svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

โลกาวินาศแบบย่อมๆ เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry

15 พฤษภาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แม้การโจมตีจากมัลแวร์ "WannaCry" อยู่ภายใต้การควบคุมในสหรัฐแล้ว หลังระบาดไปยังคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบปฏิบัติการไมโครซอฟต์ทั่วโลกเมื่อวันที่ 12 พ.ค.ที่ผ่านมา โดยส่งผลกระทบต่อคอมพิวเตอร์กว่า 200,000 เครื่องใน 150 ประเทศ ขณะที่มัลแวร์ดังกล่าวจะบล็อกไฟล์เอกสารต่างๆ ในคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ด้วยการเข้ารหัสลับ ซึ่งทำให้ผู้ใช้ไม่สามารถเปิดหรือดาวน์โหลดข้อมูลที่อยู่ในคอมพิวเตอร์ หากไม่ได้ทำการจ่ายเงินค่าไถ่แก่แฮกเกอร์

เหตุการณ์เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับคอมฯมาเรียกค่าไถ่ จับไฟล์เป็นตัวประกัน เริ่มออกอาละวาดหนักจากฝั่งยุโรปตั้งแต่บ่ายวันศุกร์ที่ผ่านมา (หรือศุกร์หัวค่ำๆ เวลาประเทศไทย) ทำให้ระบบคอมของโรงพยาบาลเครือ NHS และหน่วยงานสุขภาพของอังกฤษกับสกอตแลนด์เป็นง่อย จนต้องสั่งให้รถพยาบาลเปลี่ยนเส้นทางไปหาโรงพยาบาลอื่นที่ใกล้เคียงแทน คนไข้ที่ไม่สาหัสก็ถูกขอร้องให้รอก่อน อย่าเพิ่งมาใช้บริการ เจ้าหน้าที่ต้องใช้ปากกากับกระดาษทำงานแทนคอมพิวเตอร์ที่โดนล็อกไฟล์ เรียกว่าเป็นวันโลกาวินาศแบบย่อมๆ ของระบบสุขภาพอังกฤษก็ว่าได้ มัลแวร์ WannaCry คืออะไร ถ้าไม่จ่ายค่าไถ่จะได้มั้ย แล้วจะป้องกันยังไง

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry


ขณะนี้มัลแวร์เรียกค่าไถ่ เรียกได้หลายชื่อ เช่น WannaCry, Wcry, WannaCrypt หรือ WannaCryptor กำลังระบาดหนักทั่วโลก มีคอมพิวเตอร์โดนแฮคเกอร์สายดาร์กโจมตีไปแล้วกว่า 200,000 เครื่องใน 150 ประเทศภายในเวลาเพียง 3 วันเท่านั้น งานนี้หน่วยงานด้านความปลอดภัยของยุโรป (Europol) ถึงกับเหงื่อตก ยอมรับว่าเป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ร้ายแรงแบบไม่เคยเห็นกันมาก่อน โดยโจมตียังผู้ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เช่น Windows XP หรือแม้แต่ Windows7 Windows8 Windows10 ก็ไม่รอด ทำให้มีความเสี่ยงสูงที่จะโดนไวรัสและมัลแวร์ต่างๆ เล่นงาน เพราะผู้ใช้จำนวนมากขาดการอัพเดทระบบความปลอดภัยใหม่ๆ พอมันไปติดที่เครื่องแล้ว ก็จะเริ่มจัดการเข้ารหัสไฟล์ต่างๆในเครื่อง เหมือนจับไฟล์ใส่กล่องล็อกกุญแจไว้ ถ้าเจ้าของเครื่องอยากได้ไฟล์สำคัญคืน ก็ต้องยอมจ่ายค่าไถ่ด้วยสกุลเงิน bitcoin ตามเลขบัญชีที่มันให้มา

