svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

21 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากประเด็น ซีเซียม-137 ที่ถูกหลอมเป็นฝุ่นแดง คนและระบบนิเวศที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่นั้นอยู่ในความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ชี้ว่า อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะ ยังไม่มีรายงานว่า ฟุ้งกระจายไปในชั้นบรรยากาศ

กลายเป็นประเด็นร้อนเรื่องสิ่งแวดล้อม จากประเด็น ซีเซียม-137 ที่ถูกหลอมเป็นฝุ่นแดง คนและระบบนิเวศที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่นั้นอยู่ในความเสี่ยง อย่างไรก็ตาม ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ ชี้ว่า อย่าเพิ่งกังวลจนเกินไป เพราะ ยังไม่มีรายงานว่า ฟุ้งกระจายไปในชั้นบรรยากาศ

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

สืบเนื่องจากคำยืนยันของ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) บอกในระหว่างการแถลงข่าวหลังข่าวค้นพบท่อเหล็กบรรจุ ซีเซียม-137 ที่หายจากโรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรี หายปริศนา  โดยจนเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 มีการตรวจพบค่ารังสีจากโรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่ง

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

คำถามที่เกิดขึ้นคือ มีการรั่วไหลของกัมมันตรังสีสาร ซีเซียม-137 ที่ถูกหลอมออกไปมากน้อยแค่ไหน แต่นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ บอกว่า มีรายงานพบว่ามีการนำขี้เถ้า 1 กระสอบจาก 24 กระสอบ 24 ตันไปฝังในพื้นที่ใกล้โรงงาน และตอนนี้ได้สั่งเก็บดิน และขี้เถ้าทั้งหมดเข้าสู่ระบบ เพราะฝุ่นเหล็กมีราคา

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

แม้จะมีการยืนยันว่าไม่พบการปนเปื้อนในดิน อากาศ และการฟุ้งกระจายในรัศมี 5 กม.จากโรงงานหลอมเหล็ก "พบการเปรอะเปื้อนเฉพาะในฝุ่นแดงที่ถูกหลอมออกมาเท่านั้น และล็อตการผลิตก่อนหน้าที่ฝุ่นแดงออกไป ตรวจสอบไม่มีการเปรอะเปื้อนของซีเซียม-137"

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

ไขข้อสงสัยคาใจสังคมไทย "ฝุ่นแดง" คืออะไร? 

คำถามสำคัญคือฝุ่นแดงคืออะไร?

ฝุ่นแดงหรือฝุ่นจากเตาหลอมเหล็ก (Electric Arc Furnace Dust) เป็นเป็นกากของเสียที่เกิดจากกระบวนการหลอมเหล็ก ในเตาหลอมไฟฟ้า EAF (Electric Arc Furnace) โดยฝุ่นแดงเป็นฝุ่นที่เกิดจากการหลอมเหล็กที่มีสังกะสีอยู่ โดย ฝุ่นแดงถือเป็น “ของเสียอันตราย” (K601) ของสำนักงานปกป้องสิ่งแวดล้อมสหรัฐ (EPA) เพราะมีโลหะหนักเป็นส่วนประกอบจำพวก เหล็กออกไซค์ และสังกะสีออกไซค์ ที่ต้องได้รับการจัดการที่เหมาะสม   ปัจจุบัน ฝุ่นแดงจะถูกจัดการโดยวิธีการเฉพาะในรูปแบบ ส่งเผา,ฝังกลบ และนำไปถมที่

ส่วน ประเด็นต่อมาต้องตรวจสุขภาพคนงานที่ทำงาน และตรวจสอบว่าฝุ่นแดงถูกส่งออกไปในจุดไหนบ้าง ใครที่นำแท่งเหล็กมาส่ง เพื่อหาคนรับผิดชอบกับเหตุการณ์นี้ แต่ไม่พบการเปรอะเปื้อนบนร่างกายของพนักงาน

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  
 

อ.เจษฎา ชี้ อย่าเพิ่งกังวลเกินไป  ยังไม่มีรายงานว่า ซีเซียม-137 ฟุ้งกระจายไปในชั้นบรรยากาศ 

