svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด

26 ธันวาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

มามุงทางนี้ รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการเตรียมพร้อมรับมือป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนโดยตลอด ฟังเหตุผลแล้วจะอึ้ง กับความจริงที่ไม่เคยถูกส่งเสียงให้ดังพอ

น่าเป็นห่วงเป็นอย่างมาก สำหรับสถานการณ์ น้ำท่วมภาคใต้ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากฝนที่ตกหนักต่อเนื่อง ตั้งแต่วันที่ 22 ธ.ค. ที่ผ่านมา ตามคำแจ้งเตือนของ กรมอุตุนิยมวิทยา ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ของประเทศ กำลังตื่นเต้นดีใจ กับสภาพอากาศที่หนาวเย็นลง 

น้ำท่วมภาคใต้ ครั้งนี้ ชาวบ้านระบุว่า หนักสุดในรอบหลายสิบปี มีประชาชนจำนวนมากได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะที่ จ.นราธิวาส ที่ ปภ. สรุปความเสียหาย มีพื้นที่ได้รับผลกระทบ จำนวน 13 อำเภอ 69 ตำบล 467 หมู่บ้าน 38,089 ครัวเรือน 147,688 คน 16 ชุมชน โรงเรียน 254 แห่ง มัสยิด 13 แห่ง วัด 18 แห่ง ที่พักสงฆ์ 3 แห่ง รพ.สต. 1 แห่ง ตาดีกา 3 แห่ง โรงเรียนสอนศาสนาอิสลาม 1 แห่ง ปศุสัตว์ (แพะ) 2 ตัว 
รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด  

ทั้งนี้ ในส่วนของการช่วยเหลือจากนี้ เป็นหน้าที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แต่สิ่งที่ชวนน่าสงสัยคือ เหตุใดภาคใต้จึงเกิดน้ำท่วมซ้ำซาก และเมื่อเกิดสถานการณ์แต่ละครั้ง ก็มีความเสียหายอย่างหนัก ทั้งที่มีพื้นที่ใกล้ทะเล น่าจะมีการระบายน้ำได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงมีการแจ้งเตือน  
รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด
รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด

คำถามดังกล่าว รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ รองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้มีการโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ อธิบายไว้ว่า 

#นราธิวาสจมบาดาลบทเรียนและช่องว่างที่ไม่แก้ไขสักที
 

  • เมื่อวันพุธที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา ผมได้แจ้งเฝ้าระวังเหตุการณ์ฝนตกหนักมาก และน้ำไหลหลากบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (นราธิวาส ยะลา และปัตตานี) วันที่ 23-25 ธันวาคม เนื่องจากผลการประเมินดัชนีความรุนแรงของปริมาณฝนอยู่ในระดับ 90% (ดูรูปแนบ) เป็นระดับรุนแรงวิกฤต ซึ่งไม่เคยเจอมาก่อนในรอบหลายปี ต่อมา เมื่อวันเสาร์ที่ 23 ธันวามคม ผมในนามรองประธานมูลนิธิสภาเตือนภัยพิบัติแห่งชาติ ได้ประกาศทางสถานีวิทยุแทบทุกสถานี ยกระดับจากการเฝ้าระวังเป็นการเตือนภัยให้เตรียมย้ายรถยนต์ ทรัพย์สินไปอยู่ในที่สูงพร้อมเตรียมการอพยพไปอยู่ในที่ปลอดภัย
     

รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด
 

  • ข้อมูลปริมาณฝนตกจาก สสน. ตั้งแต่ 07.00 วันที่ 24 ธันวาคม ถึง 07.00 วันที่ 25 ธันวาคม มีปริมาณตั้งแต่ 300-650 mm โดยเฉพาะใน อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส มีมากถึง 650 mm คำถามปริมาณฝนขนาดนี้จะสร้างความเสียหายขนาดใหน ? หน่วยงานใดจะทำหน้าที่ประเมินความรุนแรงของเหตุการณ์ ? หน่วยงานใดจะแจ้งเตือน ? แบบถึงตัวชาวบ้าน เพื่อเตรียมแผนอพยพประชาชน ?

    ภารกิจต่างๆเหล่านี้ยังเป็นช่องว่างที่ทำให้สถานการณ์รุนแรงมากขึ้น หน่วยงานกลาง เช่น สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช) ไม่สามารถทำได้ เพราะเป็นองค์กรด้าน Regulator ไม่ใช่ Operator ขาดความเข้าใจสภาพพื้นที่ และองค์ความรู้เฉพาะด้าน

    คำตอบจึงอยู่ที่ต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับท้องถิ่น เพราะท้องถิ่นเป็นผู้ประสบภัยในลำดับแรก และเป็นผู้ฟื้นกลับในลำดับสุดท้าย คำถามจึงอยู่ว่า ท้องถิ่นที่ว่าจะเป็นหน่วยใด ? มีเทคนิคอย่างไร ? คำตอบตามหลักสากล จากประสบการณ์ทำงานกับ IPCC และ UNDP และภาคเอกชนหลายราย เราทำให้ท้องถิ่นเข้มแข็งได้ภายใน 3 ปี เปลี่ยนผ่าน จาก CRM (Climate Risk Management) เป็น CRP (Climate Resilient Pathway) 
     

รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด
 

  • สถานการณ์ฝนใน จ.นราธิวาสยังคงมีอยู่จนถึงปลายปี (ประมาณ 20-60 mm) ซึ่งจะไม่ทำให้สถานการณ์น้ำท่วมรุนแรงขึ้น หากการระบายน้ำภายใน 1-2 วันมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ช่วงนี้เป็นช่วงฤดูฝนของภาคใต้ เรื่องของพายุฝน ยังคงต้องติดตามสถานการณ์ด้วยครับ
     

รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด
 

  • สำหรับความหนาวเย็นจะยังคงมีอยู่ในภาคเหนือ ภาคอีสานบน จนถึงปีใหม่ (อุณหภูมิต่ำสุด ±12oC) และหลังจากนั้น อุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นตามลำดับ ส่วนภาคอื่น ๆ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ สภาพอากาศกำลังเย็นสบายดี อุณหภูมิต่ำสุด ± 22oC (ดูรูปประกอบ)
     

รู้ไหมทำไมภาคใต้จมบาดาลซ้ำซาก ไม่มีการป้องกัน ทั้งที่มีการแจ้งเตือนตลอด


 

logoline