svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน

26 ตุลาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT ชวนคนรักดวงดาวรอชม ปรากฎการณ์ "จันทรุปราคาบางส่วน" ที่จะเกิดขึ้นเหนือฟากฟ้าเมืองไทย ช่วงเช้ามืด 29 ตุลาคม ตรงกับ วันออกพรรษา สังเกตได้เวลาประมาณ 02:35-03:52 น.

เพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ แจ้งข่าวถึงคนรักดวงดาวอีกครั้ง โดยมีใจความระบุว่า 

เช้ามืด 29 ตุลาคม วันออกพรรษา เกิด #จันทรุปราคาบางส่วน เหนือฟ้าเมืองไทย สังเกตได้เวลาประมาณ 02:35-03:52 น. ติดตาม LIVE ปรากฏการณ์ได้ทางเพจเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

วันที่ 29 ตุลาคม 2566 ซึ่งตรงกับ ดวงจันทร์เต็มดวงในเช้าวันออกพรรษา จะเกิดปรากฏการณ์ "จันทรุปราคาบางส่วน" ในช่วงเช้ามืด สังเกตได้บริเวณทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แปซิฟิก แอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย อาร์กติก แอนตาร์กติกา สำหรับประเทศไทยเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 01:01 - 05:26 น. (เวลาท้องถิ่น ณ กรุงเทพมหานคร) ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เวลาประมาณ 01:01 น. แสงสว่างของดวงจันทร์จะลดลงเล็กน้อย สังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก

ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน

ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน

ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน

 

จนกระทั่งเวลาประมาณ 02:35 น. ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน ดวงจันทร์เต็มดวงจะค่อย ๆ เว้าแหว่งไปทีละน้อย เงาโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03:14 น. ประมาณร้อยละ 6 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ จนสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 03:52 น. รวมเวลาเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนาน 1 ชั่วโมง 17 นาที จากนั้นดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลกอีกครั้ง และสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาโดยสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 05:26 น.

#ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน มีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดเฉพาะวันดวงจันทร์เต็มดวง หรือในช่วงข้างขึ้น 14-15 ค่ำ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อย ๆ กรณีที่ดวงจันทร์เคลื่อนผ่านเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกทั้งดวง เรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง หากเคลื่อนผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกบางส่วน เรียกว่า จันทรุปราคาบางส่วน และเคลื่อนผ่านเฉพาะส่วนที่เป็นเงามัวของโลก เรียกว่า จันทรุปราคาเงามัว ซึ่งสังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก
ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน

สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่จะสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยครั้งถัดไป เป็น "จันทรุปราคาเต็มดวง" ในคืนวันที่ 7 ถึงเช้ามืดวันที่ 8 กันยายน 2568

#NARIT #LunarEclipse

เคยสงสัยกันบ้างไหม "จันทรุปราคา" คืออะไร?

ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่หาดูได้ยาก มีกี่ชนิด? เดือนพฤศจิกายน วันลอยกระทง 2566 วันวิสาขบูชา จะเกิดปรากฎการณ์ราหูอมจันทร์ หรือที่เรียกว่า จันทรุปราคาเต็มดวง บนท้องฟ้า ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติแสนงดงามที่หลายคนต่างตั้งตารอคอย

จันทรุปราคา คืออะไร? ปรากฎการณ์ธรรมชาติที่หาดูได้ยากเช่นกัน มีกี่ชนิด กี่แบบกันแน่?

มาร่วมไขข้อสงสัยกันตรงนี้

รู้ไหมว่า จันทรุปราคาเต็มดวงมีกี่ชนิด รวบตึงทุกข้อมูลมาให้รู้จัก ปรากฎการณ์ธรรมชาติ ที่สุดแสนจะประทับใจกันให้มากขึ้น

จันทรุปราคา มีกี่ชนิด?

จันทรุปราคา หรือบางครั้งก็นิยมเรียกกันว่า "ราหูอมจันทร์" เพราะลักษณะคล้ายเงามืดทับสีของพระจันทร์ ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิด คือ

  • จันทรุปราคาเงามัว (Penumbra Eclipse)  จะเกิดขึ้นในส่วนเงามัว เมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามัวของโลก แต่จันทรุปราคาลักษณะนี้เราจะสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงได้ยาก
  • จันทรุปราคาบางส่วน (Partial Eclipse)  จะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืด เราจะสามารถเห็นจันทรุปราคาได้บางส่วนเนื่องจากถูกเงามืดของโลกบดบังไป ภาพดวงจันทร์ที่เห็นจึงมีลักษณะเว้าแหว่ง
  • จันทรุปราคาเต็มดวง (Total Eclipse) จะเกิดขึ้นเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ผ่านเงามืดของโลก โดยดวงจันทร์ทั้งดวงจะซ้อนทับกับเงามืดพอดี

แล้ว จันทรุปราคาเงามัวคืออะไร ???

การเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา จะเริ่มจากการเกิดเงามัวก่อน ซึ่งดวงจันทร์ที่เราเห้นจะมีลักษณะเว้าแหว่ง หรือที่เรียกว่าปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน

จากนั้นดวงจันทร์จะเริ่มเคลื่อนที่เข้าสู่เงามืดของโลกจนกระทั่งผสานครบทั้งดวง เราเลยเรียกว่า ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ซึ่งโดยทั่วไปการเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง (Total Lunar Eclipse) จะเกิดขึ้นเพียง 1-2 ชั่วโมงเท่านั้น และนี่คือเสน่ห์ของการดู ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ที่ใครที่ชื่นชอบต้องเฝ้ารอการค่อย ๆ เคลื่อนที่ทีละนิด

ความงดงามแต่ละการเคลื่อนที่นั้น ยิ่งชวนให้คนที่ชื่นชอบการดูดวงดาว ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นบนท้องฟ้าหลงใหล เพราะบางปรากฎการณ์หาดูไม่ได้ง่าย ๆ จริง

สำหรับคนที่รักการดูดวงดาว สามารถติดตามปรากฏการณ์ธรรมชาติบนท้องฟ้า ได้ที่ NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

ปิดท้ายกับ เกาะติด >> สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2566 <<

อีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจ "สุริยุปราคาและจันทรุปราคาในปี 2566" โดยหยิบยกมาจากบทความของ คุณวรเชษฐ์ บุญปลอด ที่ท่านเขียนไว้ในเพจดัง สมาคมดาราศาสตร์ไทย ระบุว่า

พ.ศ. 2566 มีสุริยุปราคาและจันทรุปราคาเกิดขึ้นอย่างละ 2 ครั้ง รวมเป็น 4 ครั้ง ประเทศไทยมีโอกาสเห็นจันทรุปราคาทั้งสองครั้ง แต่เป็นจันทรุปราคาเงามัวซึ่งสังเกตได้ยาก และจันทรุปราคาบางส่วน นอกจากนี้ พื้นที่บางส่วนของประเทศไทยสามารถสังเกตสุริยุปราคาได้หนึ่งครั้ง

จันทรุปราคาบางส่วน รอชมพร้อมกัน วันออกพรรษานี้ 29 ตุลาคม 2566

หลังเที่ยงคืนของคืนวันเสาร์ที่ 28 ตุลาคม เข้าสู่เช้ามืดวันอาทิตย์ที่ 29 ตุลาคม 2566 จะเกิดจันทรุปราคาบางส่วน ทำให้พื้นผิวด้านทิศใต้ของดวงจันทร์มีลักษณะแหว่งเว้าไปเล็กน้อย บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของอเมริกา ยุโรป แอฟริกา เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแอตแลนติก และมหาสมุทรแปซิฟิก ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวแกะ มองเห็นดาวพฤหัสบดีอยู่สูงเหนือดวงจันทร์ประมาณ 7° ประเทศไทยสามารถสังเกตจันทรุปราคาครั้งนี้ได้ตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุด ขณะบังลึกที่สุด เงามืดของโลกบดบังดวงจันทร์ราว 12 เปอร์เซนต์ เมื่อวัดตามแนวเส้นผ่านศูนย์กลาง

เส้นทางการเคลื่อนที่ของดวงจันทร์เทียบกับเงาโลกขณะเกิดจันทรุปราคา (จาก วรเชษฐ์ บุญปลอด)

หมายเหตุ: ผลการคำนวณเวลาเกิดจันทรุปราคาขั้นตอนต่าง ๆ ในที่นี้ ใช้วิธีซึ่งคำนึงถึงสัณฐานที่เป็นทรงกลมแป้นของโลก (เส้นผ่านศูนย์กลางในแนวเส้นศูนย์สูตรยาวกว่าในแนวขั้ว) อันส่งผลให้เงามีรูปร่างเป็นวงรีเล็กน้อย โดยอ้างอิงจากผลงานวิจัยที่ได้จากการวัดเวลาของการเกิดจันทรุปราคาหลายครั้งในอดีต เวลาที่คำนวณได้จึงต่างกันเล็กน้อยเมื่อเทียบกับผลการคำนวณที่ตีพิมพ์ใน Astronomical Almanac ซึ่งใช้วิธีดั้งเดิมโดยกำหนดให้เงาโลกเป็นวงกลม นอกจากนี้ยังมีพารามิเตอร์ที่ต่างกันในการชดเชยผลจากบรรยากาศโลก และการเปลี่ยนแปลงที่ไม่แน่นอนของคาบการหมุนของโลก ซึ่งส่งผลต่อการพยากรณ์เวลาของปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ทั้งหมด

ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน
จันทรุปราคาบางส่วน ที่กำหนดจะเกิดขึ้นในวันที่ 29 ตุลาคม 2566 สื่อดังต่างแดน รายงานไว้ว่า จะสังเกตเห็น "จันทรุปราคาบางส่วน"นี้ ได้ในบริเวณทวีปยุโรป เอเชีย ออสเตรเลีย แอฟริกา อเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แปซิฟิก แอตแลนติก มหาสมุทรอินเดีย อาร์กติก แอนตาร์กติกา

สำหรับประเทศไทย จะสามารถเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่เวลาประมาณ 01.01 - 05.26 น. ทั้งนี้ ในค่ำคืนดังกล่าว ดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาเงามัว เวลาประมาณ 01.01 น. แสงสว่างของดวงจันทร์จะลดลงเล็กน้อย สังเกตด้วยตาเปล่าได้ค่อนข้างยาก จนกระทั่งเวลาประมาณ 02.35 น. 

