สมัยสุโขทัย มีระบบการเงินเรียกว่า ส่วยสาอากร แบ่งออกเป็น 4 ชนิด ได้แก่
ส่วยสาอากร ถือเป็นจุดเริ่มต้นระบบภาษีศุลกากร ที่กระทรวงฯ ใช้ภาษีเหล่านี้พิทักษ์พระราชทรัพย์ของพระราชา
ต่อมาสมัยอยุธยาตอนต้น มีระบบการปกครองแบบ “จตุสดมภ์” มีอยู่ 4 กรม ได้แก่ เวียง วัง คลัง นา…
ในสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีการปฏิรูป ปรับเปลี่ยนระบบจตุสดมภ์ให้ซับซ้อนขึ้น โดยตั้งกรมเพิ่ม 2 กรม คือกรมกลาโหม กับกรมมหาดไทย เพื่อแยกทหารกับพลเรือนออกจากกัน
กรมกลาโหม จะดูแลเรื่องความมั่นคง ดูแลฝ่ายทหารโดยเฉพาะ ส่วนกรมมหาดไทย จะดูแลความเรียบร้อยในส่วนพลเรือน ซึ่งหมายถึงจตุสดมภ์อย่าง กรมเวียง กรมวัง กรมคลัง และกรมนาด้วย
มาถึงสมัยอยุธยาตอนปลาย การปกครองแบบจตุสดมภ์สิ้นสุดลง เพราะวิวัฒนาการของลัทธิจักรวรรดินิยม และการทำสนธิสัญญาเบาว์ริง ทำให้ต้องปรับปรุงระบบการค้า ระบบการยุติธรรมให้ทันสมัยมากขึ้น ผนวกกับความซับซ้อนของสังคม จึงทำให้ระบบจตุสดมภ์ ไม่มีประสิทธิภาพมากพอ
ดังนั้น ในสมัยรัตนโกสินทร์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ร.5 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงกระทรวงครั้งใหญ่ แต่ก่อนที่จะไปเรื่องการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของการคลังนั้น เราผ่านไปย้อนอ่านเรื่องราวการคลังในแต่ละรัชสมัยว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง
ใน สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 มีพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เรียกว่า เงินถุงแดง เป็นเงินสำรองฉุกเฉินของประเทศ โดยเงินที่อยู่ในถุงแดง มีการสันนิษฐานว่าน่าจะเป็นเงินของต่างประเทศ เนื่องจากสมัยนั้นสกุลเงินต่างประเทศเป็นที่ยอมรับ ใช้ซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากับชาวต่างชาติ ซึ่งเคยรุ่งเรืองที่สุดในยุคหนึ่ง ส่วนเงินที่ใช้ทั่วไปในไทยเรียกว่า “เงินพดด้วง” ใช้สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยนในไทย
และสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นี้ มีการทำสนธิสัญญากับชาวตะวันตก นั่นคือ สนธิสัญญาเบอร์นี
ส่วนสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 มีการทำสนธิสัญญาเบาวริ่ง ถือเป็นการพลิกโฉมเศรษฐกิจไทยครั้งหนึ่ง เพราะต้องเปลี่ยนวิธีการจัดเก็บภาษี จากเดิมที่ไม่มีแบบแผน เปลี่ยนเป็นคิดเปอร์เซนต์ มีระบบศุลกากร ตั้งโรงกษาปณ์เพื่อผลิตเงินตราสำหรับแลกเปลี่ยน แทนการแลกด้วยสิ่งของแบบเดิม และค้าขายกับชาวต่างชาติมากขึ้น ซึ่งเงินตราที่ผลิตมายังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายสำหรับประชาชนมากนัก และในยุคสมัยนี้เป็นต้นกำเนิดธนาคารในไทย แต่ชาวต่างชาติเป็นเจ้าของ
สมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เป็นช่วงที่ยกเลิกจตุสดมภ์ ตั้งหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อใช้เป็นสำนักงานสำหรับเจ้าหน้าที่ในกรมพระคลังฯ โดยกรมฯ มีหน้าที่รับจ่าย ถือบัญชีพระราชทรัพย์ รักษาเงินแผ่นดิน และเก็บภาษีทั่วราชอาณาจักร
โดยกรมคลังฯ ในช่วงนี้มีการปรับเปลี่ยนหน้าที่ที่รับผิดชอบ เป็นงานการดูแลทรัพย์สินของรัฐอย่างเดียว และถูกสถาปนา จากกรม เป็น กระทรวง ส่วนงานทรัพย์สินของพระมหากษัตริย์ จะเป็นการดูแลของพระคลังข้างที่ หรือ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์
ส่วนหน้าที่อื่นๆ ที่กรมนี้เคยทำในสมัยก่อนก็มีกระทรวงอื่นอีก 11 กระทรวงมารับหน้าที่ตรงนี้ ได้แก่
โดยในยุคสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 นี้ มีเหตุการณ์สำคัญ คือ
โดยบุคคลัภย์ถูกพัฒนากลายเป็นธนาคารแห่งแรกของไทย ชื่อว่า สยามกัมมาจล หรือ ธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบันนั่นเอง
จากนั้นในปี พ.ศ. 2453 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระคลังในท้องที่ต่างๆ ให้รวมศูนย์อยู่ภายใต้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ โดยบังคับใช้ในวันที่ 1 เมษายน 2458 เป็นต้นมา
ในช่วงนี้มีการปฏิรูปการคลัง จัดเก็บภาษีเพื่อมาเป็นเงินเดือนให้แก่ขุนนาง เรียกว่า เงินค่าราชการ โดยจะเก็บจากชายไทย ตั้งแต่อายุ 18-60 ปี ตาม พ.ร.บ. เก็บเงินค่าราชการ ร.ศ. 120 โดยเงินนี้ถือว่าเป็นรายได้หลักของไทย
แต่แล้วเงินค่าราชการมีการปรับเปลี่ยนอีกครั้ง เนื่องจาก พ.ร.บ. เก็บเงินฯ มีข้อยกเว้นบุคคล 14 ประเภท ซึ่งแต่ละปีจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี จึงต้องเปลี่ยนเป็น เงินรัชชูปการ ที่จำกัดคนที่ได้รับการยกเว้นน้อยลง ทำให้เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้น แต่หลักการอื่นๆ แทบไม่ต่างจาก พ.ร.บ. เก็บเงินฯ
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 เกิดเหตุการณ์ใหญ่ในปี พ.ศ 2475 มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ระบบการเงินของประเทศไทยจึงเปลี่ยนตามไปด้วย
อ้างอิง กระทรวงการคลัง
การตรวจเงินแผ่นดินสมัยโบราณในระบบบริหารราชการแบบจตุสดมภ์
ส่วย คำศัพท์ที่มีความหมายในแง่ลบบนสื่อ มาจากไหน?
"เงินถุงแดง" อิสรภาพไทย แลกด้วยค่าไถ่ 3 ล้านฟรังก์ ร.ศ. 112 หาเงินจากไหนให้ฝรั่งเศส
มรณกรรมของ “โกรสกือแร็ง” ฟางเส้นสุดท้ายสู่วิกฤตการณ์ ร.ศ. 112