svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ

25 เมษายน 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เดินหน้าพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพโดยกลุ่มคนในอาชีพ และการให้การรับรองสมรรถนะเพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด รวมถึงเป็นศูนย์ข้อมูลเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนของประเทศ

สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) หรือ สคช. เป็นหน่วยงานภาครัฐ ภายใต้การกำกับของนายกรัฐมนตรีมีหน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพโดยกลุ่มคนในอาชีพ และการให้การรับรองสมรรถนะเพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด เป็นการสร้างโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามแนวทางที่เป็นสากล รวมถึงเป็นศูนย์กลางเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนของประเทศด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมต่อการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ

แรงงานไทยหลุดนอกระบบการศึกษา
    
ทั้งนี้ สคช. ได้พูดถึงประเด็นแรงงานไทยที่หลุดออกจากนอกระบบการศึกษา ในช่วงอายุ 15-18 ปี ซึ่งไม่ได้เรียนหนังสือแต่ได้ออกไปทำงาน ถึงกระนั้นยังอยู่ภายใต้การคุ้มครองแรงงาน เนื่องจากในการทางกฎหมายถือว่าเป็นเยาวชนที่ยังไม่สามารถออกไปทำงานเหมือนเช่นคนปกติทั่วไป รวมถึงผู้ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปจนถึง 30 ปี ที่ไม่ได้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือสำเร็จการศึกษาในขั้นต่ำ ควรจะทำอย่างไร โดยกลุ่มหลังนี้ สคช.สามารถผลักดันให้เข้าสู่สถานประกอบการได้เลย โดยให้สถานประกอบการมีบทบาทในการช่วยรับรองสมรรถนะของคนกลุ่มนี้ ซึ่งเป็นสถานที่ฝึกงานในกรณีผู้ที่ยังไม่ทักษะในการทำงานนั้น ๆ อาจจะไม่ได้รับค่าจ้างหรือได้ค่าจ้างขั้นต่ำ ทั้งนี้ในสถานประกอบการส่วนใหญ่จะมีสถานที่ฝึกอบรมและปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ถ้าหลักสูตรอยู่ในเครือข่าย สคช. ย่อมเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างแน่นอน แรงงานที่ตลาดต้องการ อาทิ ยานยนต์สมัยใหม่ และ Food Safety เพราะฉะนั้นเมื่อเขาได้ผ่านการอบรมและปฏิบัติงานตามหลักสูตรที่ได้มาตรฐานผ่านการรับรองจาก สคช.แล้ว  ท้ายที่สุดลูกจ้างของสถานประกอบนั้นจะได้รับหนังสือรับรองหลักสูตรสมรรถนะหรือ การรับรองแบบเต็มรูปแบบ ถือเป็นการได้คุณวุฒิวิชาชีพ 

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ

เด็กสมัยใหม่อยากทำงานมากกว่าเรียน

นอกจาก สคช. ยังระบุด้วยว่า เด็กสมัยใหม่ไม่อยากเรียนหนังสือ แต่อยากที่จะทำงานมากกว่า โดยกลุ่มเด็กที่ไปทำงานอยู่ในสถานประกอบการ ๆ สามารถช่วยให้เขามีงานทำได้  แต่จะมีอีกกลุ่มหนึ่งที่ไม่มีนายจ้าง ซึ่งเป็นกลุ่มที่ใหญ่มาก คือเป็นเด็กที่อยากทำงานเอง  ส่วนมากจะไปทำงาน อาทิ ขายของออนไลน์,ไรเดอร์,ขับแกรบ หรือ ตัดเย็บเสื้อผ้าของตัวเอง เนื่องจากเป็นงานหรืออาชีพอิสระ โดยเรื่องนี้ สคช.มีวิธีหนึ่งที่ช่วยเด็ก ๆ เหล่านี้ โดยให้มาเรียนรู้หลักสูตรใดหลักสูตรหนึ่ง หรือการรับรองทักษะหนึ่งในกลุ่มอาชีพที่เป็นที่นิยมมากคือ เรื่อง อีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) คือการค้าขายทางออนไลน์ สคช.มีเครื่องมือที่ให้เด็ก ๆ หรือคนทำงานได้เข้ามาดูว่า ตัวเองผ่าน E-Training หรือ กระบวนการฝึกอบรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของ สคช. หรือไม่
     
