svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ประชาสัมพันธ์

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ หนึ่งในแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย

17 กุมภาพันธ์ 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ หนึ่งในแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย

     องค์การเพื่อสตรีแห่งสหประชาชาติ (UN Women) สหภาพยุโรป สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) และมูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย ได้ร่วมกันจัดงานเสวนา “Inclusive Leadership means Better Business” เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2565 เพื่อรณรงค์ให้ภาคธุรกิจไทยตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและความเป็นผู้นำของคนทุกเพศ รวมทั้งเรื่องการรายงานด้านความยั่งยืนที่ครอบคลุมมิติทางเพศของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อการเติบโตของตลาดทุนไทยที่ยั่งยืน

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ หนึ่งในแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย

     งานเสวนาครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้บริหารของ 4 องค์กรที่ได้รับรางวัล UN Women 2021 Thailand WEPs Awards ในสาขาต่าง ๆ ได้แก่ พลตรีพัชร รัตตกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) คุณโชคชัย อัศวรังสฤษฎ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานบริหารและพัฒนาศักยภาพองค์กร บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) คุณปรีดา บุญศิลป์ กรรมการผู้จัดการ วิทยาลัยเทคโนโลยีไออาร์พีซี บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และคุณปิยนนท์ วัฒนะจรรยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายกลยุทธ์องค์กร บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มาร่วมแลกเปลี่ยนตัวอย่างแนวทางปฏิบัติการส่งเสริมความหลากหลายและความเท่าเทียมทางเพศ และเพื่อประกาศเจตนารมณ์และนำเสนอแนวทางที่แต่ละองค์กรปฏิบัติในการลดช่องว่างระหว่างเพศและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ อีกทั้งเพื่อเป็นตัวอย่างและช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้องค์กรอื่น ๆ ในภาคธุรกิจไทยได้นำไปปรับใช้อย่างเหมาะสม

     ประเด็นสำคัญที่ผู้ร่วมเสวนาเห็นพ้องร่วมกันและได้แบ่งปันประสบการณ์ในการขับเคลื่อนเรื่องการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ มีทั้งเรื่องการมีนโยบายที่ชัดเจนตั้งแต่ tone from the top เพื่อสะท้อนถึงความตั้งใจจริงในการสร้างความเท่าเทียมทางเพศ โดยผู้นำทุกระดับในองค์กรมีบทบาทสำคัญในการช่วยกันผลักดันในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร ตลอดจนได้รับการสนับสนุนและการลงมือปฏิบัติจริงของทุกภาคส่วนในองค์กร และการคำนึงถึงความสามารถในการทำงานเป็นหลักโดยไม่ได้จำกัดเรื่องเพศ โดยเปิดโอกาสให้กับทุกเพศในทุกตำแหน่งงาน ทั้งในขั้นตอนการรับสมัครงานและกระบวนการคัดเลือก ตลอดจนในการพิจารณาเรื่องค่าตอบแทน ความก้าวหน้าหรือการเลื่อนตำแหน่งงานโดยไม่นำเรื่องเพศมาเป็นข้อจำกัด

     สำหรับตัวอย่างแนวนโยบายหรือข้อปฏิบัติที่ช่วยส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในองค์กร เช่น การตั้งเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วนพนักงานหญิง การดูแลสวัสดิการของพนักงานบนพื้นฐานของโอกาสที่เท่าเทียมและคำนึงถึงความหลากหลายทางเพศ เป็นต้น นอกจากนี้ ในแง่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมจากการส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศและความเป็นผู้นำของคนทุกเพศ เช่น บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (มหาชน) มีการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ในเรื่อง Diversity and Inclusion รวมถึงเรื่อง gap pay analysis โดยเก็บข้อมูลแยกตามระดับและแยกตามเพศ และเปิดเผยข้อมูลใน One Report รวมทั้งนำข้อมูลดังกล่าวมาใช้สำหรับการวัดผลความก้าวหน้าตามที่ได้ตั้งเป้าหมายเรื่องสัดส่วนพนักงานหญิงว่ามีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างไร

     ในช่วงที่ผ่านมา การมุ่งส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศก็ทำให้บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) มีจำนวนวิศวกรหญิงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจากเดิมที่ส่วนใหญ่จะเป็นวิศวกรชาย ซึ่งกลุ่มวิศวกรหญิงก็มีทักษะหรือความสามารถทัดเทียมกัน ขณะที่บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) นอกจากจะมุ่งเพิ่มสัดส่วนกรรมการบริษัทที่เป็นผู้หญิงให้มากกว่าปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ 33% ยังมีโครงการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงที่อยู่ในชุมชนและในห่วงโซ่คุณค่า (supply chain) ของบริษัท โดยปัจจุบันมีผู้หญิงเป็นสมาชิกในโครงการประมาณ 2,000 คน