ขณะเดียวกัน ศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ล่าสุดได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อดังในเครือเนชั่น "SPRiNG NEWS" เตือนผู้ที่ใกล้ชิดกับซีเซียม-137 ต้องระวังเพราะ มันมีสิทธิ์เป็นสารก่อมะเร็งได้  สำหรับเคสนี้ที่เกิดขึ้นกับไทย ระบุว่า

"จากเรื่องนี้ คนที่มีสิทธิ์ต้องระวังมากที่สุดคือคนใกล้ชิดกับสารเคมี น่าจะเป็นผู้คนในโรงงาน สุดท้ายแล้วเราพบว่ามันไปอยู่ในฝุ่นผงจากการเผา คนที่อยู่ในกระบวนการผลิตอาจจะได้รับสารซีเซียมได้ แต่จากที่เขาอ้างว่า มันเป็นเตาเผาแบบปิด ดังนั้นประชาชนทั่วไปยังไม่ต้องกังวลว่าจะรับสารเข้าไป  ความอันตรายที่จะเกิดขึ้นนั้น ขึ้นอยู่กับว่าได้รับสารนานแค่ไหน ความเข้มข้นแค่ไหน ถ้าเรารับสารเข้าไปเลยอย่างเช่น โดนผิวหนัง กินเข้าไป ดังนั้น จะได้รับรังสีอยู่เรื่อยๆ  ในระยะยาวสารอาจจะเข้าไปทำลายเนื้อเยื่อ ทำลายดีเอ็นเอ"

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก    

"ตามข้อมูลที่มีตอนนี้ สารยังไม่ได้กระจายไปไหน  แต่หากเป็นแบบเคสต่างประเทศ ที่มีความผิดพลาดเกิดขึ้น ที่มันเป็นระบบเปิด ที่มีการกระจายไปในการเผา กระจายไปในปล่องไฟ หากเป็นแบบนี้ก็น่าห่วง แต่ปริมาณอาจจะค่อนข้างต่ำ แต่มันจะตกค้างในสิ่งแวดล้อม ซึ่งในพื้นฐานของประเทศเราก็ไม่อยากให้มันกระจายไปในสิ่งแวดล้อม เพราะมันจะเป็นผลระยะยาว  ส่วนเคสนี้ ในไทย ยังไม่ต้องกังวลจนเกินไป"

หวั่นกระทบปัญหาสุขภาพ หากฝุ่นแดง-ขี้เถ้า จากซีเซียม-137 ถูกปล่อย

ขณะที่ ทางด้าน ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ออกโรงเตือน ฝุ่นแดง-ขี้เถ้าหนัก จาก ซีเซียม-137 หากถูกปล่อยออกมา มีผลกระทบระยะยาว จากกรณีข่าวช็อกวงการ ที่สร้างความวิตกกังวลให้คนไทย เมื่อมีรายงานระบุว่า "ซีเซียม-137" ได้สูญหายไปจากโรงงานแห่งหนึ่งในพื้นที่ นิคมอุตสาหกรรม 304 ต.ท่าตูม อ.ศรีมหาโพธิ ปราจีนบุรี ล่าสุดได้มีการตรวจพบวัสดุกัมมันตรังสี "ซีเซียม-137" แล้วที่โรงหลอมเหล็กในกบินทร์บุรี

กระแสข่าวล่าสุด 20 มีนาคม 2566 นายรณรงค์ นครจินดา ผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี พร้อมด้วยตัวแทนจาก สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้เปิดโต๊ะแถลงข่าวพร้อมจัดตั้งศูนย์ EOC เพื่อติดตามประเด็นสุขภาพของคนในพื้นที่ ซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรี ได้เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ได้ค้นพบวัตถุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137ในกระเป๋าบิ๊กแบ็กในเขตของโรงงาน 