สำหรับเรื่องสมรรถนะของคนทำงาน ไม่จำเป็นต้องไปเรียน ปวช. 3 ปี หรือ ปวส 2 ปี หรือ ปริญญาตรี 4 ปี แล้วจะทำงานได้ จริง ๆ คือเรารอค่าการศึกษาให้นักเรียน ๆ นานไม่ได้แล้ว นายจ้างต้องช้อนคนที่อยากจะมีงานทำกลับเข้ามาในตลาดแรง แล้วเราต้องให้โอกาสเขาทำงานได้  แต่สถานประกอบการบางแห่ง เมื่อลูกจ้างลาออกจากที่ทำงาน แล้วนายจ้างออกใบรับรองให้รับรองให้ ปรากฏว่าเป็นใบรับรองที่ม่าได้มาตรฐานเหมือนใบรับรองสมรรถนะ สคช. ที่จะติดตัวเขาไปตลอดชีวิต โดยในหนังสือรับรองจะระบุชัดเจนว่า ทำอะไรได้บ้าง เวลาไปสมัครที่อื่น นายจ้างใหม่เห็นหนังสือรับรองมาจากหน่วยงานที่เป็นระดับประเทศ  เขาค่อนข้างจะมั่นใจว่า รับเข้าในสถานประกอบการแล้ว สามารถทำได้แน่ ไม่เสียเวลากับคน ๆ นั้น ไม่ใช่ประเภทครูพักลักจำ ต้องมีความเป็นมืออาชีพจริง ๆ

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ
    
ตอบโจทย์แรงงานรุ่นใหม่
    
เมื่อโลกเปลี่ยนไป สมรรถนะต่าง ๆ ก็เปลี่ยนไปด้วย สคช. พยายามปรับเครื่องมือเครื่องไม้ที่สามารถตอบโจทย์แรงงานรุ่นใหม่ให้ได้มากที่สุด แรงานมีเป็นพันอาชีพ อาชีพที่ค่อนข้างยาก อาทิ พลังงานทดแทน เช่น ติดตั้งโซลาเซลล์,ไอซีที โปรแกรมเมอร์ นอกจากนี้ยังมีอาชีพกลุ่มทั่วไป ในภาคบริการ กลุ่มโรงแรม,ค้าขาย,ธุรกิจค้าปลีก,ขายกาแฟ,แม่บ้าน ในภาคการเกษตร สมาร์ท ฟาร์มเมอร์ (smart farmer) หรือเกษตรอัจฉริยะ,เก็บทุเรียน,กรีดยางพารา,ปลูกข้าว,ปลูกอ้อย  ซึ่งในแต่ละอาชีพ ก็จะต้องมีความรู้ความสามารถว่าทำอะไรบ้าง  มีวิธีการทำงานอย่างไร ซึ่งจะเป็นสมรรถนะของอาชีพนั้น ๆ ที่มีความแตกต่างกันออกไป

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ      


สคช.จะมีกรอบทางวิชาการที่จะดึงหรือถอดสมรรถนะในแต่ละอาชีพได้อย่างไร โดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละอาชีพต้องมาบอก สคช.  แล้ว สคช.ลงมือทำในแง่วิชาการ ซึ่งการเป็นมาตรฐานอาชีพในแบบฉบับ สคช. นั้นต้องมีคณะทำงานมานั่งคุยร่วมกันว่า มาตรฐานแต่ละอาชีพควรเป็นอย่างไร เช่น ในระดับช่างติดตั้งโซล่าเซลล์ต้องทำอะไรได้บ้าง หรือในระดับที่สูงหน่อยเป็นผู้ควบคุม ก็จะต้องมีความรู้เหนือกว่าช่างติดตั้ง  เรื่องราวเหล่านี้ เราต้องมานั่งคุยกัน เพื่อตกผลึกความคิด จึงจะถอดออกมาเป็นสมรรถนะ แล้วเอาสมรรถอันนี้ไปรับรอง เรียกว่า ไปทดสอบคนว่ามีสมรรถนะตามนั้นจริงหรือไม่ ด้วยระบบของ สคช. ในขณะนี้ สคช. กำลังดูแลเรื่องสมรรถนะอาชีพ เกือบ 600 อาชีพ เป็นอาชีพที่มีหลากหลายไม่ใช่เพียงแค่ในประเทศไทยเท่านั้น มีดูแลแรงงานไทยในในต่างประเทศด้วย 

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ
    
นายจ้างมั่นใจใบรับรอง สคช.
     
