svasdssvasds
เนชั่นทีวี

กีฬา

"เบื้องหลัง" 2 จอมพลังสาว คว้าเหรียญโอลิมปิก

09 สิงหาคม 2559
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทัพนักยกน้ำหนักไทยสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้ง หลัง "ฝ้าย" สุกัญญา ศรีสุราช คว้าเหรียญทองรุ่น 58 กิโลกรัมหญิง และพังสถิติโอลิมปิกท่าสแนทช์ ขณะที่ "แต้ว" พิมศิริ ศิริแก้ว ได้เหรียญเงิน

การแข่งขันยกน้ำหนัก ในกีฬาโอลิมปิกเกมส์ 2016 ที่ริโอเซนโตร นครริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล ในรุ่น 58 กิโลกรัมหญิง
ปรากฏว่า "ฝ้าย" สุกัญญาจอมพลังสาวจังหวัดชลบุรี ทุบสถิติโอลิมปิกท่าสแนตช์ 108 กิโลกรัมของ ลี ซู่ หยิง จาก จีน เมื่อปี 2012 โดยยกครั้งที่ 3 ทำได้ 110 กิโลกรัม และ คลีน แอนด์ เจิร์ก 130 กิโลกรัม คว้าทองเหรียญที่ 2 ให้ทัพนักกีฬาไทย ต่อจาก โสภิตา ธนสาร รุ่น 48 กิโลกรัมหญิง
ขณะที่ "แต้ว" พิมศิริ จอมพลังจากขอนแก่น ยกท่าสแนตช์ 102 กิโลกรัม และ ท่าคลีน แอนด์ เจิร์ก 130 กิโลกรัม โดนขอสละสิทธิ์ครั้งที่ 3 หยิบเหรียญเงินที่ 2 ต่อจาก ลอนดอน เกมส์ 2012 และเป็นนักกีฬาคนที่ 2 ซึ่งได้เหรียญโอลิมปิก 2 สมัยติดต่อกัน นับตั้งแต่ วันดี คำเอี่ยม ทำไว้ 2 ทองแดง ปี 2004 และ 2008

"เบื้องหลัง" 2 จอมพลังสาว คว้าเหรียญโอลิมปิก


ถือเป็นการสร้างประวัติศาสตร์อีกครั้งของทีมยกน้ำหนักไทย ด้วยการได้เหรียญทองและเหรียญเงิน รุ่นเดียวกันในกีฬาโอลิมปิก
นักกีฬาชายคนแรกที่ทำได้คือ มนัส บุญจำนงค์ นักมวยสากลที่คว้าเหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ 2004 ที่เอเธนส์ ก่อนจะมาคว้าเหรียญเงิน โอลิมปิกเกมส์ 2008 ที่ปักกิ่ง
ในริโอ เกมส์ นี้ ทีมยกน้ำหนักไทยสามารถคว้ามาได้แล้ว 2 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน 1 ทองแดงส่วนเหรียญทองแดง ตกเป็นของ กัวะ ซิง ฉุน จาก ไต้หวัน ยกท่าสแนตช์ 102 กิโลกรัม และ คลีน แอนด์ เจิร์ก 129 กิโลกรัม รวม 231 กิโลกรัม

"เบื้องหลัง" 2 จอมพลังสาว คว้าเหรียญโอลิมปิก


ด้าน "แต้ว" พิมศิริ ศิริแก้ว ก็ไม่ติดใจไม่ได้ยกครั้งสุดท้าย โดยย้ำทุกคนทำเพื่อชาติ ไม่ใช่แข่งกันเอง
ในการยกท่าคลีนแอนด์เจิร์กครั้งสุดท้าย ทางทีมงานผู้ฝึกสอนไม่ได้ให้ "แต้ว" พิมศิริ วัย 26 ปี ขึ้นยก เนื่องจากขณะนั้น "ฝ้าย" สุกัญญา ยกเหล็กรุ่นน้องวัย 21 ปี ที่ยกครบไปแล้วเมื่อรวมท่าสแนทช์ เข้าไปด้วย มีน้ำหนักรวม 240 กิโลกรัม ดังนั้น "แต้ว" พิมศิริ จึงต้องยกครั้งสุดท้ายให้ได้ 139 กิโลกรัม จึงจะได้เหรียญทอง ซึ่งถือเป็นการเรียกน้ำหนักที่มากกว่าครั้งที่ 2 ซึ่งยกผ่านที่ 130 กิโลกรัม ถึง 9 กิโลกรัม ทางทีมงานผู้ฝึกสอน จึงเห็นว่าเป็นน้ำหนักที่มากเกินไป อาจส่งผลต่อการบาดเจ็บได้ขณะที่ พิมศิริ ก็บอกว่าไม่จำเป็นว่าใครต้องได้เหรียญทอง ขณะแข่งทำเพื่อประเทศไทย สู้เพื่อประเทศไทย รวมถึงสู้กับตัวเอง ดังนั้นใครก็ได้ที่ได้เหรียญทอง ถือเป็นคนไทยด้วยกัน นั่นเป็นเรื่องที่น่ายินดีและภูมิใจแล้ว.

logoline