โดยเจ้าหน้าที่ได้ใช้เครื่องมือเพื่อตรวจวัดถึง 2 ครั้ง แต่ได้ผลการวิเคราะห์ที่เท่ากัน จึงสามารถยืนยันได้ว่าเป็นสาร  ซีเซียม – 137 จึงได้ย้อนกลับไปดูถุงบิ๊กแบ๊กซึ่งเป็นส่วนที่เหลือจากการผลิตเหล็กของโรงงานและเทกลับเข้าไปในเตาหลอม ความร้อน 1,200 องศาฯ พบว่ามีฝุ่นละอองแดงอยู่ภายในระบบปิด และติดอยู่ภายในระบบปิด ได้สั่งปิดพื้นที่ทันทีและให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบบริเวณรอบข้าง บริเวณแนวกระเป๋าบิ๊กแบ็ก พบว่าขึ้น แต่เมื่อออกมา 10 กว่าเมตร ไม่พบค่าของสารขึ้น

ขณะที่ สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้ยืนยันว่า จากการตรวจสอบไม่พบฝุ่นแดงปนเปื้อนซีเซียม-137 ในโรงหลอมเหล็กในกบินทร์บุรี ไหลออกมาข้างนอก ไม่ฟุ้งกระจาย ซึ่งได้ตรวจสอบบริเวณโรงหลอมในรัสมี 5 กม. ทั้งทางดิน-น้ำ-อากาศ-คน ไม่พบการปนเปื้อน

อีกความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจ ดร.สนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้ออกมาเคลื่อนไหวผ่านทางเฟซบุ๊กโดยระบุว่า

หายนะแท่งซีเซี่ยม137 ถูกหลอมในโรงงานหลอมเหล็กมีทั้งฝุ่นที่ปล่อยออกจากปล่องควัน ฝุ่นแดงในถุงกรองอากาศ ขี้เถ้าหนักรวมทั้งฝุ่นในโรงงานคืออนุภาคซีเซี่ยมที่ปล่อยรังสีแกมมาและเบต้าออกมาคือสารสารก่อมะเร็ง ในอากาศ ในพืช ผัก ผลไม้ แหล่งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน รัศมีอย่างน้อย5กม.ระยะยาวอาจมีคนป่วยมากขึ้นเรื่อยๆ

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

ทั้งนี้ ดร.สนธิ ยังได้อธิบายเกี่ยวกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้น หากแท่ง ซีเซี่ยม-137 ถูกหลอมรวมกับเศษเหล็กในโรงงานหลอมเหล็ก ผลกระทบที่จะตามมาคือ

1.ฝุ่นขนาดเล็กของCs137ที่ปล่อยออกมาจากปลายปล่องจะกระจายสู่บรรยากาศและตกลงสู่แหล่งน้ำ ดินที่อยู่รอบๆโรงงานและเกิดการปนเปื้อนเข้าสู่วงจรอาหารได้แก่ ผัก ผลไม้ อาหารจากแหล่งน้ำใกล้เคียงและอาหารแปรรูปจากวัตถุดิบทางการเกษตร เป็นต้นรวมทั้งอาจมีบางส่วนที่ประชาชนหายใจเข้าไปด้วย...

สารนี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายบางส่วนจะถูกขับออกจากร่างกายทางเหงื่อและปัสสาวะและบางส่วนจะตกค้างและสะสมในกล้ามเนื้อ,ตับ,ไขกระดูก หากได้รับในปริมาณมากหรือเป็นเวลานานจะทำให้เกิดความผิดปกติในระดับโครโมโซมคือเป็นมะเร็งนั่นเอง

2.หากโรงงานหลอมเหล็กมีอุปกรณ์ควบคุมมล พิษทางอากาศ เช่น Baghouse Filter โดยจะทำการกรองฝุ่นเหล็กขนาดเล็กที่ปนเปื้อนสาร Cs137หรือที่เรียกว่าฝุ่นแดงไว้ในถุงกรองในปริมาณมากซึ่งโรงงานหลอมเหล็กจะขายฝุ่นแดงดังกล่าวให้กับโรงงานประเภท106 นำไป Recycleเพื่อสกัดเอาธาตุสังกะสีไปใช้ ซึ่งจะทำให้สารCs137แพร่กระจายออกไปในวงกว้างมากขึ้นและเกิดอันตรายต่อประชาชนและระบบนิเวศ

3.เมื่อเข้าเตาหลอมแล้วส่วนหนึ่งจะกลายเป็นขี้เถ้าหนัก(Bottom ash)โดยจะมีอนุภาคของ สารCs137ปนเปื้อนในเถ้าหนักด้วย หากโรง งานนำไปฝังกลบใต้ดินก็อาจปนเปื้อนน้ำใต้ดินและน้ำผิวดินซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการผลิตอาหารและน้ำต่อไป