เป็นคำถามที่มักถามกันบ่อยว่า “นายจ้างจะได้ประโยชน์อย่างไรจากผู้ที่มีใบรับรองสมรรถนะของ สคช.?”  ตอบได้ว่า หากนายจ้างารับลูกจ้างที่มีใบรับรองสมรรถนะเข้าไปทำงานแล้ว จะมั่นใจได้ว่า ลูกจ้างคนนั้นสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐระดับประเทศอย่าง สคช.การันตีมาให้แล้ว ลูกจ้างรู้ตัวเองว่า เขามีสมรรถนะแค่นี่ เค้าสมควรได้ค่าตอบแทนเท่าไหร่ ไม่ถูกกดขี่อย่างแน่นอน แล้วนายจ้างเองรู้ว่าควรจ่ายแค่ไหน 
     
หากลูกจ้างสมรรถนะอยู่ในระดับ 3 จะไประดับ 4 ได้อย่างไร จะมีสมรรถนะที่สูงขึ้นได้อย่างไร เรื่องนี้คือกลไกการพัฒนาตัวเขาเอง สิ่งที่กล่าวมาไม่ได้มีกฎหมายบังคับว่า ถ้าคุณได้ระดับหรือเลเวล 4 มา คุณควรจะได้เงินเดือนเท่านี้ กฎหมายไม่ได้กำหนด แต่เป็นกลไกของการตลาด ฝ่ายบุคคล (HR) จะต้องรู้ว่าถ้าจ้างมาควรจะต้องพิจารณาให้เงินเดือนค่าตอบแทนเท่าไหร่ ระบบที่ได้มาไม่ต้องบังคับ เป็นกลไกที่นำไปสู่นางจ้างสบายใจ ลูกจ้างพอใจ รวมทั้งอาชีพอิสระเขาก็มองเห็นช่องทางที่พัฒนาศักยภาพของตัวเองได้ 
    
ส่วนในต่างประเทศก็สามารถเทียบเคียงได้คือ ระบบที่ทำในต่างประเทศเขาทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว การมีใบสมรรถนะในระดับมืออาชีพ ทุกอาชีพที่ทำอย่างจริงจังนั้นสามารถเป็นมืออาชีพได้ โดยต่างประเทศได้ให้การยอมรับระบบการทำงานของ สคช. มีหลายคนนำไปยื่นประกอบการขอวีซ่า ถือเป็นในเบิกทางช่วยอำนวยความสะดวก เอาใบนี้ผ่านทางขบวนทางกฎหมายได้เลย
    
วิธีการประเมินสมรรถนะ สคช.
    
ปัจจุบันมีคนที่สนใจเข้ามาในระบบประเมินสมรรถนะของ สคช. แต่ผ่านการประเมินประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น แต่ที่เหลืออีก 40 เปอร์เซ็นต์ จะทำอย่างไรให้ผ่าน  คุณต้องย้อนกลับไปดูว่า ขาดตกบกพร่องอะไรไปบ้าง 
    
