svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เปิดข้อมูลล่าสุด "พลายประตูผา" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

04 กรกฎาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผยข้อมูลสุดเศร้า "พลายประตูผา" ช้างไทยในศรีลังกา หลังถูกทางวัดพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย เผยภาพแล้วน่าเป็นห่วงมากๆ ข่าวนี้ทำเอาคนรักช้าง คนรักช้างไทยใจไม่ค่อยดีทีเดียว มาร่วมติดตามรายงานความคืบหน้ากันต่อไป เกาะติดทูตสันถวไมตรีในศรีลังกาที่น่าสงสารยิ่ง

ย้อนไปก่อนหน้านี้มีรายงานข่าวว่า "พลายประตูผา" 1 ใน 3 ช้างไทยที่อยู่ในศรีลังกา ถูกพาตัวออกนอกพื้นที่วัด Sri Dalada Maligawa เมืองแคนดี ประเทศศรีลังกา ทำให้ไม่เจอกับ น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา ที่ปรึกษาคณะการทำงานยุทธศาสตร์ และคณะ ที่เดินทางไปเยี่ยมช้างไทย โดยอ้างว่ามีอาการตกมัน

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

จากกรณีร้อนๆ สำหรับคนไทย และคนรักช้าง 

คนไทยสุดห่วง "พลายประตูผา" ชะตากรรมเป็นอย่างไร ? 

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

หลังถูกส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรีในศรีลังกา เมื่อปี 2522 ความน่ากังวลใจก็คือ มีอายุเยอะกว่าพลายศักดิ์สุรินทร์

สำหรับช้างไทยที่ส่งไปศรีลังกา ก่อนปี 2544 กรมป่าไม้ส่งออกช้าง 1 เชือกไปประเทศศรีลังกา คือ พลายประตูผา ต่อมาปี 2544 กรมป่าไม้ส่งออกช้าง 2 เชือกไปประเทศศรีลังกา คือ พลายศักดิ์สุรินทร์ และ พลายศรีณรงค์ 

ก่อนหน้านี้ "คุณกัญจนา ศิลปอาชา" ที่ปรึกษาคณะทำงานยุทธศาสตร์กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ เดินทางไปร่วมประเมินสุขภาพและความเป็นอยู่ของพลายศรีณรงค์ (Kandula) ณ Ali wadiya - elephants park ซึ่งตั้งอยู่ข้างวัด Kiri Vehera เมือง Katagarama ตั้งอยู่ทางตอนใต้ ระยะทางประมาณ 250 กิโลเมตร จากกรุงโคลัมโบ

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

ยืนยันว่า พลายศรีณรงค์ มีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี ถูกเลี้ยงอยู่ในโรงเลี้ยงขนาดใหญ่ มีสุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์ ลักษณะงดงาม สุภาพเรียบร้อย มีความสุข เข้ากับควาญช้างที่ดูแลมากว่า 6 ปี 

แต่สำหรับที่คนไทยเป็นห่วงอยู่ตอนนี้ คือ "พลายประตูผา" ช้างไทยมีอายุประมาณ 45 ปีที่ทางการไทยส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรี ตั้งแต่ช่วง ปี 2522 

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

"ยังไม่ทราบว่าพลายประตูผา ท่านเจ้าอาวาสเอาไปไว้ที่ไหนเเต่ได้ฝากท่านทูตว่าให้ช่วยตามไปเยี่ยมพลายประตูผา เเละส่งข่าวมาหน่อย เพราะพลายประตูผาจะอายุเยอะกว่าทั้ง 2 เชือก เเต่อย่างไรก็ตาม คาดว่า พลายประตูผาน่าจะอยู่ในสภาพที่ดีกว่าพลายศักดิ์สุรินทร์"

คุณกัญจนา ศิลปอาชา กล่าวในคลิปวิดีโอที่เผยเเพร่ผ่านช่องทาง เพจกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

เมื่อทีมข่าวแอบส่องไปที่ เพจเฟซบุ๊กของ อาจารย์ ดร.ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาพระพุทธศาสนา-วิทยาลัยสงฆ์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก Chayanan Assawadhammanond ระบุว่า เชือกที่ควรห่วงใยและควรได้เยี่ยมคือ พลายประตูผา เขาไม่ได้ดูดีและแข็งแรงแม้เพียงครึ่งของพลายศรีณรงค์​ เเละควรได้รับการดูแลที่ดีกว่าที่เป็นอยู่จำเป็นอย่างยิ่ง พลายประตูผาไม่มีโอกาสได้พบคณะบุคคลสำคัญจากประเทศไทย

 

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

อ้างอิงชุดข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ ระบุว่า มีจำนวนช้าง 20 เชือกเป็นทูตสันถวไมตรีใน 5 ประเทศ

