบงก์ 10% 

หนี้ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง ยังไม่เป็นหนี้เสีย แต่ปิดจบไม่ได้ เช่น กู้หนี้ใหม่ไปจ่ายหนี้เก่า จ่ายขั้นต่ำหนี้บัตรกดเงินสด กู้สหกรณ์เพิ่มตามเงินเดือนที่เพิ่มจนเกษียณ หนี้เกษตรกรที่ชำระดอกเบี้ยเป็นหลักหนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นเร็วและอาจเป็น หนี้เสียหรือเรื้อรังในอนาคต ได้แก่ หนี้ภาคเกษตร และหนี้บัตรเครดิตและหนี้ส่วนบุคคล หนี้ที่ยังไม่รวมในตัวเลขหนี้ครัวเรือน แต่มีปัญหา/อาจเกิดปัญหาในอนาคต เช่น หนี้ กยศ. และสินเชื่อสหกรณ์อื่น (7 แสนล้านบาท หรือ 4.3% ของ GDP) รวมทั้งหนี้นอกระบบ

น.ส.สุวรรณี เจษฎาศักดิ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่า แนวทางแก้ปัญหาแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือน ต้องทำอย่างครบวงจรให้เหมาะกับลักษณะและสาเหตุุของปัญหาในแต่่ละช่วงของการเป็นหนี้ และต้องทำอย่างถูกหลักการ คือ แก้ให้ตรงจุด ไม่สร้างภาระเพิ่มให้ลูกหนี้ ไม่ลดโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ และตั้งใจจริง ซึ่งทุกภาคส่วนต้องร่วมมือกัน ทั้งเจ้าหนี้ ลูกหนี้ และภาครัฐ โดยมีแนวทางการดาเนินการสาหรับลูกหนี้กลุ่มที่ต้องเร่งแก้ไข ดังนี้

1. หนี้เสียที่มีอยู่ในปัจจุบัน : เร่งรัดการปรับโครงสร้างหนี้ตามมาตรการแก้หนี้ระยะยาว การกำหนดให้เจ้าหนี้ต้องมีบริการให้คำปรึกษาแก้หนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของลูกหนี้ การสร้างตัวช่วยลูกหนี้ โดยให้มีคนกลางทำหน้าที่ให้คาแนะนาด้านการแก้หนี้และไกล่เกลี่ยหนี้ และการผลักดันให้มีกฎหมายที่ช่วยให้ลูกหนี้รายย่อยทั่วไปที่ไปต่อไม่ไหวได้เข้ากระบวนการฟื้นฟูหรือขอล้มละลาย ได้ด้วยตนเอง

 

2. หนี้ที่เป็นปัญหาเรื้อรัง : ให้ลูกหนี้เห็นทางปิดจบหนี้ได้ โดยจะผลักดันให้มีแนวทางแก้ไขปัญหา เริ่มจากหนี้บัตรกดเงินสดที่เป็นหนี้เรื้อรังของลูกหนี้กลุ่มเปราะบาง มีอายุมากและมีปัญหา ทางการเงินรุนแรงก่อน

3. หนี้ใหม่ที่เพิ่มขึ้นเร็วและอาจเป็นหนี้เสียหรือเรื้อรังในอนาคต : ธปท. จะออกเกณฑ์เพื่อให้เจ้าหนี้ปล่อยสินเชื่อด้วยความรับผิดชอบ (responsible lending) และกาหนดให้เจ้าหนี้ปล่อยสินเชื่อโดยคานึงถึงความสามารถในการจ่ายหนี้คืนและลูกหนี้ยังมีเงินเหลือพอดารงชีพ (macroprudential policy) รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้เจ้าหนี้สินเชื่อรายย่อยคิดอัตราดอกเบี้ยตามความเสี่ยงของลูกหนี้แต่ละราย (risk-based pricing) พร้อมผลักดันให้เจ้าหนี้อื่นเห็นพฤติกรรมดีของลูกหนี้ เพื่อกระตุ้นการรีไฟแนนซ์หนี้ไปยังดอกเบี้ยที่ถูกลง

4. หนี้ที่ยังไม่อยู่ในตัวเลขหนี้ครัวเรือน อาทิ หนี้ กยศ. สินเชื่อสหกรณ์อื่น และหนี้นอกระบบ : จะมีการติดตามข้อมูลให้ครอบคลุมลูกหนี้ต่าง ๆ มากขึ้น และผลักดันให้มีการใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลต่าง ๆ ในการประเมินและติดตามสินเชื่อ อาทิ ข้อมูลพฤติกรรมการจ่ายเงิน เพื่อให้ลูกหนี้เข้าถึงสินเชื่อในระบบมากขึ้นและด้วยต้นทุนการกู้ยืมที่ตรงตามความเสี่ยงของตน

ทั้งนี้ ธปท. จะเร่งผลักดันการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างยั่งยืนตามแนวทางที่วางไว้ ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้บังคับใช้ได้จริงเหมาะสมกับปัญหาของลูกหนี้แต่ละกลุ่ม สอดคล้องกับสถานการณ์เศรษฐกิจการเงิน และสามารถดูแลหนี้ครัวเรือนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อช่วยให้ภาคครัวเรือนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ลดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจและเสถียรภาพการเงินในระยะยาว และภาคการเงินมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง พร้อมรองรับการพัฒนาด้านดิจิทัลและการปรับตัวไปสู่ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมได้

ขณะเดียวกันจะเปิดทางให้เจ้าหนี้เสนอโมเดลการปล่อยสินเชื่อคำนวณอัตราดอกเบี้ยผันแปรตามความเสี่ยงของลูกหนี้  โดยมีความเสี่ยงสูงจ่ายดอกเบี้ยสูง คนที่มีความเสี่ยงต่ำจ่ายดอกเบี้ยต่ำ โดยเรื่องนี้จะต้องมีการหารือในรายละเอียดกับกระทรวงการคลังอีกครั้ง  คาดว่าจะนำมาใช้ในไตรมาส 2 ปีนี้

logoline