สำหรับวิธีการประเมินสมรรถนะจาก สคช.นั้น จะมีอยู่ 8 ระดับหรือเลเวล แล้วแต่อาชีพ อาทิ อาชีพ HR โดยเมื่อเริ่มเข้าสู่ระบบการทำงานจริง ๆ จะอยู่ที่ระดับ 3 ขึ้นไป  ซึ่งอาชีพ HR ไม่มีใครเรียนจบมาด้านการเป็นนักทรัพยากรบุคคล แต่จบอย่างอื่นมามีมาก เขาจะรู้ได้อย่างไรเป็น HR ที่เก่ง วัดจากการสอบข้อเขียนและสัมภาษณ์แค่นั้น ในขณะที่ผู้ดูแลคนป่วย ต้องสอบข้อเขียน การสัมภาษณ์ การปฏิบัติ อาทิ พลิกผู้ป่วยพลิกถูกต้องหรือไม่ พลิกแล้วจะตกเตียงหรือเปล่า ต้องปฏิบัติให้คณะกรรมการดู ขึ้นอยู่กับมาตรฐานของอาชีพนั้น ๆ มีการกำหนดและวิธีการประเมินอย่างไร
    
สู่ระบบ Competency Credit Bank 
     
สคช. มีระบบ Competency Credit Bank คือการสั่งสมสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้การฝึกอบรม และการทำงานเพื่อเชื่อมโยงโลกของการทำงานและการเรียนรู้เข้าด้วยกัน สคช.จะทราบว่า คน ๆ นั้น สอบผ่านอะไรมาบ้าง ในทางวิชาการเราจะเรียกว่า สรรมถนะ จะมีหน่วยสมรรถนะกำกับ ไม่มีการเก็บเป็นรายวิชา แต่จะเก็บเป็นหน่วยสรรถนะเข้าระบบ Competency Credit Bank เช่น ผู้ที่ไม่เคยเรียนปริญญาตรี ออกมาทำงานตั้งแต่อายุ 18 ปี แต่จบแค่ ม.3 ปรากฏว่าทำเลเวลขึ้นมาในระดับ 6 ของ สคช. หรือ เป็นเจ้าของอู่ซ้อมรถยนต์  เขาตั้งเป้าไว้ว่า อยากเรียนต่อในระดับปริญญาตรี ถ้าไปเรียนที่ อาทิ คณะบริหารธุรกิจ เขาขอใบประสบการณ์ แล้วนำมาแมทช์กับ Competency Credit Bank  ของ สคช. ได้ ระบบจะบอกว่าถ้าหากไปเรียนมหาวิทยาลัยนี้ เรียนแค่ปี ครึ่งปี โดยที่ไม่ต้องไปเรียนเต็มหลักสูตร 4 ปี เพื่อให้ได้ ปริญญาตรี 

โดยจะทำงานตามระบบที่ สคช. ตั้งไว้  ต้องตกลงกับสถาบันการศึกษานั้น ๆ ได้ว่า ยอมรับซึ่งกันและกันได้ไหม  ซึ่งจะมีมหาวิทยาลัยไหนเปิดใจรับข้อตกลงได้บ้าง ขณะนี้มี 2-3 มหาวิทยาลัยที่ สคช.คุยอยู่ในขณะนี้ ถือว่า เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ที่อยากได้คุณวุฒิการศึกษาคืนกลับมาที่ภาคศึกษาได้ 
    
เริ่มโมเดล มทร.ธัญบุรี
    
ในขณะนี้ทาง สคช. ได้มีโมเดล Competency Credit Bank เกิดขึ้นแล้วที่ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี เริ่มนำร่องปลายปี 2567 นี้ โดยจะได้เห็นภาพที่ชัดเจนซึ่งจะต้องหาคนเข้าไปเรียนในอาชีพที่เขาสนใจ
     