4.เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องสวมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย(PPE)เพื่อป้องกันการได้รับรังสีและทำการตรวจการปนเปื้อนของสารCs137 ภายในโรงงานทุกบริเวณ เช่น เถ้าหนัก ฝุ่นแดง กองเหล็ก เตาหลอม ดินและแหล่งน้ำและฝุ่นละอองในโรงงาน เป็นต้น รวมทั้งต้องตรวจหารังสีปนเปื้อนที่ตัวพนักงานทุกคนด้วย

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

ขอขอบคุณที่มา: Sonthi Kotchawat 

ซีเซียม 137 อันตรายแค่ไหน? แพทย์ชี้หากถูกหลอมเผาไหม้ ละอองไอปลิวไกลพันกิโลเมตร ส่งผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตผ่านการหายใจ แถมเสี่ยงทำให้เกิดมะเร็ง

Picture: The Dynamics of Radio-Cesium in Soils and Mechanism of Cesium Uptake Into Higher Plants: Newly Elucidated Mechanism of Cesium Uptake Into Rice Plants"

ล่าสุด นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา โพสต์เฟซบุ๊ก Somros MD Phonglamai ถึงความอันตรายของ ซีเซียม 137 ระบุ

"ถ้า Cesium-137 ถูกหลอมเผาไหม้และกลายเป็นไอ สามารถออกไปได้เป็นหลักร้อยถึงพันกิโลเมตรขึ้นกับลม (เหตุการณ์ที่ Chernobyl พบว่า Cesium-137 ปลิวไปถึงสวีเดน 1,000 กิโลเมตร) และทำร้ายสิ่งมีชีวิตได้ทั้งการสัมผัสโดยตรง การกิน และการหายใจ Cesium-137 จะสะสมในดิน น้ำ อาหาร ทำให้เกิดผลเสียต่อสัตว์และมนุษย์ ปลา นก ไก่ หมู หมา แมว วัว ฯลฯ อนุภาคบีต้าและรังสีแกมมา จะทำลาย DNA, ทำให้เกิด mutation ถ้าไม่ตายก็เกิดมะเร็งต่อ โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไธรอยด์

Cesium 137 มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี ดังนั้นจะใช้เวลาในธรรมาชาติไม่ต่ำกว่า 100 ปีจึงจะสลายหมด คนที่จะได้รับผลกระทบน่าจะหลายแสนและเป็น 100 ปี จะมีคนเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไธรอยด์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในพื้นที่เสี่ยง

คนที่คิดว่าเสี่ยงต่อการสัมผัส Cesium-137 ควรเฝ้าระวังเร่งด่วน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังไหม้โดยไม่ทราบสาเหตุ

รัฐควรเก็บบันทึกข้อมูลอย่างโปร่งใส มีโอกาสที่คนจะสัมผัสปริมาณมาก ยิ่งคนที่อยู่ใกล้ในระยะ 5-10 เมตร น่าจะอันตรายมาก (ไม่รู้ว่าระยะจริงที่ปลอดภัยเท่าไหร่ เพราะขึ้นกับความเข้มข้นที่เหลืออยู่และ shield ที่ป้องกัน)


รอการประกาศเร่งด่วนอย่างเป็นทางการและโปร่งใสจากหน่วยงานของรัฐอีกทีพรุ่งนี้นะครับ

หมายเหตุ: ข้อมูลเบื้องต้นที่ค้นเอง และ ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านปรมาณูนะครับ

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นายสนธิ คชวัฒน์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพได้โพสต์ประเด็นวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ระบุ สารดังกล่าวที่สูญหายหากถูกนำไปยังโรงหลอมเหล็ก รังสีเบต้าและแกมมาซึ่งเป็นสารที่ก่อมะเร็งจะกระจายไปในอากาศในวงกว้าง