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ หนึ่งในแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย

     ด้านมุมมองขององค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการร่วมผลักดันและส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งได้ร่วมกันจัดงานเสวนาในครั้งนี้ คุณจูเซปเป บูซีนี รองหัวหน้าคณะผู้แทนสหภาพยุโรปประจำประเทศไทย ได้กล่าวถึงพันธกิจของสหภาพยุโรป (EU) ในการส่งเสริมด้านความเท่าเทียมทางเพศว่า “สหภาพยุโรปมุ่งมั่นส่งเสริมให้ความเท่าเทียมทางเพศเกิดขึ้นได้จริง ด้วยการลดความเหลื่อมล้ำทางเพศในตลาดแรงงาน ค่าตอบแทน และความรับผิดชอบในการดูแลครอบครัว ตลอดจนบทบาทในการเป็นผู้นำองค์กรและสังคมในด้านต่าง ๆ เป้าหมายของเราคือ การสร้างสหภาพ และโลกที่คนทุกเพศได้รับโอกาสอย่างเท่าเทียมในการเจริญก้าวหน้า และเป็นผู้นำ”

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ หนึ่งในแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย      คุณซาร่าห์ นิบบซ์ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การ UN Women สำนักงานภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิก กล่าวถึงองค์กรภาคธุรกิจที่มุ่งมั่นในการส่งเสริมด้านความเท่าเทียมทางเพศว่า “แนวทางการปฏิบัติที่ดีขององค์กรที่ได้ลงนามประกาศเจตนารมณ์สนับสนุนหลักการสร้างเสริมศักยภาพสตรี (Women Empowerment Principles: WEPs) นั้น สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้นำทางธุรกิจยุคใหม่ในการสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ดีในระยะยาวในประเด็นดังกล่าวได้”

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ หนึ่งในแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย

     คุณกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า “การส่งเสริมความหลากหลายในคณะกรรมการบริหารที่มีผู้หญิงมากขึ้น เพื่อช่วยสร้างพลังของทีมและการสร้างสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ที่เหมาะสมนั้น สำคัญต่อการสร้างโอกาสเพื่อให้ผู้หญิงมีส่วนร่วม กล้าทำในสิ่งที่ตัวเองคิดว่าทำได้ ไม่ต้องรอโอกาส แต่ต้องแสดงพลังและศักยภาพที่ตนเองมี ในขณะเดียวกัน ผู้นำองค์กรควรสร้างพื้นที่ เพิ่มโอกาสและเสริมศักยภาพเพื่อให้ผู้นำหญิงพัฒนาและใช้ศักยภาพของตนเอง เพื่อก้าวเข้าสู่บทบาทคณะกรรมการขององค์กรต่อไป”

การส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในภาคธุรกิจ หนึ่งในแนวทางการเติบโตอย่างยั่งยืนของตลาดทุนไทย

     คุณรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงาน ก.ล.ต. กล่าวว่า “สำนักงาน ก.ล.ต. ได้ดำเนินนโยบายในด้านการเสริมสร้างบทบาทสตรี (women empowerment) รวมทั้งการลดความเหลื่อมล้ำในภาคตลาดทุน ตามแนวแผนยุทธศาสตร์ชาติ แผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน หรือแผน NAP และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) มาอย่างต่อเนื่อง และเชื่อมั่นว่าความเท่าเทียมกันทางเพศจะส่งผลดีต่อผลการดำเนินงานของธุรกิจและประโยชน์ของสังคมโดยรวม”

     ทั้งนี้ การจัดทำแผนดำเนินการเพื่อเพิ่มบทบาทสตรีในตลาดทุนไทย (Women Empowerment Plan) ของสำนักงาน ก.ล.ต. มีเป้าประสงค์ของการขับเคลื่อนคือ (1) เพิ่มบทบาทสตรีในระดับผู้นำองค์กร โดยส่งเสริมให้ภายในปี 2565 ร้อยละ 30 ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมดมีกรรมการสตรีในคณะกรรมการอย่างน้อยร้อยละ 30 และ (2) สตรีได้รับทักษะที่จำเป็นและมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างเหมาะสม ซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติในเป้าหมายที่ 5 เรื่อง Gender Equality ว่าด้วยการบรรลุความเท่าเทียมระหว่างเพศและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่สตรีและเด็กหญิง

     และเพื่อให้การขับเคลื่อนความเท่าเทียมทางเพศบรรลุผลได้ตามเป้าประสงค์จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน รวมถึงการมีนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีจะช่วยส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรที่สร้างการมีส่วนร่วม อีกทั้งยังสร้างการยอมรับจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (stakeholder) ทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อเศรษฐกิจของประเทศให้เติบโตอย่างยั่งยืน

logoline