ตอนนี้ช่างทำผมเป็นกรณีศึกษาที่ดีมาก เนื่องจากเขาเห็นว่าเป็นอาชีพอิสระ การที่เขาสนใจให้ สคช.ประเมินสมรรถนะนั้น นับเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะเขาอยากรู้ว่า เขาทำอะไรได้บ้าง เมื่อเขาได้ใบรับรองสมรรถนะจาก สคช. ไปติดที่ร้าน หากช่างผมคนนั้นจบการศึกษาในระดับหนึ่ง เขาก็อยากจะได้ปริญญาตรี หากมีมหาวิทยาลัยในโมเดล Competency Credit Bank   ที่เปิดการเรียนการสอนด้านบริหารจัดการ บริหารธุรกิจ หรือธุรกิจด้านเสริมสวย  เขาไปเรียนต่ออีก 2 ปี เขาก็ได้ปริญญาตรี เรื่องนี้เป็นเคสที่กำลังจะขึ้นอย่างแน่นอน โดยมีหลายมหาวิทยาลัยขอทำความเข้าใจและให้เกิดอย่างเป็นรูปธรรมก่อน แล้วค่อยเข้าร่วมโมเดล กลุ่มมหาวิทยาลัยที่ให้ความสนใจคือ กลุ่ม มทร.  กลุ่ม ม.ราชภัฏ  และ ม.เอกชนที่หลายแห่งกำลังดิ้นรนหาความอยู่รอด เนื่องจากมีจำนวนเด็กเรียนน้อยลง แต่ผู้ใหญ่อยากมาเรียนมากขึ้นที่เขาวิ่งหาอะไรที่สามารถการันตีระดับการศึกษาของเขาได้ และเมื่อมีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมมากขึ้นก็จะดูความพร้อมในการจับคู่หลักสูตรการเรียนกับสถาบันอุดมศึกษา
    
นอกจากนี้ สคช. ยังมีการเทียบโอนด้วยระบบดิจิทัลแพลตฟอร์ม Competency Credit Bank เป็นระบบที่อาจารย์จะต้องมาดูหน่วยการเรียนรู้ที่อาจารย์สอนมีอะไรบ้าง เช่น หากวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ในระดับปริญญาตรี มาตรฐาน Competency ของ สคช. มีอะไรบ้าง นำมาเปรียบเทียบกันแล้วมีอะไรที่ตรงกัน ส่วนที่เหลือค่อยนำไปเรียนต่อ แต่ในภาคการศึกษานั้นเมื่อเรียนสำเร็จการศึกษาในปริญญาตรีมา ใช่ว่าจะมีเลเวลเท่ากับมาตรฐานสมรรถนะอาชีพของ สคช.ส่วนมากเรียนจบปริญญาตรีมาถ้าเทียบเคียงกับ สคช. จะอยู่ระดับ 6 ซึ่งในโลกของความเป็นจริง จบปริญญาตรีมาทำได้ไม่เท่ามาตรฐาน สคช.  อีกทั้งขึ้นอยู่กับสังกัดด้วยว่าอยู่สังกัดไหน บางอย่างอาจต้องไปฝึกเอาประสบการเพิ่มเติมอีกด้วย
    
สำหรับผู้สนใจสามารถติดตามรายละเอียดผ่านเว็บไซต์ แพลตฟอร์มต่าง ๆ อาทิ อินบ๊อกซ์ทางเฟซบุ๊ก,ไลน์ ออฟฟิศเชี่ยล คอลเซ็นเตอร์ หรือหน่วยประเมินของ สคช.ที่มีอยู่กว่า 300 แห่งทั่วประเทศ สนใจอาชีพไหน ถนัดอาชีพอะไร อยากจะรู้ว่าอาชีพที่ทำอยู่ มีสมรรถนะอยู่ในระดับไหน ระบบเจะมีให้ทำ Pre-test / Post-test  จะสอบจริงพร้อมเมื่อไหร่มาสอบได้ จะมีรอบของหน่วยสอบอยู่ ดังนั้นในช่วงระหว่างเตรียมตัวสามารถสอบถาม สคช.มาได้ จะมีสอบอาชีพนี้ ระดับนี้เมื่อไหร่ หน่วยสอบจะมีรอบจัดเอาไว้อยู่ เข้ามาดูได้ก่อนในเว็บไซต์

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ
    
ระบบ E-Coupon สคช.
     
