svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset”

08 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กลุ่มอาสาชาวนามหานคร ให้ความสำคัญทักษะชีวิต Soft Skills จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset” เข้าใจเรา เข้าใจคน เสริมการทำงานร่วมกันอย่างเข้าใจและเป็นสุข

          กลุ่มอาสาชาวนามหานคร เครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติ เล็งเห็นความสำคัญของทักษะชีวิต หรือ Soft Skills ที่จำเป็นต่อการทำงานร่วมกันอย่างเข้าใจและมีความสุข ร่วมกับ ซีแอค (SEAC) ผู้นำด้านการพัฒนาบุคคลและองค์กร เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต จัดเวิร์กชอปหลักสูตร “Outward Mindset เข้าใจเรา เข้าใจคน” ให้กับสมาชิกกลุ่มอาสาชาวนามหานครกว่า 60 ท่าน ที่มาทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารในสังคม ตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและหลักกสิกรรมธรรมชาติมาดำเนินชีวิตสู่ความพอเพียง เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ตลอด 1 วันเต็ม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เพื่อเปิดโอกาสให้อาสาในเครือข่ายกสิกรรมธรรมชาติเกือบทุกภาคของประเทศ ได้เข้าร่วมอบรมพัฒนาทักษะชีวิตอย่าง Soft Skills พร้อมปรับมุมในการมองผู้อื่นเพื่อการทำงานร่วมกันอย่างเข้าใจและเป็นสุขมากขึ้น ณ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติ อาสาชาวนามหานคร อ.หนองจอก กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่เครือข่ายของมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ

          หลักสูตร “Outward Mindset – เอาท์เวิร์ด มายด์เซต” เป็นหลักสูตรที่ช่วยเสริมสร้างวิธีคิดของผู้นำและสมาชิกเครือข่ายอาสาชาวนามหานคร ให้สามารถทำความเข้าใจทั้งตัวเองและคนรอบข้างได้อย่างลึกซึ้ง ช่วยให้แต่ละคนมองผู้อื่นสำคัญไม่น้อยกว่าตนเอง เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตัว นึกถึงผลกระทบของผู้อื่นอยู่เสมอ และยินดีให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มุ่งเดินหน้าสู่เป้าหมายที่มีร่วมกัน พร้อมก้าวไปด้วยกันสู่ผลลัพธ์ที่ตั้งใจไว้อย่างเป็นรูปธรรม

กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset”

 

          กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset”

          คุณบุญชัย พงศ์รุ่งทรัพย์ ที่ปรึกษาอาวุโสและมาสเตอร์เทรนเนอร์ของ SEAC ในฐานะผู้สอนเวิร์กชอปหลักสูตร Outward Mindset ในครั้งนี้ กล่าวว่า “ซีแอค (SEAC) เชื่อในเรื่องการยกระดับคุณภาพชีวิตของคนทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพ ตลอดจนสนับสนุนเครือข่าย หน่วยงานและองค์กรในประเทศไทย ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีและประสบความสำเร็จ ผ่านการเรียนรู้และพัฒนาทักษะชีวิต หรือ Soft Skills เรารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกอาสาทุกคนให้มีประสิทธิภาพและเข้าใจกันมากขึ้น เราเล็งเห็นว่า เครือข่ายอาสาชาวนามหานครเป็นกลุ่มอาสาสมัครที่มาทำงานร่วมกันเพื่อสังคม ซึ่งเชื่อว่าจะนำองค์ความรู้นี้ไปต่อยอดสร้างคุณประโยชน์ต่อสังคมและท้องถิ่นได้อีกมาก

          ด้วยความเชี่ยวชาญของซีแอคในการออกแบบการเรียนรู้ที่มุ่งให้ผู้เรียนนำไปใช้ได้จริง เราเชื่อว่าเวิร์กชอปพัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset ในครั้งนี้จะช่วยเสริมสร้างความเข้าใจกัน ให้อาสาชาวนามหานครทุกคนมองเห็นผู้อื่นมากขึ้น เกิดความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน ส่งผลให้บรรยากาศการทำงานในองค์กรเต็มไปด้วยความเข้าใจและความสุข จนเกิดเป็นสังคมเครือข่ายที่ช่วยกันปลดล็อคศักยภาพที่มีอยู่ และเปลี่ยนเป็นผลลัพธ์ที่ต้องการได้อย่างยั่งยืน”

 

