svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

05 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รศ.ดร.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร ให้นิยามวิธีการหาเสียงแบบลุงป้อมว่า “ไม่หรู แต่ดูแพง” แสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้นำที่สัมผัสได้

ฮือฮาไปอีก เมื่อ "บิ๊กปัอม" พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ เดินพบปะประชาชนตั้งแต่เช้าตรู่ที่สวนลุมพินี พร้อมแวะซื้ออาหารจากร้านดังกลับบ้าน

ก่อนหน้านี้ก็สร้างกระแสแนวๆ เดียวกันมาแล้วหลายครั้ง ทั้งการเดินตลาด อ.ต.ก. และเยาวราช โชว์ลีลานักการเมืองใกล้ชิดประชาชน ทิ้งห่าง "น้องรัก" พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติแบบไม่เห็นฝุ่น

รศ.ดร.ฐิติวุฒิ บุญยวงศ์วิวัชร อาจารย์ประจำสำนักวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้นิยามวิธีการหาเสียงแบบนี้ว่า "การหาเสียงแบบมินิมอล"

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

บทความที่น่าสนใจ

อาจารย์ขยายความว่า บางทีการหาเสียงเลือกตั้งในปัจจุบันมักให้ความสนใจในเรื่องของการสร้างนโยบายและการสร้างแพลตฟอร์มที่หรูหรา แต่วิธีการของ "ลุงป้อม" คือการหาเสียงแบบธรรมดา กล่าวคือ ในโซเชียลมีเดียก็ทำงานไป แนวรบพรรคการเมืองก็ทำงานไป

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

แต่การวางตัวเองในฐานะของผู้นำในอนาคต คือการสร้าง “ผู้นำแบบสัมผัสได้” โดยเฉพาะการใช้เครื่องมือหาเสียงแบบเลือกพื้นที่, เวลา, ความเหมาะสม ผนวกกับการสร้างภาพลักษณ์แบบลดทอนความชรา นี่คือรูปแบบการหาเสียงแบบเดิมๆ แต่ไม่เคยล้าสมัยและเป็นการหาเสียงที่เรียกได้ว่ามินิมอล คือ … เล็กแต่ดัง ไม่หรูแต่ดูแพง…

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

หาเสียงแบบมินิมอล นิยาม "ป้อมเหนือเมฆ"

 

logoline