svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดรามา "คลองโอ่งอ่าง" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง

10 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรณีดรามา "คลองโอ่งอ่าง" ถูกปล่อยทิ้งร้างเป็นที่จอดรถ Landmark กทม. กับคำวิจารณ์ถูกละเลยเพราะเกมการเมือง รู้จักปูมหลัง และคำชี้แจงผู้เกี่ยวข้อง

เป็นอีกดรามาของคนเมืองกรุง กรณี "คลองโอ่งอ่าง" อีกหนึ่ง Landmark สำคัญของกรุงเทพมหานคร  คลองที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ตั้งแต่ช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ขณะนี้มีผู้คนในสังคมจำนวนมากให้ความสนใจ และวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง จากกรณี "คลองโอ่งอ่าง" ที่ได้รับการปรับปรุงภูมิทัศน์ในช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ถูกปล่อยทิ้งร้าง 

ดรามา "คลองโอ่งอ่าง" ถูกทิ้งร้าง ครุกรุ่นมาสักระยะ หลังข่าวการจัด event ที่ Landmark แห่งนี้มีน้อยลงในระยะหลัง ๆ และยิ่งกลายเป็นประเด็นให้ผู้คนพูดถึงเมื่อ แฟนเพจเฟซบุ๊ก ฟุตบาทไทยสไตล์ ได้นำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับทางเท้าบริเวณริมคลองโอ่งอ่าง โดยระบุว่า 
 

"ฝากเรื่องหน่อยครับ ริมคลองโอ่งอ่าง ฝั่งหลังโรงแรมมิราม่า เพิ่งปูพื้นใหม่ได้ไม่ถึง 5 เดือน ก็ทำเป็นที่จอดรถไปแล้ว เคยลองไปเดินเหมือนกระเบื้องบางแผ่นจะหลุดร่อนแล้วด้วยครับ "




ภายหลังโพสต์ถูกเผยแพร่ ได้มีผู้คนจำนวนมาก เข้ามาแสดงความคิดเห็น โดยส่วนมากพุ่งเป้าวิพากษ์วิจารณ์หน่วยงานที่รับผิดชอบอย่างกรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขต ที่เป็นหน่วยงานหลักในการดูแลพื้นที่ บางส่วนก็เปรียบเทียบผลงานระหว่างนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. ในปัจจุบัน กับ พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง อดีตผู้ว่าฯ กทม. คนก่อน
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต
ตัวอย่างความคิดเห็นชาวเน็ต

Nation STORY จะพาไปดูถึงปูมหลัง "คลองโอ่งอ่าง" แห่งนี้ว่า กว่าจะเป็นอีกใน Landmark ของ กทม. มีความเป็นมาอย่างไร และคำชี้แจงจากผู้ที่เกี่ยวข้องว่า "คลองโอ่งอ่าง" แห่งนี้ ถูกปล่อยทิ้งร้างแล้วจริงหรือไม่....
 

ปูมหลัง "คลองโอ่งอ่าง" จากอดีต สู่ปัจจุบัน และอนาคต 

"คลองโอ่งอ่าง" เป็นคลองสมัยโบราณ ถูกขุดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 ให้เป็นคลองคูเมือง กรุงเทพรอบที่ 2 เป็นการขุดคลองเชื่อมระหว่างคลองบางลำภู บริเวณสะพานผ่านฟ้า ไปแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามสะพานพระปกเกล้า ในสมัยสร้างใหม่ ๆ เป็นแหล่งค้าค้าขายเครื่องปั้นดินเผาของชาวจีนและชาวมอญ จนกลายเป็นที่มาของชื่อคลองโอ่งอ่าง 
ดรามา \"คลองโอ่งอ่าง\" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง

โดยคลองโอ่งอ่างในสมัยโบราณ มีสะพานที่เป็นเอกลักษณ์ คือ "สะพานหัน" เป็นสะพานที่มีหลังคา (สร้างสมัยรัชกาลที่ 5) มีแรงบันดาลใจมาจาก Ponte di Rialto ของ เวนิส ประเทศอิตาลี เพื่อเป็นห้องขายสินค้า เป็นประตูเชื่อมต่อไปถนนสำเพ็ง ที่เป็นแหล่งค้าขายสำคัญของกรุงเทพ มาตั้งแต่ยุคนั้น  ก่อนที่สะพานหันแบบมีหลังคาจะถูกรื้อ และก่อสร้างใหม่ทดแทนด้วยสะพานคอนกรีตแบบในปัจจุบัน ในปี 2505
ดรามา \"คลองโอ่งอ่าง\" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง  

