svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"สหรัฐ-จีน" งัดข้อ! "ลัทธิกีดกันทางการค้า" ในเวที G-20

20 มีนาคม 2560
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สหรัฐ-จีนงัดข้อ "ลัทธิกีดกันทางการค้า" ในเวทีรัฐมนตรีคลังกลุ่ม G-20 ที่เมืองบาเดน-บาเดน ของเยอรมันช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา โดย Steve Mnuchin จากสหรัฐสามารถสยบข้อเรียกร้องดังกล่าวของจีนที่เสนอให้กำหนดเรื่องการลดกีดกันทางการค้าโดยตัดออกจากแถลงการณ์หลังการประชุม ทำให้ถูกมองได้ว่าการไม่ถูกบันทึกไว้ในการออกแถลงการณ์ของกลุ่ม G-20 และอาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่แสดงการแตกแยกไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กลับกลายเป็นชัยชนะครั้งแรกของทรัมป์ในเวทีโลก

โดยที่รัฐมนตรีคลังเยอรมัย ยอมรับว่าสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ G-20 เพราะไม่สามัคคี ซึ่งทุกคนต่อต้านการกีดกันทางการค้าเหมือนๆ กันโดยไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ความหมายของคำว่ากีดกันทางการค้ากลับยังไม่เป็นข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับทุกๆ คนที่ร่วมประชุม
ขณะที่ตลาดบอนด์เกิดความผันผวนจากการที่บอนด์ยีลด์ 10 ปีของรัฐบาลสหรัฐุ่งขึ้นทะลุ 2.6% ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตามทิศทางของดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.25% เมื่อวันพุธที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลว่าตลาดบอนด์จะพังทลายลง เนื่องจากมีการเปิดเผยเบื้องหลังของการที่ธนาคารกลางขาใหญ่ ทั้งเฟด และ BOJ กลายเป็นผู้เล่นหลักและมีความสำคัญต่อทิศทางการเปลี่ยนของตลาดบอนด์มาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกล่าสุดในปี 2008 เป็นต้นมา เข้ามาประคองจนทำให้เกิดภาพบิดเบือนการลงทุนในตลาดบอนด์

1.ประชุมรัฐมนตรีคลังกลุ่ม G-20 ป่วน เมื่อเผชิญแรงกดดันจากสหรัฐที่ยืนกรานไม่เห็นด้วยในเรื่องการค้าเสรีโลกในรูปแบบปัจจุบัน โดยที่การออกแถลงการณ์ร่วมหลังเปิดประชุมเป็นเวลา 2 วันที่เมืองบาเดน บาเดน ของเยอรมัน ได้ตัดข้อความแสดงการสนับสนุนและดำเนินความพยายามเพื่อลดมาตรการกีดกันทางการค้าออกไป และยังให้ตัดเนื้อหาที่แสดงออกถึงการสนับสนุนทางการเงินต่อการต่อสู้กับภาวะโลกร้อน ทั้งที่จีนเป็นหัวหอกกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในการเรียกร้องเรื่อดังกล่าว
แต่ในที่สุดเวทีการประชุมยอมประนีประนอม โดยที่เยอรมันในฐานะประเทศเจ้าภาพไกล่เกลี่ยเพื่อให้ยุติข้อขัดแย้งในที่สุด โดยยอมที่จะระบุให้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาหารือใหม่ หลังจากที่ Steve Mnuchin รัฐมนตรีคลังสหรัฐ ยืนกรานไม่ยอมรับให้บรรจุข้อความตามข้อเรียกร้องของจีนในแถลงการณ์ดังกล่าว ทั้งที่อีก 19 ประเทศต่างเห็นด้วยกับข้อเสนอของจีน
โดยรัฐมนตรีคลังสหรัฐย้ำว่าในฐานะที่เป็นตัวแทนของรัฐบาลใหม่ ไม่จำเป็นต้องยึดโยงกับแถลงการณ์ร่วมที่ผ่านมา และจะทำหน้าที่เจรจาตามแนวนโยบายและความต้องการของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ นับจากนี้ไป ซึ่งสหรัฐยังคงเชื่อในการค้าเสรี เพราะการค้าเป็นผลดีทั้งต่อสหรัฐและชาติอื่นๆ เพียงแต่ต้องการให้มีการทบทวนใหม่ในบางเรื่อง พร้อมกับย้ำว่ากฎระเบียบบางข้อขององค์การการค้าโลก (WTO) จำเป็นต้องได้รับการปรับเปลี่ยนแก้ไขให้มีความทันสมัยมากขึ้น