          เพราะความต่างของช่วงวัยและความหลากหลายในมุมมองความคิดของกลุ่มคนที่มีความตั้งใจดีที่มาร่วมกันทำงาน บางครั้งอาจเกิดความขัดแย้ง จึงเป็นช่องว่างและโอกาสในการพัฒนาทักษะ Soft Skills และวิธีคิดให้กับกลุ่มอาสา เพื่อเสริมการทำงานให้ดียิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปรับความเข้าใจในเป้าหมายที่ยังไม่ตรงกัน ปรับการสื่อสารกับคนต่างรุ่น ต่างวัย เสริมความกระตือรือร้นเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนให้เครือข่ายฯ รวมถึงกระตุ้นการปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่แปรผันอยู่ตลอดเวลา ซึ่งวิธีคิด คือ พื้นฐานสำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ยั่งยืน จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่เครือข่ายฯ ริเริ่มจัดเวิร์กชอปพัฒนาทักษะ Soft Skills นี้ขึ้นเป็นครั้งแรก

      คุณวรเกียรติ สุจิวโรดม เจ้าของพื้นที่อาสาชาวนามหานคร และ ผู้อำนวยการ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติอาสาชาวนามหานคร วิสาหกิจเพื่อสังคม ในฐานะประธานการจัดอบรมหลักสูตร Outward Mindset ในครั้งนี้ กล่าวว่า “วิธีคิดและทัศนคติคือสิ่งที่สำคัญมากที่จะช่วยสร้างคุณค่าให้กับเครือข่ายฯ การอบรมเรื่องวิธีคิดหรือมายด์เซต จะทำให้สมาชิกอาสาชาวนามหานครเห็นคุณค่าที่เครือข่ายฯ มอบให้กับสมาชิกทุกคนอยู่ตลอด ขึ้นอยู่กับแต่ละคนว่าจะเปิดใจมองและสร้างคุณค่าให้กับเครือข่าย ท้องถิ่นและสังคมต่อไปอย่างไร นอกจากนั้น การอบรม Outward Mindset ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรจากซีแอค (SEAC) ที่มาช่วยจัดการอบรม โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ด้วยมีประสบการณ์ในแวดวงพัฒนาศักยภาพคนในประเทศไทยมากว่า 30 ปีของซีแอค และหลักสูตรระดับโลกจากสถาบันอาร์บิงเจอร์ ซึ่งเป็นสถาบันผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านการพัฒนาศักยภาพผู้นำองค์กรและบุคลากรในประเทศสหรัฐอเมริกา เชื่อว่าจะเป็นประโยชน์อย่างมากกับอาสาทุกคน และทำให้ผู้เข้าร่วมได้รับข้อคิดดี ๆ กลับไปใช้ต่อยอดอย่างมากมาย โดยเครือข่ายฯ มีแผนจะจัดเวิร์กชอปพัฒนาทักษะ Soft Skills ร่วมกับซีแอค ปีละ 2 ครั้งอย่างต่อเนื่องทุกปี เพื่อให้เกิดสังคมเครือข่ายฯ ที่มีคุณภาพและสร้างคุณประโยชน์ให้กับสังคมท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืนต่อไป”

กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset”

          อาจารย์ยักษ์ วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้ก่อตั้งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ กล่าวถึงความสำคัญของการเสริมสร้างวิธีคิดว่า “ปัญหาใหญ่ของประเทศ คือ Mindset หรือวิธีคิดไม่เปลี่ยน อยากจะยืนยันว่าเรื่องการพัฒนา Mindset มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในโลกที่กำลังจะเปลี่ยนสู่การเป็นชุมชนนิยม หรือ คนท้องถิ่นนิยม ที่เรียกว่า Indigenous เรื่องนี้กำลังจะมาแรงมาก แต่ต้องเข้าใจว่านานาชาตินิยม กับชุมชนนิยมจะเข้ามาผสานกันอย่างไร แม้จะมีเงิน มีเครื่องจักร มีวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ มีเทคโนโลยีมากมาย สุดท้ายการพัฒนาประเทศ พัฒนาเมืองก็ขึ้นอยู่ที่ Mindset ของคนในท้องถิ่นที่รักชุมชน รักโลกใบนี้”

กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset”

          ซีแอค เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างทักษะชีวิตและวิธีคิดที่จำเป็นให้กับคนไทย เพื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตแก่บุคคล หน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ มากมาย ทั้งภาครัฐและเอกชน ไม่เว้นแม้แต่หน่วยงานทางสังคม ผ่านการออกแบบประสบการณ์การเรียนรู้ และหลักสูตรระดับเวิลด์คลาส ผสานการใช้เทคโนโลยีส่งเสริมประสิทธิภาพการเรียนรู้ และการนำไปใช้จริงของผู้เรียน เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถของคนไทยและองค์กรไทยให้ทัดเทียมระดับสากล

กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset” กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset” กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset” กลุ่มอาสาชาวนามหานคร จับมือ SEAC จัดเวิร์กชอป “พัฒนาวิธีคิดแบบ Outward Mindset”

logoline