สคช. ได้นำการใช้งานระบบคูปองอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต หรือ E-Coupon ซึ่งเป็นที่จะช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายการฝึกอบรม และเก็บสะสมสมรรถนะที่เกิดจากการเรียนรู้ผ่าน Competency Credit Bank และนำไปสู่การได้รับคุณวุฒิวิชาชีพได้ในอนาคต สำหรับระบบ E-Coupon ถือเป็นหัวใจสำคัญ ในการสร้างแรงจูงใจในการให้กำลังคนมีการพัฒนาตัวเอง ผ่านการฝึกอบรม เพื่อสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยจะต้องมีการลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่ระบบ E-Portfolio ที่เป็นการทำงานภายใต้ E-Workforce Ecosystem Platform (EWE) ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลของแต่ละหน่วยงานให้เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) 
     
โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้คนมีงานทำ นอกจากระบบ E-Coupon และ E-Portfolio ที่สามารถเก็บประวัติ ข้อมูลวุฒิการศึกษา ผลงานประสบการณ์ทำงาน การฝึกอบรมแล้ว ยังมีระบบย่อยอื่นๆ ที่ครอบคลุมการส่งเสริมการมีงานทำในทุกมิติ ประกอบไปด้วย การแนะแนวอาชีพและค้นหาทักษะ (Career Guidance and Skill Check) เพื่อประเมินทักษะและความรู้ของตนเอง เพื่อนำไปสู่การแนะแนวอาชีพที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล ระบบการสั่งสมสมรรถนะการเรียนรู้ (Digital Competency Credit Bank) เกิดจากการเรียนรู้ การฝึกอบรม และการทำงานเพื่อเชื่อมโยงโลกของการทำงานและการเรียนรู้เข้าด้วยกัน ระบบจับคู่งาน (Job Matching) สำหรับคนที่กำลังมองหางานและผู้ประกอบการที่กำลังมองหาคนทำงานได้มาเจอกันทำให้เกิดการจ้างงานในทุกระดับ ผู้ประกอบการได้แรงงานมีคุณภาพ มีทักษะฝีมือตรงตามความต้องการ และการให้บริการข้อมูลด้านกำลังคน (Labour Market Information) ที่สามารถใช้ในการวางแผนนโยบายด้านกำลังคนเพื่อการพัฒนาประเทศในอนาคต
     
ส่วนหลักเกณฑ์การขอรับเงินสนับสนุนการประเมินและการฝึกอบรมผ่านระบบ E-Coupon นั้น สถาบันจากพิจารณาคำขอ ตามขั้นตอน โดยเป็นไปตามข้อบังคับคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒวิชาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีและให้ทุนเพื่อสนับสนุนเป็นค่าธรรมเนียมการประเมินมาตรฐานอาชีพ 2565 และข้อบังคับคณะกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการจัดให้มีและให้ทุน เพื่อสนับสนุนเป็นค่าธรรมเนียมการฝึกอบรม พ.ศ.2567 ซึ่งเปิดกว้างสำหรับองค์กรที่มีหน้าที่รับรองฯ องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการฝึกอบรม 
     
สามารถยื่นขอรับการจัดสรรทุน เพื่อรับ E-Coupon สำหรับการพัฒนาตัวเอง ขณะที่ในส่วนของบุคคล สามารถประสานไปยังองค์กรรับรองฯ ในแต่ละสาขาวิชาชีพ เพื่อติดต่อขอรับ E-Coupon เพื่อการเรียนรู้ได้เช่นกัน ทั้งนี้ คาดว่าระบบ E-Coupon จะสามารถเปิดบริการให้กับประชาชนทั่วไปอย่างเต็มรูปแบบ ภายในเดือนมีนาคมนี้ สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครเข้าสู่การใช้งาน E-Portfolio ภายใต้ EWE Platform เพื่อเตรียมความพร้อมการใช้ E-Coupon ได้ที่ ewe.go.th หรือดาวน์โหลดแอปพลิเคชันผ่าน Apple Store และ Play Store
    