ดวงจันทร์เข้าสู่เงามืดของโลก เกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน สังเกตเห็นดวงจันทร์เต็มดวง เว้าแหว่งไปทีละน้อย เงาโลกบังมากที่สุด เวลาประมาณ 03.14 น. ประมาณร้อยละ 6 ของเส้นผ่านศูนย์กลางดวงจันทร์ จนสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วนในเวลาประมาณ 03.52 น. รวมเวลาเกิดจันทรุปราคาบางส่วนนาน 1 ชั่วโมง 17 นาที จากนั้นดวงจันทร์เข้าสู่เงามัวของโลกอีกครั้ง และสิ้นสุดปรากฏการณ์โดยสมบูรณ์ในเวลาประมาณ 05.26 น.

สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่จะสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยรอบถัดไป เป็น “จันทรุปราคาเต็มดวง” ในวันที่ 8 กันยายน 2568  รออีก 2 ปีข้างหน้าจะได้เจอกันเเบบเต็มดวง!!

ขอขอบคุณที่มา : สมาคมดาราศาสตร์ไทย

ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน

ทางด้าน ดร.ศรัณย์ โปษยะจินดา ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ให้ข้อมูลที่นาสนใจไว้ว่า 

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลก ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปทีละน้อยจนดวงจันทร์เข้าไปอยู่เงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก ช่วงที่ดวงจันทร์โคจรเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกบางส่วนจะเรียกว่า “จันทรุปราคาบางส่วน” และช่วงที่ดวงจันทร์โคจรเข้าไปอยู่ในเงามืดของโลกทั้งดวง เรียกว่า “จันทรุปราคาเต็มดวง” จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงเป็นสีแดงอิฐ เนื่องจากได้รับแสงสีแดงซึ่งเป็นคลื่นที่ยาวที่สุด หักเหผ่านบรรยากาศโลกไปกระทบกับดวงจันทร์

ย้อนอ่านข้อมูลครั้งอดีต  

ทางสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มักจะจัดกิจกรรมสังเกตการณ์ปรากฏการณ์จันทรุปราคาเต็มดวง ในช่วงก่อนหน้านี้ เคยตั้งพิกัดชมจำนวน 4 จุด ตั้งแต่เวลา 17:00 – 21:00 น. ได้แก่ เชียงใหม่ นครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และสงขลา ชวนประชาชนส่องดวงจันทร์สีแดงอิฐผ่านกล้องโทรทรรศน์ พร้อมถ่ายทอดสดการเกิดปรากฏการณ์ผ่านจอภาพขนาดใหญ่ภายในบริเวณงานให้ชมกันอย่างเต็มตา รวมถึงกิจกรรมทางดาราศาสตร์อื่น ๆ ที่น่าสนใจ อาทิ แนะนำการดูดาวเบื้องต้น เรียนรู้ท้องฟ้าและกลุ่มดาวต่าง ๆ สังเกตวัตถุท้องฟ้าที่น่าสนใจ เช่น เนบิวลาในกลุ่มดาวนายพราน กระจุกดาวลูกไก่ กระจุกดาวคู่ กระจุกดาวเปิดในกลุ่มดาวหมาใหญ่ เป็นต้น เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมฟรี!! โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ

จุดสังเกตการณ์หลัก
เชียงใหม่ – ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเฟสติวัล เชียงใหม่ สอบถามเพิ่มเติม โทร. 081-8854353
นครราชสีมา – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา นครราชสีมา ภายในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี สอบถามเพิ่มเติม โทร. 086-4291489
ฉะเชิงเทรา – หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ฉะเชิงเทรา สอบถามเพิ่มเติม โทร. 084-0882264
สงขลา – ลานชมวิวนางเงือก หาดสมิหลา สงขลา สอบถามเพิ่มเติม โทร. 095-1450411

สำหรับปีนี้ หากมีความเคลื่อนไหว จะรีบนำรายละเอียด พิกัดรอชมมารายงานต่อไป

ย้ำดัง เช่นทุกครั้งว่า หากพลาดโอกาสนี้ สำหรับปรากฏการณ์จันทรุปราคาที่จะสังเกตเห็นได้ในประเทศไทยครั้งถัดไป เป็น "จันทรุปราคาเต็มดวง" ในคืนวันที่ 7 ถึงเช้ามืดวันที่ 8 กันยายน 2568

ขอขอบคุณที่มา: NARIT

ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน
ตั้งตารอ! NARIT ชวนชมจันทรุปราคาบางส่วน เช้ามืดวันออกพรรษา 29 ต.ค.นี้ เจอกัน

logoline