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry


มัลแวร์ตัวนี้จัดอยู่ในตระกูลเรียกค่าไถ่ ที่เรียกว่า Ransomware เคยเป็นข่าวเมื่อ 2 ปีก่อน หวังขโมยข้อมูลเรียกค่าไถ่ แตกต่างจาก Virus มักทำลาย Software หรือ Hardware
Malware ไม่มุ่งทำร้ายอย่างเด็ดขาดเหมือน Virus แต่จะเน้นขโมย เฝ้าดูข้อมูลผู้ใช้เพื่อหวังผลประโยชน์ หรือ ก็ทำตัวเป็นไวรัสก็ได้ และมีความเป็นไปได้ว่า มัลแวร์ WannaCry หวังจะปั่นค่าเงิน bitcoin ประกาศสงครามการเงินไซเบอร์ กลุ่มอำนาจขั้วโลกอยากให้เป็นเงินตราใหม่ของโลก เพราะเงินปัจจุบันของมันพิมพ์ออกมาอย่างกะเงินกงเต็ก (ด้อยค่าลงเรื่อยๆ) โดยไม่มีอะไรค้ำประกันแม้ตอนนี้ยังไม่มีรายงานการโจมตีในระบบปฏิบัติการอื่นๆ เช่น Macintosh, Unix, Linux อาจเพราะมันคงไม่คุ้มที่จะทำ

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry


ผลกระทบตั้งแต่โรงงานรถยนต์ในอังกฤษและฝรั่งเศส ศาลบราซิล มหาวิทยาลัยในจีนและอิตาลี ระบบโทรคมนาคมในโปรตุเกสและสเปน กระทรวงต่างประเทศรัสเซีย FedEx ของสหรัฐ ทั้งหมด ส่วนในประเทศไทยพบผู้ติดมัลแวร์ตัวนี้อยู่บ้าง แต่ยังไม่พบการแพร่กระจายในวงกว้างแพร่ระบาดและถูกโจมตีในลักษณะเดียวกัน ผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยเริ่มตระหนักว่าโลกนี้กำลังเผชิญหน้ากับภัยคุกคามทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry

ตอนนี้มันกำลังเริ่มแพร่พันธุ์อย่างต่อเนื่องแล้ว หนทางเดียวที่จะป้องกันตัวเองได้คือ ใครที่ใช้ระบบ Windows ต้องอัพเดทไฟล์แพทช์เพื่ออุดรอยรั่วนี้ หมั่นอัพเดท Windows และโปรแกรม Antivirus ให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ล่าสุดเสมอ เพราะทางไมโครซอฟท์และผู้พัฒนา Antivirus ต่างๆ จะมีการอัพเดทเพื่อป้องกันไวรัสและมัลแวร์ใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ รวมทั้ง WannaCry นี้ด้วยเช่นกัน