2.แต่โวล์ฟกัง ช็อบเบิล รัฐมนตรีคลังเยอรมัย ยอมรับว่า สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช่ G-20 เพราะไม่สามัคคี ซึ่งทุกคนต่อต้านการกีดกันทางการค้าเหมือนๆ กันโดยไม่มีข้อโต้แย้ง แต่ความหมายของคำว่ากีดกันทางการค้ากลับยังไม่เป็นข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับทุกๆ คนที่ร่วมประชุม
ในขณะที่ทรัมป์อาจเป็นผู้ชนะในเวทีประชุม G-20 เป็นครั้งแรก โดยสามารถทำให้มาตรการลดการกีดกันทางการค้าไม่ถูกบันทึกไว้ในการออกแถลงการณ์ของกลุ่ม G-20 ซึ่งอาจเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่แสดงการแตกแยกไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของ G-20 อย่างน้อยที่สุดก็เกือบ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา
ทั้งนี้ G-20 ริเริ่มจัดตั้งขึ้นในสมัยประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช เมื่อปี 1999 โดยมีสมาชิก 20 ประเทศที่วัดตามขนาดของจีดีพี ประกอบด้วยประเทศที่พัฒนาแล้ว 8 ประเทศ คืออังกฤษ แคนาดา ฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น เยอรมนี รัสเซีย และสหรัฐอเมริกา กับประเทศระบบเศรษฐกิจเกิดใหม่ขนาดใหญ่อีก 11 ประเทศ ซึ่งมีอาร์เจนตินา ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เม็กซิโก ซาอุดิอาระเบีย แอฟริกาใต้ เกาหลีใต้ และตุรกี


3.ขณะที่ตลาดบอนด์เกิดความผันผวนจากการที่บอนด์ยีลด์ 10 ปีของรัฐบาลสหรัฐุ่งขึ้นทะลุ 2.6% ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาตามทิศทางของดอกเบี้ยธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ที่ปรับเพิ่มขึ้นอีก 0.25% เมื่อวันพุธที่แล้ว ท่ามกลางความกังวลว่าตลาดบอนด์จะพังทลายลงเนื่องจากความแตกตื่นในการเทขายบอนด์ออกมา
โดยเฉพาะเป้าหมายที่เฟดต้องการจะให้การขึ้นดอกเบี้ย Fed Fund Rate ซึ่งเป็นอะตราดอกเบี้ยระยะสั้นขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 3% ในปี 2019 เพื่อครอบคลุมเงินเฟ้อที่อยู่ในขาขึ้นนั้น จะส่งผลให้บอนด์ยีลด์พุ่งขึ้นในสัดส่วนเดียวกันที่ 3% ด้วยนั้น เป็นจุดเสี่ยงที่บรรดากูรูของกองทุนลงทุนในบอนด์ออกเตือนความเสี่ยงที่เป็นจุดอันตรายหากว่าบอนด์ยีลด์แตะที่ระดับ 2.75% จะทำให้เกิดการพังทลายลงมาได้
แต่ล่าสุด บอนด์ยีลด์ 10 ปีกลับอ่อนตัวลงมาที่ระดับ 2.5% ได้ถูกมองว่าเกิดการบิดเบือนในตลาดบอนด์เนื่องจากมีผู้เล่นรายใหญ่คือบรรดาธนาคารกลางขนาดใหญ่ของโลกโดยเฉพาะเฟด ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) เป็นผู้ลงทุนขนาดใหญ่ในตลาดบอนด์ของรัฐบาล เข้ามาแทรกแซงตลาด


4.เบื้องหลังของการที่ธนาคารกลางขาใหญ่อย่างเช่นเฟด และ BOJ เป็นผู้เล่นหลักและมีความสำคัญต่อทิศทางการเปลี่ยนของตลาดบอนด์มาตั้งแต่เกิดวิกฤติการเงินโลกล่าสุดในปี 2008 เป็นต้นมานั้น เฟดมีการลงทุนบอนด์โดยถือครอง ณ สิ้นปี 2016 เป็นสัดส่วน 13% ของเม็ดเงินที่เข้ามาแทรกแซงตลาด และเป็นสัดส่วนสูงถึง 18% ของจีดีพี ขณะที่ BOJ ลงทุนในสัดส่วน 79% ของเม็ดเงินอีดฉีดในระบบการเงินญี่ปุ่น และเป็นสัดส่วน 42% ของจีดีพี
การถือครองบอนด์ในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ทำให้ตลอดเวลาที่ผ่านมา ธนาคารกลางซึ่งเป็นผู้เล่นขาใหญ่ต้องเข้ามาแทรกแซงโดยประคับประคองไม่ให้ตลาดลอนด์เกิดเป็นฟองสบู่แตก ซึ่งสะท้อนถึงการบิดเบือนความเป็นจริงในตลาดบอนด์ขณะนี้


5.ตลาดช็อคการออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ของดอยช์แบงก์ ซึ่งเป็นธนาคารยักษ์ใหญที่สุดของเยอรมันที่ต้องการเสนอขายหุเนจำนวน 687.5 ล้านหุ้นเพื่อระดมทุนใหม่จำนวน 8 พันล้านยูโร หรือ 8.6 พันล้านดอลลาร์ ต้องเสนอขายในราคา discount จากราคาตลาดถึง 35% โดยราคาหุ้นที่เสนอขายอยู่ที่หุ้นละ 11.65 ยูโร ขณะที่ราคาปิดเมื่อวันศุกร์อยู่ที่ 17.86 ยูโร
ทั้งนี้ การเพิ่มทุนของดอยช์แบงก์ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 4 นับจากปี 2010 เป็นต้นมา โดยที่มีกลุ่มผู้ถือใหญ่หน้าใหม่ที่เข้ามาประกอบด้วย Qatars royal family และ Chinas HNA Group Co., ซึ่งถือเป็นสองกลุ่มนักลงทุนรายใหญ่ที่สุดของดอยช์แบงก์ในวันนี้

logoline