svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ทำลายเพิ่ม “เนื้อหมูเถื่อน” ลักลอบนำเข้าข้ามโขง

22 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ด่านกักกันสัตว์อุบลราชธานี ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารเรือ ดำเนินการฝังกลบ ชิ้นส่วนเนื้อหมูเถื่อน ลักลอบนำเข้า บริเวณชายแดนไทย-ลาว ริมฝั่งน้ำโขง ปริมาณ 4,400 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่า 1.1 ล้านบาท ป้องกันการแพร่ระเบาดของเชื้อโรคสู่ผู้บริโภค

ด่านกักกันสัตว์อุบลราชธานี ร่วมกับ เจ้าหน้าที่ทหารเรือ จากหน่วยเรือรักษาความสงบเรียบร้อย ตามลำแม่น้ำโขง เขตอุบลราชธานี และ ฝ่ายความมั่นคง ดำเนินการฝังกลบซากสุกรแช่แข็ง 4,400 กิโลกรัมมูลค่า 1,100,000 บาท  ที่ดำเนินการจับกุมได้ เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 บริเวณชายแดนไทย-ลาวริมฝั่งแม่น้ำโขง

ทางทิศเหนือบ้านคันพะลาน อ.นาตาล จ.อุบลราชธานี โดยเป็นซากสัตว์ที่ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักร เป็นความผิดมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 และเป็นความผิดมาตรา 242 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560 ด้วย

ฝังกลบ หมูลักลอบนำเข้า 4,400 กิโลกรัม

โดยผู้ต้องหา ให้การรับสารภาพว่า รับขนส่งซากสุกรแช่แข็งดังกล่าวไปส่งห้องเย็นชื่อดังแห่งหนึ่งที่จังหวัดกาฬสินธุ์  ด่านกักกันสัตว์อุบลราชธานี ในฐานะสัตวแพทย์ตามกฎหมาย ว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ ได้ทำการตรวจสอบซากสัตว์ดังกล่าว พบว่าไม่มีเอกสารหลักฐานใดๆ ที่รับรองสุขศาสตร์ซากสัตว์ จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ทำลายเพิ่ม “เนื้อหมูเถื่อน” ลักลอบนำเข้าข้ามโขง

ทำให้มีความเสี่ยง ต่อการนำเชื้อโรคระบาดสัตว์ เข้ามาในพื้นที่ และ ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการทำลายซากสัตว์ของกลางดังกล่าวโดยวิธีการฝังกลบ และ ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย ในวันที่ 21 มกราคม 2566 บริเวณบ่อทิ้งขยะเทศบาลตำบลตระการพืชผล อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี

ทำลายเพิ่ม “เนื้อหมูเถื่อน” ลักลอบนำเข้าข้ามโขง

ในการนี้กรมปศุสัตว์ ได้ดำเนินการตามที่รัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้gข้มงวดกวดขันการลักลอบนำเข้าซากสุกรอย่างผิดกฎหมาย เพื่อเป็นการปกป้องผู้บริโภค และ เกษตรกร เนื่องจากชิ้นส่วนเครื่องใน และ เนื้อสุกรที่ลักลอบนำเข้าโดยไม่ผ่านการตรวจสอบ อาจมีเชื้อโรคระบาดต่อสัตว์ และไ ม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมถึงทำลายกลไกราคาสุกรภายในประเทศ สร้างความเสียหายต่อ ระบบการเลี้ยงสุกร ของประเทศไทยอย่างมหาศาล

สำหรับวิธีการฝังทำลาย ชิ้นส่วนเครื่องใน และ เนื้อสุกร ของกลางเป็นไปตามมาตรฐาน ขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (World Organization for Animal Health หรือ WOAH) ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสม ในการทำลายซาก และ ของเสียจากสัตว์ปริมาณมากที่สามารถทำได้ง่าย ประหยัดค่าใช้จ่าย มีประสิทธิภาพในการป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรค และ ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม   

ทำลายเพิ่ม “เนื้อหมูเถื่อน” ลักลอบนำเข้าข้ามโขง      

 ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการแจ้งเบาะแสหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถแจ้งได้ที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225-6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

 

logoline