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry


น่ากลัวตรงที่ระบบที่มันไปล็อกรอบนี้ มีทั้งระบบการแพทย์ ระบบขนส่ง ระบบโทรคมนาคมที่มีความสำคัญ เพราะทุกหน่วยงานต้องใช้ระบบ Windows ซะเป็นส่วนใหญ่ เลยเดือดร้อนกันไปทุกหย่อมหญ้า
ถึงขนาดจอโฆษณาแอลอีดีขนาดยักษ์ บนอาคารโรงแรมโซฟิเทล โซ แบงคอก ถนนสาทรตัดกับถนนพระราม 4 และถนนวิทยุ ก็ถูกมัลแวร์ตัวนี้เข้ารหัสจนสกรีนเซิร์ฟเวอร์ปรากฎบนจอเช่นกัน ส่วนสถานีโทรทัศน์บลูสกายแชนแนล คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในสำนักงานก็ถูกมัลแวร์ตัวนี้เล่นงาน จนเดี้ยงไปครึ่งสถานี ทีมไอทีแก้ไขทั้งคืน รอไล่ล้างวินโดวส์กันวันต่อวันเมื่อคอมพิวเตอร์ต้นตอเปิดอีเมลที่ไม่รู้จักและเปิดไฟล์แนบ มัลแวร์ตัวนี้ก็จะถูกติดตั้ง จากนั้น หน้าจอจะเปลี่ยนเป็นสีดำ แล้วมีหน้าจอป๊อบอัพสีแดงขึ้นว่า "Ooops, your files have been encypted!" โดยข้อมูลทั้งเอกสาร รูปภาพ วีดีโอ ฐานข้อมูล และไฟล์อื่นๆ จะเปิดไม่ได้ เพราถูกมัลแวร์ตัวนี้ล็อกเอาไว้ แล้วบังคับให้จ่ายเงินเป็นสกุลบิตคอยน์ ประมาณ 300 เหรียญสหรัฐฯ (10,402 บาท) ภายใน 3 วันหากไม่จ่ายภายใน 3 วัน ระบบจะคิดค่าไถ่เพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว และถ้าไม่จ่ายภายใน 7 วัน ไฟล์ที่มีอยู่ในเครื่องทั้งหมดก็จะถูกลบทิ้งที่น่าเป็นห่วงก็คือ หากคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในสำนักงาน เชื่อมต่อผ่านเครือข่าย เช่น LANเครื่องที่ถูกมัลแวร์มันจะแพร่กระจายไปยังเครื่องอื่นในเครือข่าย แบบหนอนไวรัส เผื่อแผ่ความเดือดร้อนไปยังผู้อื่น รวมทั้งหากเราเก็บไฟล์ไว้บนระบบคลาวด์อย่าง Google Drive หรือ Skydrive แล้วเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ก็จะโดนเข้ารหัสในคอมพิวเตอร์ แล้วก็เชื่อมต่อ (Sync) ไปทับโดนเข้ารหัสในระบบคลาวด์ด้วย
ที่ผ่านมา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ประชาสัมพันธ์ว่า ให้ป้องกันการติดมัลแวร์ โดยไม่เปิดเอกสารแนบอีเมลโดยไม่จำเป็นหากจำเป็นต้องเปิดเอกสารแนบอีเมล ควรตรวจสอบกับผู้ส่งก่อนว่าได้ส่งอีเมลฉบับนั้นมาจริง ที่สำคัญ ถ้ามีอุปกรณ์เก็บข้อมูลภายนอก เช่น แฟลชไดร์ฟ ฮาร์ดดิสก์ ออกจากคอมพิวเตอร์โดยเร็วที่สุด หากนำกลับมาใช้งานต้องตรวจสอบก่อน และให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ IT ของหน่วยงานท่านในทันที

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry


ข้อแนะนำในการป้องกันและแก้ไข
1. สำรองข้อมูลบนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานอย่างสม่ำเสมอ และหากเป็นไปได้ให้เก็บข้อมูลที่ทำการสำรองไว้ในอุปกรณ์ที่ไม่มีการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายอื่นๆ
2. ติดตั้ง/อัปเดตระบบปฎิบัติการให้เป็นรุ่นล่าสุด รวมถึงโปรแกรมป้องกันไวรัส และโปรแกรมอื่นๆ โดยเฉพาะโปรแกรมที่มักมีปัญหาเรื่องช่องโหว่อยู่บ่อย ๆ เช่น Java และ Adobe Reader
3. ปิดการใช้งาน SMBv1 หรือในกรณีที่จำเป็นต้องมีการใช้ SMBv1 ให้ติดตั้งSecurity Update MS17-010 จาก Microsoft (https://technet.microsoft.com/en-us/library/security/ms17-010.aspx) เพื่อแก้ไขช่องโหว่ SMBv1
4. ทำการบล็อก และเฝ้าระวังการเชื่อมต่อจากเครือข่ายผู้ใช้งานภายนอกกับบริการSMB (Port 137/TCP 138/TCP 139/TCP 445/TCP)
5. หากมีการแชร์ข้อมูลร่วมกันผ่านระบบเครือข่าย ให้ตรวจสอบสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลแต่ละส่วน และกำหนดสิทธิ์ให้ผู้ใช้มีสิทธิ์อ่านหรือแก้ไขเฉพาะไฟล์ที่มีความจำเป็นต้องใช้สิทธิเหล่านั้น
6. ไม่คลิกลิงก์หรือเปิดไฟล์ที่มาพร้อมกับอีเมลที่น่าสงสัย หากไม่มั่นใจว่าเป็นอีเมลที่น่าเชื่อถือหรือไม่ ให้สอบถามจากผู้ส่งโดยตรง
7. ปัจจุบันสำหรับมัลแวร์ WannaCry 2.0 นี้ยังไม่มีวิธีการแก้ไขให้สามารถกลับมาใช้งานไฟล์ได้ โดยหากพบว่าตนเองได้ติดมัลแวร์ WannaCry ซึ่งเป็นเวอร์ชันก่อนหน้า (เวอร์ชัน 1.0) สามารถดำเนินการตามขั้นตอนในคลิปวีดีโอ https://www.youtube.com/watch?v=wg44hFvsqyE เพื่อดำเนินการถอนการติดตั้งมัลแวร์ และกู้คืนไฟล์ผ่านฟังก์ชันการทำงาน Shadow Volumn Copies ซึ่งสามารถศึกษาได้จากบทความ https://www.thaicert.or.th/papers/general/2015/pa2015ge002.html หัวข้อ "การกู้คืนข้อมูลด้วย Shadow Volume Copies"
8. หากพบเหตุต้องสงสัยหรือต้องการคำแนะนำเพิ่มเติมในกรณีนี้ สามารถประสานกับไทยเซิร์ตได้ทางอีเมล [email protected] หรือโทรศัพท์ 0-2123-1212