ก่อนปี 2544 กรมป่าไม้ส่งออกช้าง 1 เชือกไปประเทศศรีลังกา (พลายประตูผา)

  • ปี 2544 กรมป่าไม้ส่งออกช้าง 2 เชือกไปประเทศศรีลังกา (พลายศักดิ์สุรินทร์ และ พลายศรีณรงค์)
  • ปี 2544 กรมป่าไม้ส่งออกช้าง 3 เชือกไปประเทศเดนมาร์ก
  • ปี 2545 กรมป่าไม้ ส่งออกช้าง 2 เชือกไปยังประเทศญี่ปุ่น
  • ปี 2547 กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ส่งช้าง 2 เชือกไปประเทศสวีเดน
  • ปี 2548 จังหวัดสุรินทร์ ส่งออกช้าง 2 เชือกไปประเทศญี่ปุ่น (พลายอาทิตย์ และ พังอุทัย)
  • ปี 2559 องค์การสวนสัตว์ในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งออกช้าง 8 เชือกไปประเทศออสเตรเลีย (พลายกุ้ง พังทองดี พังน้ำอ้อย พังดอกคูณ พังพรทิพย์ พังผักบุ้ง พังแตงโม ส่วนอีกเชือก ไม่ระบุชื่อ) 


ล่าสุด น.ส.กัญจนา เปิดเผยว่า 

แผนเดิมจะไปเยี่ยมพลายประตูผาที่อายุเยอะ แต่เพิ่งทราบก่อนเพียงวันเดียวว่า พลายประตูผาถูกย้ายไปที่อื่นชั่วคราว จากวัดพระเขี้ยวแก้วที่เขาอยู่ ซึ่งยังไม่ทราบข้อเท็จจริงดังกล่าว แต่มีข้อมูลเชิงลึกว่าทางวัดมีความความกังวลกับการมาของคณะคนไทย จึงประสานไปยังสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงโคลัมโบ และองค์กรพิทักษ์สัตว์ในศรีลังกา ให้ช่วยตรวจสอบเพื่อรายงานเรื่องสวัสดิภาพสัตว์

ทั้งนี้ทางด้าน อาจารย์ ดร.ชญาน์นันท์ อัศวธรรมานนท์ อาจารย์ประจำสาขาพระพุทธศาสนา-วิทยาลัยสงฆ์ โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก Chayanan Assawadhammanond โดยระบุว่า

"พลายประตูผาถูกย้ายไปอยู่สถานที่แห่งนี้ ดูชื่อและแผนที่ แต่รู้แล้วก็ไม่สามารถช่วยประตูผาได้ หรือยังอยู่วัดเล็กๆ ใกล้ตลาดและขนส่งเมืองแคนดี้เพราะตกมันก็เป็นไปได้ด้วย เขาควรได้รับการดูแลที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ จำเป็นอย่างยิ่ง พลายประตูผาไม่มีโอกาสได้พบคณะบุคคลสำคัญจากประเทศไทย

เชือกที่ควรห่วงใยและควรได้เยี่ยมได้เห็นคือเชือกนี้ #พลายประตูผา เขาไม่ได้ดูดีและแข็งแรงแม้เพียงครึ่งของพลายศรีณรงค์​

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย
ทำไมหรือช้างตกมัน เยี่ยมไม่ได้? ก็ไปมา 2 รอบแล้ว นั่งคุยนั่งเฝ้าช้างตกมันใกล้ๆ เป็นมิตรดีมาก สะบัดหู แกว่งหาง ยามได้กินกล้วยกินผลไม้

ช้างไทยพลายประตูผา ควรเปิดเผยให้สาธารณชนเห็นร่างกายและรอยแผล แต่ทำไม่ได้ใช่ไหม? #ทำไมจึงเปิดเผยไม่ได้?????? ได้ไปเห็นมาแล้วแย่น้อยกว่าศักดิ์สุรินทร์​และไม่มีใครพาเขากลับประเทศไทย

#ให้พลายประตูผา ได้รับเพียงการเยี่ยมเยียนก็ยังดีเพื่อช่วยคลายโซ่ที่มัด 3 ขาจนเป็นแผล และรอยแผลยับเยินและรีบใช้ยาดีและสัตวแพทย์ช่วยกันรักษานะคะ กล้าหาญเพื่อพลายประตูผาอีก 1 เชือกที่กำลังรอคอยคนไทยนะคะ #ช้างไทยในศรีลังกา #พลายประตูผา

ขอขอบคุณที่มา: Chayanan Assawadhammanond


เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

ย้อนอดีตความเศร้าของช้างไทย

2 กันยายน พ.ศ. 2492  วันที่ ฮานาโกะ (Hanako) ช้างไทยถูกส่งไปเยียวยาเด็กญี่ปุ่นผู้กำพร้าจากเหตุแห่งความพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยเรื่องราวทั้งหมดเริ่มต้นจาก ร้อยเอก สมหวัง สารสาส ทายาทของ พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) ต้นตระกูล “สารสาส”  อดีต รมต.กระทรวงเศรษฐการ สมัย รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา

ร้อยเอก สมหวัง มีความผูกพันกับประเทศญี่ปุ่นมาก หลังจากสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 และญี่ปุ่นเป็นผู้แพ้สงครามจึงได้ซื้อลูกช้างพัง (ช้างเพศเมีย) 1 เชือก ส่งไปให้ สวนสัตว์อุเอโนะ กรุงโตเกียว เพื่อเป็นการปลอบโยนเด็ก ๆ ที่ต้องหวาดกลัวกับสงครามครั้งนี้ ทางสวนสัตว์ได้ตั้งชื่อให้ว่า ฮานาโกะ แปลว่า ดอกไม้สีทอง แต่ชื่อเดิมของฮานาโกะคือ พังคชา และผู้ดูแลชาวญี่ปุ่นเรียกว่า คชาโกะ ก่อนจะเปลี่ยนมาเรียกฮานาโกะตามที่ทางสวนสัตว์ตั้ง


2 กันยายน พ.ศ. 2492  

เป็นวันที่ฮานาโกะออกเดินทางจากไทยไปถึงท่าเรือเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่นในวัยเพียง 2 ปีซึ่งถือว่าเป็นช้างที่ยังเด็กมากที่จะถูกจับแยกจากแม่มาอยู่ลำพัง มีบันทึกในหนังสือ ธรณีสีเหลือง เขียนโดย ร้อยเอกสมหวัง สารสาส เอ่ยถึงบรรยากาศวันส่งมอบฮานาโกะที่ท่าเรือโกเบว่า

 

“…ข้าพเจ้าก็แปลกใจมากที่วันนั้นมีเด็กมาชุมนุมกันเกือบแสนคนเพื่อดูช้าง…”

 

ก่อนหน้านั้นสวนสัตว์อุเอโนะเคยเลี้ยงช้างไทยมาก่อนแล้ว เป็นช้างที่รัฐบาลไทยส่งไปสานสัมพันธ์กับญี่ปุ่นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2478 ทว่าล้มตายเพราะความอดอยากในระหว่างสงครามโลกครั้ง 2 และช้างน้อยตัวนั้นชื่อฮานาโกะ (ชื่อเดิมคือ วันดี) เช่นกัน เมื่อได้ช้างเชือกใหม่มาทางสวนสัตว์ จึงตั้งชื่อให้เหมือนช้างน้อยเชือกแรกที่จากไป โดยความทรงจำของช้างไทยตัวแรกมีบันทึกไว้ในตอนหนึ่งของการ์ตูน โดราเอมอน โดย ฟุจิโกะ เอฟ ฟุจิโอะ ที่เขียนถึงความผูกพันของคนโตเกียวกับช้างไทยฮานาโกะยุคก่อนสงครามโลก

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย
เนื่องจากไม่ทราบวันเกิดแน่ชัดของฮานาโกะ ทางญี่ปุ่นจึงถือเอาวันแรกของปี พ.ศ. 2490  ของฮานาโกะ เป็นวันคล้ายวันเกิดและต่อมาได้ย้ายไปอยู่ที่สวนสัตว์อิโนะกะชิระ  (Inokashira Park Zoo) เมือง Musashino เป็นการถาวร

ฮานาโกะ เป็นขวัญใจมหาชนถึงขั้นสัญลักษณ์ประจำสวนสัตว์อิโนะกะชิระ สวนสัตว์เป็นรูปฮานาโกะ และเมืองมูซะชิโนะ ก็เป็นรูปช้างฮานาโกะ อีกทั้งฮานาโกะยังถูกใช้ในงานรณรงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ เช่น การป้องกันอัคคีภัย

ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2556 ทางสวนสัตว์อิโนะกะชิระ ได้จัดงานฉลองวันเกิดครบ 66 ปีให้ช้างไทยขวัญใจชาวญี่ปุ่นเชือกนี้ โดยมีนายกเทศมนตรีแห่งเมืองมุซะชิโน ร่วมด้วย ดร.ชินเวศ สารสาส บุตรชายของร้อยเอกสมหวัง และอุปทูตไทยประจำกรุงโตเกียวไปร่วมงานฉลอง พร้อมกับประชาชนราว 800 คน ร่วมกันมอบเค้กวันเกิดที่ทำจากขนมปัง มันเทศ หัวแครอตและสตรอวเบอร์รีให้คุณป้าฮานาโกะ และกลายเป็นอีกข่าวดังในสื่อมวลชนทั่วประเทศญี่ปุ่น

