svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70 มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

03 มิถุนายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือน ปประชาชนทางภาคใต้ทั้ง 2 ฝั่ง เตรียมรับมือฝนฟ้าคะนองร้อยละ60-70 ของพื้นที่ มีฝนตกหนักบางแห่ง และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร พร้อมเตือนจังหวัดเสี่ยงภัย บริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา และภูเก็ต 

เกาะติด พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า

กรมอุตุนิยมวิทยา ประกาศเตือน ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
 

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร


ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. 2566 นี้ไว้ด้วย
กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

ออกประกาศ 03 มิถุนายน 2566

พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย
18:00 น. วันนี้ ถึง 18:00 น. วันพรุ่งนี้

ภาคเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา แพร่
  • น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 37-40 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดหนองคาย บึงกาฬ อุดรธานี สกลนคร นครพนม 
  • มุกดาหาร ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี  
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดอุทัยธานี กาญจนบุรี ราชบุรี และสมุทรสงคราม
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 37-39 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

ภาคตะวันออก

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดจันทบุรี และตราด
  • อุณหภูมิต่ำสุด 26-29 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร


ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดระนอง พังงา และภูเก็ต
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-32 องศาเซลเซียส
  • ตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมา : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร
  • ตั้งแต่จังหวัดกระบี่ลงไป : ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

กรุงเทพฯและปริมณฑล

  • มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากในช่วงระหว่างบ่ายถึงค่ำ
  • โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
  • อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. 

ออกประกาศ 03 มิถุนายน 2566

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (3 มิ.ย. 2566) : ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ทั้งนี้เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน
        
สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. 66 นี้ไว้ด้วย
พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า : ในช่วงวันที่ 4 – 9 มิ.ย. 66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมาและมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร 

ข้อควรระวัง:  ในช่วงวันที่ 4 – 9 มิ.ย. 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วง (2 - 3 มิ.ย. 2566): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.4 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

พยากรณ์ฝนสะสมรายวัน (ทุกๆ 24 ชม.) 10 วันล่วงหน้า ระหว่าง 3-12 มิ.ย.66 อัพเดท 2023060212 จากศูนย์พยากรณ์อากาศระยะกลางยุโรป (ECMWF)  
3- 4 มิ.ย.66 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้  ที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง   ทำให้การกระจายของฝนบริเวณประเทศไทยตอนบนลดลงบ้าง โดยยังมีฝน/ฝนฟ้าคะนองบางแห่ง 

ส่วนภาคตะวันออก (จันทบุรี ตราด) และภาคใต้ด้านรับมรสุม (ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง) ยังมีฝนตกต่อเนื่อง และตกหนักบางแห่ง   ดังนั้นภาคใต้ฝั่งอันดามัน และภาคตะวันออก ยังต้องระวัง ฝนตกหนัก คลื่นลมในทะเลอันดามัน มีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง ชาวเรือ ชาวประมง  ยังต้องระวัง  
ฝนจะเริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นช่วง (5- 10 มิ.ย.66) โดยคาดว่าจะมีร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณประเทศไทยตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมและมีกำลังแรงขึ้น สำหรับภาคใต้จะยังมีฝนตกต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านรับมรสุม มีฝนตกหนักบางแห่ง  คลื่นลมมีกำลังปานกลาง ห่างฝั่งคลื่นสูง  ชาวเรือ ชาวประมงต้องเพิ่มความระมัดระวัง ในการเดินเรือในระยะนี้ 

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

(ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

ย้อนอ่าน >>
ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา
เรื่อง คลื่นลมแรงและฝนตกหนักถึงหนักมาก
ฉบับที่ 7  (มีผลกระทบถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2566)

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า (3 มิ.ย. 2566)

ประเทศไทยยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคตะวันออก และภาคใต้ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากฝนตกหนักและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม

ทั้งนี้ เนื่องจากมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงยังคงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน

สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งจนถึงวันที่ 6 มิ.ย. 66 นี้ไว้ด้วย

รายงานสภาพอากาศ อีก 7 วันข้างหน้า 

กรมอุตุฯ เตือนภาคใต้ ฟ้าคะนองร้อยละ70  มีฝนตกหนัก และทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร 

ในช่วงวันที่ 4 – 9 มิ.ย. 2566 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมประเทศไทยมีกำลังแรงขึ้น ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมชายฝั่งประเทศเมียนมาและมีแนวโน้มจะมีกำลังแรงขึ้น และร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือ ภาคกลางตอนบน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันตอนบน มีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันตอนล่างและอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง: ในช่วงวันที่ 4 – 9 มิ.ย. 2566 ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่ง ตลอดช่วง

สถานการณ์แผ่นดินไหวในช่วง (2 - 3 มิ.ย. 66): ตรวจพบเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 2.4 มีศูนย์กลางอยู่ที่ประเทศเมียนมา ไม่มีผลกระทบต่อประเทศไทยแต่อย่างใด

ขอขอบคุณที่มา กรมอุตุนิยมวิทยา 

ชมคลิป >> การรายงานพยากรณ์อากาศประจำวัน

logoline