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry

มีรายงานว่ามูลค่าที่เพิ่มขึ้นสูงมากของ bitcoinในช่วงนี้ยิ่งปลุกมูลค่ารวมของ "เงินดิจิตอล"ขึ้นไปสู่ระดับ 5 หมื่นล้านเหรียญแล้วจนยิ่งสร้างความกังวลมากขึ้นไปอีกสำหรับปรากฏการณ์ "ฟองสบู่"ในตลาดที่ยังไร้หน่วยงานเข้ามากำกับดูแลสินทรัพย์ประเภทนี้

ราคา bitcoin ทะยานขึ้นมา 55%แล้วในเดือนนี้ และมีราคาแพงกว่า "ทองคำ" โดยได้วิ่งผ่านระดับ 1,900 เหรียญสหรัฐฯไปเรียบร้อยแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา (ไฟแนนเชียลไทมส์อ้างอิงข้อมูลจากตลาด Bitfinex)

ประเด็นที่น่าสนใจก็คือ การเก็งกำไร bitcoin ได้ไปสร้างประโยชน์ให้กับระบบการชำระเงินแบบไม่ระบุตัวตนซึ่งกำลังถูกใช้โดยอาชญากรรมไซเบอร์ที่ยกระดับการโจมตีทั่วโลก อย่างกรณี "Ransomware"จนสร้างความเสียหายแก่ระบบคอมพิวเตอร์ของหลายองค์กรอยู่ในตอนนี้

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry

จากการตรวจสอบของสำนักงาน กสทช. ขณะนี้ ยังไม่มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ (IIG) ในประเทศไทยรายใด ที่ได้รับผลกระทบจากการโจมตีของมัลแวร์เหมือนในบางประเทศ ที่มัลแวร์เข้าไปในระบบ ทำให้ผู้ให้บริการโทรคมนาคมไม่สามารถคิดค่าบริการ และให้บริการได้

โลกาวินาศแบบย่อมๆ
เรียกค่าไถ่ไซเบอร์ จับไฟล์เป็นตัวประกัน
แนะวิธีป้องกัน-แก้ไข จาก WannaCry

สำหรับการป้องกัน กสทช. ได้สั่งกำชับไปยังผู้ให้บริการทุกราย ให้ตรวจสอบระบบเครือข่ายสารสนเทศ และเตรียมการป้องกันการคุกคามจากจากมัลแวร์ WannaCry ไม่ให้เกิดความกระทบกระเทือนต่อระบบคอมพิวเตอร์ ที่เกี่ยวกับการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็น การให้บริการ การคิดค่าโทรศัพท์ ค่าบริการ บริการคลาวด์ เซอร์วิสต่างๆ ที่ให้บริการกับผู้ใช้งาน พร้อมทั้งขอให้ผู้ให้บริการทุกรายเตรียม Call Center เพื่อให้ข้อมูลการป้องกันการโจมตีจากมัลแวร์ WannaCry ให้กับผู้ใช้บริการถามว่าในมือถือ มีหนอนตัวนี้หรือยังจะตอบว่าตอนนี้มือถือยังไม่มีรายงานว่าติดหนอนตัวนี้ครับ
สัมภาษณ์ อ.ปริญญา หอมเอนก ผู้เชี่ยวชาญด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ซีเคียวริตี้ >> คลิกhttp://www.nationtv.tv/main/content/economy-business/378547471/

logoline