svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

Soft Power คืออะไร อำนาจละมุน - พลังนุ่มนิ่ม ?

11 พฤศจิกายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"Sotf power" กลายเป็นประเด็นร้อนแรงขึ้นมาทันที หลังผู้กำกับภาพยนตร์ ชื่อดังเรื่อง “สัปเหร่อ” ที่สร้างรายได้กว่า 700 ล้านบาท อย่าง “ต้องเต ธิติ” ออกมาให้ความเห็นว่ารัฐบาลอาจจะไม่เข้าใจในตัวหนังอย่างแท้จริงเป็นเพียงการมาถ่ายรูปและบอกว่า “นี่คือซอฟท์ พาวเวอร์” 

ประเด็นนี้ ต้องเต ได้พูดในงานเสวนา "จากจักรวาลไทบ้านสู่พลังอีสานสร้างสรรค์" จนถูกนำมาแชร์เป็นคลิปไวรัลในโลกออนไลน์ 

หากย้อนกลับไป เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2566  นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี พร้อมด้วย อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร รองประธานคณะกรรมการซอร์ฟพาวเวอร์  ได้นำคณะสวมชุดไทย ร่วมชมภาพยนตร์ "สัปเหร่อ" โดยหลังชมภาพยนตร์จบ นายเศรษฐา ยังยกให้หนังเรื่องนี้เป็น Soft Power ที่รัฐบาลจะสนับสนุน จึงเป็นที่มาของมุมมองจากผู้กำกับอย่าง ต้องเต ประกอบกับ นโยบายต่างๆที่ออกมาก่อนหน้านี้ ยังมีความสับสน สื่อสารไม่ชัดเจน จึงเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางว่ารัฐบาลชุดนี้เข้าใจซอฟต์พาวเวอร์จริงหรือไม่

"เป็นภาพยนตร์ที่สนุก เชื่อว่าเรื่องของอาชีพที่หลายคนไม่รู้จัก อย่าว่าแต่ฝรั่งเลย อาชีพที่คนไทยไม่รู้จักก็ถูกหยิบยกขึ้นมาพูด รวมถึงเรื่องการใช้ภาษา เรื่องชีวิตความเป็นอยู่ของชาวบ้าน สิ่งเหล่านี้เชื่อว่าจะทำให้คนรู้ซึ้งถึงวัฒนธรรมของไทยได้ดีขึ้น ก็ยินดี สนับสนุนผู้กำกับที่มีฝีมือให้มาช่วยผลักดันในเรื่องของภาพยนตร์ ไม่ว่าจะเป็นหนังสั้น หนังยาว ให้มีเวทีในการแสดงความสามารถตนสนับสนุนเต็มที่ และพูดคุยกันว่าในเรื่องของการสนับสนุนอยากให้รัฐเอาภาพยนตร์ หรือผู้กำกับไปเฉิดฉายในเวทีแสดงหนังโลก" นายกฯ กล่าว 

นายกฯนำครม.ดูภาพยนตร์สัปเหร่อ

จนล่าสุดในการประชุม ส.ส.พรรคไทย เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา น.ส.แพทองธาร ได้ออกมาอธิบาย ว่า Soft Power คือ อำนาจละมุน ที่ไม่ต้องการใช้อาวุธหรืออะไรที่รุนแรง เพื่อให้ชนะใจ เข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมนั้นๆ โอบรับวัฒนธรรมต่างๆที่เข้ามา พร้อมยกตัวอย่าง ปรากฎการณ์ช็อคมิ้นต์ ที่เกิดความนิยมขึ้น  จนทำให้เศรษฐกิจภาพเล็กหรือ ร้านค้าเกิดมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย

“Soft Power เป็นเหมือนพลังอำนาจหนึ่ง หรือ “อำนาจละมุน” ไม่ต้องการใช้อาวุธ หรืออะไรที่รุนแรง เป็นการใช้ Soft Power ให้ชนะใจ หรือเข้าไปอยู่ในวัฒนธรรมนั้น ๆ โอบรับวัฒนธรรมต่าง ๆ ที่เข้ามา อย่างช็อกมินต์ก็ได้ ยกตัวอย่างง่ายที่สุด พอเกิดความฮิต ความนิยมขึ้น ช็อกมินต์ขายดีขึ้นมา อันนั้น คือ วัฒนธรรมที่ถูกโอบรับโดยคนไทยในประเทศเอง แน่นอนค่ะ อันนั้นคือเศรษฐกิจภาพเล็ก คือภาคของร้านค้า ก็เกิดมูลค่าขึ้นมากมาย แต่ Soft Power ที่เราทำอยู่ในขณะนี้ เราต้องการจะผลักดันสิ่งเหล่านั้นให้มันเป็น Global มากขึ้น ไม่ใช่แค่หัวข้อของช็อกมินต์เท่านั้น แต่เป็นหัวข้อของ 11 อุตสาหกรรมที่เราแถลงไปแล้ว” น.ส.แพทองธาร กล่าว 

อุ๊งอิ๊งค์ แพทองธาร ชินวัตร หัวหน้าพรรคเพื่อไทย

 

สำหรับ Soft Power  เป็นทฤษฎีที่ถูกคิดค้นโดย โจเซฟ ไนย์ (Joseph S. Nye) อาจารย์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ก่อนนำมาเขียนเป็นหนังสือ Soft Power the Means to Success in World Politics จำหน่ายในปี 2004 และถูกหยิบยกมาใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งด้านวัฒนธรรม การกิน การดื่ม วิถีชีวิต หรือความเชื่อ นำเสนอผ่านสื่อ หรือผลงานในรูปแบบต่างๆ เพื่อโน้มน้าวใจ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางด้านความคิด หรือพฤติกรรมความชอบให้หันมาสนใจสิ่งเหล่านี้กันมากขึ้นนั่นเอง

 

logoline