ต่อมาในปี 2525 ทาง กรุงเทพมหานคร ได้เปิดสัมปทานเปิดพื้นที่ให้เช่า บนคลองโอ่งอ่าง เพื่อย้ายผู้ค้าจากคลองถมเดิม มาที่สะพานเหล็กนี้แทน จนกลายเป็นย่านสะพานเหล็กทับคลอง เป็นแหล่งขายเกม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และกลายเป็นอีกแหล่งการค้าที่มีความหนาแน่น
ดรามา \"คลองโอ่งอ่าง\" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง
 

ปี 2543 คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่า มีมติให้กรุงเทพมหานคร รื้อถอนอาคาร และแผงค้าที่รุกล้ำบริเวณคลองโอ่งอ่าง ซึ่งมีจำนวนประมาณ 500 แผง ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตพระนคร 375 แผง และเขตสัมพันธวงศ์ 125 แผง เนื่องจากก่อให้เกิดความสกปรก และเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค กีดขวางการสัญจรทางน้ำและเป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำ แต่ทาง กรุงเทพมหานคร  ในขณะนั้น ก็ไม่ได้มีการทำตามมติของคณะกรรมการเกาะรัตนโกสินทร์

กระทั่งปี 2558 ช่วงรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ กทม. ที่มี พล.ต.อ.อัศวิน ขวัญเมือง เป็นผู้ว่าฯ ได้ดำเนินนโยบายจัดระเบียบสังคม มีมติให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่รุกล้ำคลองโอ่งอ่าง และจากการถูกปล่อยทิ้งร้าง ทำให้คลองโอ่อ่าง มีสภาพเน่าเสีย กลายเป็นพื้นที่ให้คนเร่ร่อนมาหลับนอน สร้างความไม่ปลอดภัย ให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งในช่วงแรกหลักจากการรื้อถอนย่านสะพานเหล็กออกไป ได้มีการทางเดินชั่วคราว ท่ามการเสียงวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก 
ดรามา \"คลองโอ่งอ่าง\" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง

จากคลองน้ำเน่า กลายมาเป็นถนนคนเดิน Landmark แห่งใหม่ของ กทม.

การพัฒนาคลองโอ่งอ่าง กทม. มีแผนต่อเนื่องในการพัฒนาพื้นที่ริมคลองโอ่งอ่าง 2 ข้างทาง ให้เป็น Land Mark แห่งใหม่ของ กทม. ในช่วงแรก ด้วยงบลงทุนกว่า 325 ล้านบาท ตั้งแต่สะพานดำรงสถิต ถึง สะพานโอสถานนท์ ระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร ได้แก่

- สร้างกำแพงเขื่อนกันดิน
- ปรับพื้นที่ถนนของสะพานเหล็กเดิม ให้เป็นถนนปูอิฐ
- ย้ายท่อร้อยสายไฟแรงสูงเดิมที่พาดผ่านตัวคลอง ไปเป็นฝังใต้ดิน
- วางท่อรับน้ำเสียจากบ้านเรือนริมคลองเพื่อไม่ให้ทิ้งน้ำเสียลงคลอง
- วางท่อจ่ายน้ำประปาเข้าบ้านเรือน
- ปรับปรุงภูมิทัศน์ตลอด 2 ข้างทางริมคลอง
- ปรับปรุงสะพานข้ามคลอง 5 แห่ง ได้แก่ สะพานดำรงสถิต, สะพานภาณุพันธุ์, สะพานหัน, สะพานบพิตรพิมุข และสะพานโอสถานนท์
ดรามา \"คลองโอ่งอ่าง\" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง

การปรับปรุงภูมิทัศน์ดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อคืนพื้นที่คลองและพื้นที่สีเขียวตลอดแนวคลอง ตั้งแต่สะพานดำรงสถิต-สะพานโอสถานนท์ โดยปลูกไม้ยืนต้นและพันธุ์ไม้ต่าง ๆ เพื่อความร่มรื่นและสวยงาม ปรับปรุงแนวเขื่อนริมคลอง ทางเดินริมคลอง และ สะพานข้ามคลอง 5 แห่ง จนได้รับรางวัล 2020 Asian Townscape Awards จากโครงการตั้งถิ่นฐานมนุษย์แห่งสหประชาชาติ (UN-HABITAT)
ดรามา \"คลองโอ่งอ่าง\" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง

จากการปรับปรุงภูมิทัศน์ดูแลความสะอาดคลองโอ่งอ่าง ทำให้คลองโอ่งอ่างกลายเป็น Landmark แห่งใหม่ของกรุงเทพฯ และเป็นต้นแบบการปรับปรุงภูมิทัศน์ในอีกหลายคลองของประเทศไทย มีการจัดทำโครงการถนนคนเดินทุกวันศุกร์ วันเสาร์ และ วันอาทิตย์  โดยก่อนหน้านี้กรุงเทพมหานคร ได้จัดเทศกาลลอยกระทง 2566  คลองโอ่งอ่าง ได้รับการตอบรับจากนักท่องเที่ยว 

อย่างไรก็ตามในระยะหลัง บริเวณ "คลองโอ่งอ่าง"  มีการจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยวน้อยลง และมีรายงานการเกิดน้ำเสียภายในคลอง จึงทำให้เกิดดรามาคลองโอ่งอ่างถูกปล่อยทิ้งขึ้นดังกล่าว

รองผู้ว่าฯ กทม. ชี้แจงอยู่ระหว่างการพัฒนาเพิ่มเติม 

กรณีดรามา "คลองโอ่งอ่าง" ถูกปล่อยทิ้งร้าง นายศานนท์ หวังสร้างบุญ รองผู้ว่าฯ กทม. ได้มีการโพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว "ศานนท์ หวังสร้างบุญ" ชี้แจงว่า 

คนส่งรูปคลองโอ่งมาเยอะ ผมขอชี้แจงสั้น ๆ ก่อนจะแชร์กันไปไกลครับ 

รูปรถที่จอดอยู่ริมคลองโอ่งอ่าง คือพื้นที่ของงานก่อสร้างส่วนต่อขยายที่ทำเพิ่ม และยังก่อสร้างไม่เสร็จของสำนักระบายน้ำ ที่กรุงเทพมหานครยังไม่ได้รับมอบจากผู้รับเหมาครับ แต่อย่างไรก็ตามเขตได้กำชับผู้รับเหมาแล้ว งานส่วนต่อขยายเฟสนี้ จะทำให้คลองโอ่งอ่างเดิม เดินเชื่อมไปยังคลองบางลำพูทางทิศเหนือได้ เชื่อมย่านสะพานหัน พาหุรัด ไปถึงสามยอด ประตูผี บางลำพูเข้าด้วยกัน เป็นเส้นทางที่จะทำให้เราสามารถเดินเชื่อมย่านกันได้ต่อเนื่อง

ย่านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยว เกิดขึ้นได้ หัวใจคือการมีอัตลักษณ์ที่เกิดจากคนในพื้นที่เอง หากเอาร้านค้านอกพื้นที่มาจัดเป็น event จัดเป็นตลาดก็คงไม่ยั่งยืนในระยะยาว ทำได้เป็นเพียงการกระตุ้นระยะสั้นบางครั้งบางคราวเท่านั้น การรวมตัวของคนในพื้นที่เพื่อสร้างอัตลักษณ์จึงสำคัญ เหมือนคลองโอ่งอ่างช่วงสะพานหันที่รวมตัวกันเปิดร้านอาหารอินเดีย จัดงาน little india คนก็มาเดินกันคึกคัก

เช่นเดียวกับย่านทรงวาด ปากคลองตลาด สำเพ็ง เยาวราช ตลาดน้อย กะดีจีน บางโพ บางมด หัวตะเข้ และอีกมากมายในนโยบายย่านสร้างสรรค์ ที่คนเดินกันคึกคักไม่ใช่เพราะเราไปจัด event แต่เป็นเพราะเขามีอัตลักษณ์ของตนเอง 

น้อมรับทุกความเห็น และจะนำไปปรับปรุงให้ดีขึ้นครับ

ปล. รูปที่แนบในคอมเมนต์นี้คือรูป Street Art จากศิลปินไอร์แลนด์ที่คนในชุมชนฝั่งสะพานเหล็กชวนมาร่วมกัน ส่วนแผนการกระตุ้น/พัฒนาในอนาคต เขตพระนครและสัมพันธวงศ์จะร่วมกันชี้แจงอีกครั้งครับ