ซีเซียม-137 เป็นโลหะอ่อนสีขาวเงินที่ตีขึ้นรูปได้ง่ายจะมีสภาพเป็นของเหลวที่อุณหภูมิประ มาณ 28 องศา มีครึ่งชีวิตที่ 30 ปี เมื่อสลายตัวจะปล่อยรังสีเบต้าและแกมมาซึ่งอันตรายมากและเปลี่ยนตัวมันจะเปลี่ยนเป็นสารแบเรียม-137 ที่สลายตัวปล่อยรังสีได้เร็ว

ในทางอุตสาหกรรม ซีเซียม-137 จะใช้ในการวัดความชื้นและความหนาแน่นในการก่อสร้าง ใช้ในเครื่องมือทางแพทย์เพื่อรักษามะเร็ง ใช้ในมาตรวัดกระแสน้ำในท่อ ใช้วัดความหนาของสิ่งต่างๆ เช่น กระดาษ แผ่นโลหะ เป็นต้น

หากแท่งซีเซี่ยม-137 สูญหายหรือถูกขโมย บุคคลที่ครอบครองไปตัดหรือแกะออกจะได้รับอันตรายจากรังสีที่แผ่ออกมาได้เนื่องจากเป็นสารก่อมะเร็งเมื่อรับเข้าสู่ร่างกายเล็กน้อยโดยทางหายใจหรือผิวหนังรังสีจะถูดดูดซึมไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับและไขกระดูกสามารถถูกขับได้ทางเหงื่อและปัสสาวะแต่หากสูดดมหรือรับเข้าไปด้วยความเข้มข้นสูงหรือเป็นระยะเวลาพอสมควรจะก่อให้เกิดมะเร็งกับอวัยวะที่สัมผัส

หากท่อของสารซีเซียม-137 ดังกล่าว ถูกนำไปขายยังโรงแปรรูปเหล็กและถูกหลอมในเตาเผาจะอันตรายมาก คือรังสีจะถูกปล่อยออกมาทางปล่องควันกระจายไปในสิ่งแวดล้อมและเกิดการเปรอะเปื้อนของรังสีเบต้าและแกมมาซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งอย่างรุนแรงในสภาพแวด ล้อมในวงกว้าง

ผู้ครอบครองทั้งร้านรับซื้อของเก่า โรงงานรีไซเคิล โรงงานหลอมหล่อเหล็ก ที่รับท่อหุ้มดังกล่าว ผู้ครอบครองถือว่ากำลังตกอยู่ในอันตรายหากนำไปกองไว้ฝนตก น้ำชะจะไหลปนเปื้อนลงในน้ำใต้ดิน น้ำผิวดิน หากนำไปหลอมยิ่งกระจายไปทางอากาศนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็งในอนาคตอันใกล้

ซีเซียม-137 คืออะไร

ซีเซียม-137 (Cs-137) เป็น ไอโซโทปกัมมันตรังสีของธาตุซีเซียม ซึ่งเป็นผลผลิตฟิชชันที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน ซีเซียม-137 มีครึ่งชีวิต 30.17 ปี ประมาณ 95% สลายตัวโดยการปลดปล่อยรังสีบีต้าแล้วกลายเป็นแบเรียม-137m (barium-137m) ซึ่งเป็นไอโซโทปกึ่งเสถียร (metastable) หรือไอโซเมอร์ของแบเรียม-137 (137mBa, Ba-137m) ส่วนอีก 5% สลายตัวไปเป็นไอโซโทปเสถียรโดยตรง แบเรียม-137m (Ba-137m) สลายตัวให้รังสีแกมมา โดยมีครึ่งชีวิต 2.55 นาที ซีเซียม-137 ปริมาณ 1 กรัม มีกัมมันตภาพรังสี 3.215 เทราเบคเคอเรล (terabecquerel, TBq)

