svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

“สุทัศน์” จี้ถามหาความรับผิดชอบ รัฐบาลขยายเวลา กม.ซ้อมทรมาน ผิดรธน.

22 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“สุทัศน์” จี้ถามหาความรับผิดชอบ หลังรัฐบาลออก พ.ร.ก. ขยายเวลา กฎหมายซ้อมทรมาน ม.22-25 ออกไปอีก 8 เดือน เข้าข่ายผิดรัฐธรรมนูญ

22 กุมภาพันธ์ 2566 นายสุทัศน์ เงินหมื่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ได้นำเรื่องที่ได้ร่วมเป็นผู้เสนอ พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ในนามของพรรค เพื่อให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ และกฎหมายดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ในวันนี้(22 ก.พ.) แต่รัฐบาลได้มีการออกพระราชกำหนดยกเว้นไม่บังคับใช้ มาตรา 22 – 25 ออกไปอีกเป็นเวลา 8 เดือน ด้วยเหตุผลว่า สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ยังไม่มีความพร้อม

“สุทัศน์” จี้ถามหาความรับผิดชอบ รัฐบาลขยายเวลา กม.ซ้อมทรมาน ผิดรธน.

โดยเรื่องนี้ พล.ต.อ.สุรเชษฐ์ หักพาล รองผู้บัญชาการ สตช. ได้เข้าชี้แจงในชั้นกรรมาธิการว่า สตช. นั้นมีความพร้อม และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายฉบับดังกล่าว ได้เข้ายืนยันต่อ กมธ. ว่า มีความพร้อมเช่นกัน การที่รัฐบาลออก พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย ในลักษณะนี้ ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เนื่องจาก การออกพระราชกำหนด จะต้องทำไปเพื่อประโยชน์ และรักษาความปลอดภัยของประเทศ เพื่อความปลอดภัยของสาธารณะ เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และป้องกันภัยพิบัติ

“สุทัศน์” จี้ถามหาความรับผิดชอบ รัฐบาลขยายเวลา กม.ซ้อมทรมาน ผิดรธน.

ดังนั้นการที่รัฐบาลออก พ.ร.ก. ดังกล่าว จึงไม่สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน นายกรัฐมนตรี ก็ไม่รีบนำส่ง พ.ร.ก. ดังกล่าวมาให้รัฐสภารับรองภายในกำหนดโดยเร็วอีกด้วย ซึ่งขัดกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 172 (3)

“การกระทำดังกล่าวนี้ กระผมอยากถามว่า ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วประเทศไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการกระทำของเจ้าหน้าที่ กระผมขอความกรุณา ขอคนยากจนมีกฎหมายเป็นหลังพิงบ้าง อย่าให้อยู่อย่างหลังพิงฝาหน้าพิงลูกกรง จบลงที่ถุงดำอีกเลย” นายสุทัศน์ กล่าว

ข่าวที่เกี่ยวข้อง :

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้(14 ก.พ.) ว่า ครม.เห็นชอบร่างพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 พ.ศ. .. 

ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 เพื่อขยายกำหนดเวลาในการมีผลใช้บังคับเฉพาะมาตรา 22 มาตรา 23 มาตรา 24 และมาตรา 25 ออกไป ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2566 เป็นต้นไป จากเดิมที่เริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2566 รายละเอียด ดังนี้

     มาตรา 22 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกภาพและเสียงอย่างต่อเนื่องในขณะจับ และควบคุมจนกระทั่งส่งตัวให้พนักงานสอบสวนหรือปล่อยตัวบุคคลดังกล่าว

     มาตรา 23 การควบคุมตัว เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้รับผิดชอบต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว

     มาตรา 24 การเข้าถึงข้อมูลของผู้ถูกควบคุมตัว

     และมาตรา 25 การไม่เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับผู้ถูกควบคุมตัว กรณีอยู่ภายใต้การคุ้มครองของกฎหมาย ละเมิดต่อความเป็นส่วนตัว เกิดผลร้ายต่อบุคคล หรือเป็นอุปสรรคต่อการสืบสวนสอบสวน

logoline