ดรามา \"คลองโอ่งอ่าง\" ถูกปล่อยทิ้งร้าง กับคำชี้แจงจากผู้เกี่ยวข้อง

โฆษกฯ กทม. ชี้แจงข้อวิจารณ์คลองโอ่งอ่าง พร้อมเดินหน้าแผนฟื้นฟู 3 ระยะ 

ขณะที่ นายเอกวรัญญู อัมระปาล ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และโฆษกกรุงเทพมหานคร ชี้แจงประเด็นที่มีข้อวิจารณ์ว่า กทม. ปล่อยให้ "คลองโอ่งอ่าง" หมดคุณค่า Landmark ใน 3 ประเด็น คือ 

•ประเด็นที่หนึ่ง ความคืบหน้าการบูรณาการจัดการพื้นที่ บริเวณคลองโอ่งอ่าง รวมทั้งมาตรการส่งเสริมฟื้นฟูการท่องเที่ยวในพื้นที่ ตามที่มีข้อสังเกตคลองโอ่งอ่างถูกปล่อยทิ้งร้าง 

สำนักงานเขตพระนคร ได้ลงพื้นที่สร้างความเข้าใจกับแกนนำ อาทิ ผู้ค้าเดิมในพื้นที่สะพานเหล็ก ผู้ประกอบในพื้นที่ใกล้เคียง เพื่อวางแผนฟื้นฟูถนนคนเดินคลองโอ่งอ่าง ทั้งนี้ ได้มีมาตรการในการส่งเสริมฟื้นฟูการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยวางแผนไว้ 3 ระยะ คือ

ระยะสั้น : ภายใน 2 เดือน เริ่มต้นเปิดตัวดึงอัตลักษณ์ของสะพานเหล็กในการจัดเทศกาลและกิจกรรม ในช่วงก่อนเทศกาลสงกรานต์ที่จะถึงนี้

ระยะกลาง : ภายใน 4 เดือน ใช้การประเมินและปรับรูปแบบกิจกรรมหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมระยะสั้น พร้อมประชุมร่วมกับแกนนำและผู้ค้าถึงแนวทางการต่อยอดถนนคนเดินให้ยั่งยืน เช่น การทดลองจัดกิจกรรมสั้น ๆ ช่วงสุดสัปดาห์ โดยให้แกนนำขับเคลื่อนทั้งหมด และสำนักงานเขตเป็นที่ปรึกษา

ระยะยาว : ในประมาณ 6-8 เดือน ทดลองเปิดโอกาสให้แกนนำ บริหารจัดการด้วยตนเอง

•ประเด็นที่สอง กรณีบริเวณทางเท้าริมคลองด้านหลังโรงแรมมิราม่า ซึ่งมีผู้นำรถยนต์มาจอด รวมถึงมีคนเร่ร่อนมาอาศัย เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในพื้นที่ก่อสร้างส่วนต่อขยาย ที่ขณะนี้สำนักการโยธาอยู่ระหว่างปรับปรุงและยังมิได้ส่งมอบงาน

ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่เทศกิจ ได้ประชาสัมพันธ์งดการจอดในพื้นที่ดังกล่าว และในอนาคตทางผู้รับจ้างจะพิจารณาติดตั้งอุปกรณ์กั้นรถยนต์เข้ามาจอด สำหรับปัญหาคนเร่ร่อน นอนทางเดิน เจ้าหน้าที่จะเพิ่มความถี่และกำชับตรวจตราไม่ให้มีการหลับนอนในที่สาธารณะพร้อมจัดระเบียบอย่างต่อเนื่อง

•ประเด็นที่สาม สภาพน้ำในคลองโอ่งอ่าง ตามที่มีข้อสังเกตพบว่า มีขยะลอย น้ำเริ่มเน่าเสีย และส่งกลิ่นเหม็น 

สำนักงานเขตพระนครและสำนักการระบายน้ำ ได้ร่วมลงพื้นที่สำรวจคลองโอ่งอ่าง เพื่อตรวจสอบท่อระบายน้ำเสีย ที่ปล่อยลงคลองโอ่งอ่างโดยตรง ซึ่งได้ตรวจพบจุดปล่อยน้ำเสีย ทราบถึงปัญหาและพร้อมดำเนินการปรับปรุงเพื่อนำน้ำเสียเข้าสู่ระบบบำบัดน้ำต่อไป 


ขอบคุณข้อมูลและภาพ : วิกิพีเดีย 
สำนักงานเขตพระนคร
กรมประชาสัมพันธ์
เพจเฟซบุ๊ก ฟุตบาทไทยสไตล์
เพจเฟซบุ๊ก กรุงเทพมหานคร
เพจเฟซบุ๊ก ศานนท์ หวังสร้างบุญ 

logoline