สคช.รองรับกลุ่ม Soft Power 

เมื่อพูดถึง สคช.กับ Soft Power ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยในขณะนี้ทาง คสช.ได้รองรับกลุ่มอาชีพ Soft Power อาทิ ศิลปหัตถกรรม,การทอผ้า,ช่างศิลป์ และช่างสิบหมู่ ซึ่งมีบทบาทสำคัญมาก โดยคนกลุ่มอาชีพนี้ส่วนมากไม่ได้มีการศึกษาสูง แต่ว่ามีทักษะฝีมือดีมาก  ผลิตงานฝีมือชั้นเยี่ยม  อาทิ ขายผ้าแพรวาได้ราคาผืนละเป็นแสนบาท แต่จบแค่ ป.4  เขาอยู่ได้ เป็นความภาคภูมิใจให้กับคนกลุ่มนี้ ทาง สคช.มีมีมาตรฐานอาชีพให้เขา เช่น ระดับครูช่างเท่ากับระดับ 6 และ เท่ากับปริญญาตรี สิ่งที่ สคช.ได้ประเมินเขาแล้ว ๆ เขานำไปอวดลูกอวดหลาน ที่ได้หนังสือรับรองสมรรถนะ และได้วุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรีเท่าลูกหลาน ซึ่งจะเป็นกำลังใจให้เขาทำงานในด้านนี้ต่อไปในอนาคต
    
ทั้งนี้ สคช.ได้มีส่วนส่งเสริมและสนับสนุนให้กับคนกลุ่มนี้ทั้งทางตรงและทางอ้อมให้เขาได้ต่อยอดทางธุรกิจด้วยตัวเขาเองและลูกหลานสามารถมาช่วยได้ ถึงแม้ว่า เขาทอผ้าไม่ได้  เมื่อรู้ว่า สคช. มีการเรียนการสอนแบบนี้ เขาจึงมาเรียนผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำไปต่อยอดธุรกิจให้ครอบครัวได้ หรือบางคนทอผ้าเป็นแต่อยากทำเสื้อผ้าก็มาเรียนด้านการออกแบบเพิ่มเติม โดยคนกลุ่มนี้จบแค่ ปวช. แต่ขายของเก่งมีลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ อยากได้อะไรที่มาการันตีว่า เป็นนักแบบออกแบบแฟชั่นผ้าไทย ที่ออกแบบดีไม่แพ้แบรนด์ดังแบรนด์หรู  แล้วถ้าหากได้หนังสือรับรองสมรรถนะจากทาง สคช. ทำให้เขาสามารถต่อยอดทางธุรกิจไปได้ไกลกว่าที่เป็นอยู่  อาทิ ไปกู้เงินต่อได้จากธนาคารออมสิน ไปต่อยอดธุรกิจ SME 

สคช.เดินหน้าพัฒนากำลังคนยกระดับมาตรฐานอาชีพ
     
พัฒนาคนเก่งเพื่อผลิตงานดี
    
สคช.ยังได้ยกตัวอย่างกรณีการพัฒนาฝีมือคนเพื่อนำสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือสินค้า จากการทำผ้าบาติก ซึ่งเป็นสินค้าที่กำลังได้รับความนิยมอย่างสูงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งสอดคล้องกับโครงการผ้าไทยใส่ให้สนุกของรัฐบาล ผ้าบาติกเป็นอะไรที่ทำง่าย ลวดลายการออกแบบที่หลากหลายมาก ดูดีมีเอกลักษณ์ของผ้าไทยประเภทหนึ่ง เป็นสินค้าที่ส่งเสริมชุนชุมของทาง 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยเฉพาะจังหวัดปัตตานี ทำให้กลุ่มสตรีมุสลิมชาวปัตตานีมีงานทำและมีรายได้
    
ทั้งนี้ทาง สคช.ไม่ได้ลงไปช่วยพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่ช่วยพัฒนาฝีมือคนผ่านการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ แบบไม่ใช่ลูกพักลักจำ ซึ่งมีหนังสือรับรองสมรรถนะ เพื่อนำไปใช้ต่อยอดยอดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป อย่างการนำองค์ความรู้ได้รับไปสร้างมาตรฐานในการออกแบบ พัฒนา และสร้างมูลค่าเพิ่มผ้าบาติก สามารถกำหนดราคาเองได้แบบไม่ต้องคิดนาน จากผืนหลักร้อยเป็นผืนหลักพันบาทได้ สามารถทำให้ชีวิตดีขึ้น เศรษฐกิจชุมชนดีขึ้น อาจนำไปสู่การรวมตัวกันเป็นสหกรณ์ หรือวิสาหกิจชุมชน เพื่อระดมแนวคิดในการพัฒนาได้มากขึ้น 
 

logoline