โฟตอนจากไอโซโทปรังสีแบเรียม-137m มีพลังงาน 662 keV สามารถใช้ประโยชน์ในการฉายรังสีอาหาร (food irradiation) ใช้ในด้านรังสีรักษา (radiotherapy) สำหรับผู้ป่วยมะเร็ง มีการใช้ซีเซียม-137 สำหรับการถ่ายภาพด้วยรังสีทางอุตสาหกรรมไม่มากนัก เนื่องจากเป็นวัสดุที่ไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี เกลือของซีเซียมละลายน้ำได้ดีทำให้ควบคุมความปลอดภัยได้ยาก จึงมีการใช้โคบอลต์-60 (Cobalt-60) ในงานด้านการถ่ายภาพด้วยรังสีมากกว่า นอกจากจะเป็นโลหะที่ไวต่อปฏิกิริยาน้อยกว่าแล้ว ยังให้รังสีแกมมาพลังงานสูงกว่า การนำมาใช้งาน เราจะพบซีเซียม-137 ได้ในอุปกรณ์วัดความชื้น เครื่องวัดอัตราการไหลหรืออุปกรณ์ตรวจวัดชนิดอื่นที่ใช้หลักการทำงานคล้ายกัน

การนำ ซีเซียม-137 มาใช้ประโยชน์

มีการนำซีเซียม-137 มาใช้ไม่มากนัก ถ้าปริมาณน้อยๆ จะใช้สำหรับปรับเทียบเครื่องมือวัดรังสี ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาในการวัดความหนาแน่นของเครื่องมือเจาะสำรวจน้ำมัน ใช้เป้นต้นกำเนิดรังสีในการรักษามะเร็ง รวมทั้งใช้ในเครื่องมือวัดทางอุตสาหกรรม เช่น เครื่องวัดความหนาของวัสดุ เครื่องวัดการไหลของของเหลว

ความเสี่ยงต่อสุขภาพของสารกัมมันตรังสีซีเซียม

ซีเซียม สามารถทำปฏิกิริยากับน้ำและกลายเป็นซีเซียมไฮดรอกไซด์ (caesium hydroxide) ซึ่งเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำ ซีเซียมมีคุณสมบัติในทางชีววิทยาคล้ายกับโปแตสเซียม (potassium) และรูบิเดียม (rubidium) เมื่อเข้าไปในร่างกาย ซีเซียมจะกระจายไปทั่วร่างกาย โดยมีความเข้มข้นสูงที่กล้ามเนื้อและกระดูก ซีเซียมมีครึ่งชีวิตทางชีววิทยา (biological half-life) ประมาณ 70 วัน จากการทดลองในสุนัข เมื่อได้รับซีเซียมในครั้งเดียวจำนวน 3800 ไมโครคูรีต่อกิโลกรัม (mCi/kg) (คิดเป็นซีเซียม-137 จำนวน 44 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม) สุนัขนั้นตายลงภายใน 3 สัปดาห์

ถ้าบังเอิญได้รับซีเซียม-137 เข้าไปในร่างกาย ควรรับประทานปรัสเซียนบลู (Prussian blue) ซึ่งจะไปทำปฏิกิริยาเคมีโดยจับกับซีเซียม ทำให้ขับออกจากร่างกายได้เร็วขึ้น

การควบคุมดูแลซีเซียม-137 ที่ใช้เป็นต้นกำเนิดรังสีแกมมาที่ไม่รัดกุมพอ อาจจะทำให้เกิดการรั่วไหลของไอโซโทปรังสีและเกิดการเจ็บป่วยจากรังสีได้ กรณีตัวอย่างที่ทราบกันดี ได้แก่ อุบัติเหตุที่ (Goiania accident) ที่มีการทิ้งสารกัมมัตรังสีจากอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำรังสีรักษาจากคลินิกในเมือง Goiania ประเทศบราซิล ทำให้คนเก็บขยะนำไปขายให้กับคนที่รับซื้อ เนื่องจากคิดว่าเป็นของแปลก กรณีนี้ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตจากการได้รับรังสีจำนวนหลายคน

ข้อมูลประกอบจากเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat , สมาคมนิวเคลียร์แห่งประเทศไทย

ซีเซียม-137 ยังไม่ฟุ้งกระจายในอากาศ แต่คนใกล้ชิดสารเคมีต้องระวังให้มาก  

Picture: The Dynamics of Radio-Cesium in Soils and Mechanism of Cesium Uptake Into Higher Plants: Newly Elucidated Mechanism of Cesium Uptake Into Rice Plants"

ทิ้งท้ายกับโพสต์ที่ส่งมาเตือนภัยฝุ่นพิษ

logoline