หนึ่งความผูกพันที่ทำให้ร้อยเอก สมหวังมีต่อญี่ปุ่นถึงขั้นส่งมอบช้างไทยเป็นของขวัญญี่ปุ่น สืบเนื่องมาจากชะตาชีวิตของ พันโท พระสารสาสน์พลขันธ์ (ลอง สุนทานนท์) ต้นตระกูล สารสาส  อดีต รัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐการ ในสมัยรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ลี้ภัยการเมืองยุคคณะราษฎร์ ออกไปพำนักที่แดนอาทิตย์อุทัย และติดค้างอยู่นานถึง 10 ปีในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ตรงกับช่วงปี พ.ศ. 2478-2488

ดร.ชินเวศ สารสาส บุตรชายของร้อยเอกสมหวัง เปรียบ ฮานาโกะ เสมือนทูตวัฒนธรรมไทยกับญี่ปุ่น ช่วงปี พ.ศ. 2520 ฮานาโกะ มีบ้านที่ค่อนข้างสะดวกสบาย เป็นโรงช้างพื้นที่ 260 ตารางเมตร มีพื้นที่หลบแดด และมีเครื่องทำความร้อนสำหรับหน้าหนาว มีบ่อน้ำกลางแจ้ง และลานกว้างให้ฮานาโกะได้เล่นได้ แต่ถึงกระนั้นช่วงบั้นปลายชีวิตของ ฮานาโกะ กลับตรงกันข้ามและกลายเป็นตำนาน ช้างผู้โดดเดี่ยว ได้รับการเขียนถึงจากสื่อต่างๆ ว่าเป็น The World’s Loneliest Elephant และ World’s Saddest Elephant

 

จากเหตุการณ์ที่ฮานาโกะเคยทำให้เจ้าหน้าที่สวนสัตว์เสียชีวิตในช่วงปี พ.ศ.2503 จนต้องถูกจับล่ามโซ่และขังเดี่ยวในคอกคอนกรีตซึ่งถือว่าเป็นการทำร้ายช้างที่มีอุปนิสัยเป็นสัตว์สังคม และเรื่องนี้ก็ถูกเขียนเป็นหนังสือ และสร้างเป็นละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นมาแล้ว

 

เรื่องราวความโดดเดี่ยวของฮานาโกะ ปรากฏในสื่อต่างๆ ทั่วโลก ทั้ง CNN, The Washington Post และ The New York Times  พร้อมทั้งช่วยปลุกกระแสพิทักษ์สัตว์ การปรับวิธีการโดยคำนึงถึงเมตตาธรรมในการดูแลช้างในสวนสัตว์ทั่วญี่ปุ่นให้เกิดขึ้น แม้ว่ามันจะเกิดในช่วงโค้งสุดท้ายของชีวิตฮานาโกะก็ตาม แต่องค์กรอย่าง Elephants in Japan และ Zoocheck องค์กรพิทักษ์สัตว์ป่าสากล ก็ได้ช่วยผลักดันให้ช้างเชือกอื่นๆ ได้รับการดูแลอย่างเข้าใจมากขึ้นโดยเฉพาะช้างชราที่ปลดระวางจากการทำงาน หรือช้างในสวนสัตว์นั้นต้องไม่ถูกเลี้ยงอยู่อย่างโดดเดี่ยว

พังคชา หรือ ฮานาโกะ เสียชีวิตในเดือนพฤษภาคมปี พ.ศ.2559 ขณะอายุ 69 ปี ซึ่งถือได้ว่าเป็นช้างเชือกที่อายุมากที่สุดในญี่ปุ่นตอนนั้น แต่ที่น่าเศร้าคือการตายของฮานาโกะนั้นช่างโดดเดี่ยวอยู่ในคอกคอนกรีตแคบๆ ที่ถูกขัง โดย ก่อน ฮานาโกะ จะเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2558  มีช้างไทยอยู่ในสวนสัตว์ทั่วญี่ปุ่นทั้งหมด 14 เชือก

ต่อมาทางการญี่ปุ่นได้อนุมัติให้ทำรูปปั้นเท่าตัวจริงของฮานาโกะ สูง 1.5 เมตร เป็นอนุสรณ์แก่ช้างไทยชื่อกระฉ่อนโลกเชือกนี้ ปัจจุบัน รูปปั้นฮานาโกะ ตั้งอยู่ที่หน้าสถานีรถไฟ  คิชิโจจิ (Kishijoji Station) ในเมือง Musashino ชานกรุงโตเกียว

เปิดข้อมูลล่าสุด \"พลายประตูผา\" หลังถูกพาออกนอกพื้นที่ เลี่ยงเจอทีมงานไทย

เครดิตดีๆ จาก สารคดี ไลฟ์ / ภาพประกอบจาก : elephantsinjapan.com/
อ่านข่าวนี้จากต้นฉบับ >> ฮานาโกะ : ช้างไทยผู้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก


 

logoline