svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เคลียร์ข้อสงสัย จะได้ฉลองปีใหม่ 66 หรือไม่ ในช่วงที่โควิดขาขึ้น

28 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"หมอยง" ส่งโพสต์ ข้อแนะนำ การปฏิบัติตน คำเตือนดีๆ ข้อแนะนำในการรับมือโควิด-19 ในช่วง(ก่อน)ปีใหม่ คอข่าวไม่ควรพลาดสาระดีๆ มีให้อ่านทุกวันที่นี่ 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก Yong Poovorawan ข้อความในหัวข้อ โควิด-19

โควิด 19  เป็นแล้วเป็นซ้ำได้อีก และเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น จะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่

ยง ภู่วรวรรณ
28  พฤศจิกายน 2565

ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อ หรือฉีดวัคซีน เมื่อนานไปไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อใหม่ได้ แต่ทำให้ความรุนแรงลดลง
จำนวนตัวเลขของการติดเชื้อขณะนี้ที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะรอบตัวเรา เราจะเห็นคนที่เคยเป็นแล้ว มาเป็นซ้ำอีก จึงไม่ใช่เรื่องแปลกสำหรับ covid-19

ภูมิคุ้มกันหมู่ที่แต่เดิม มุ่งหวังจะลดการระบาดของโรค จึงไม่เกิด เพราะติดเชื้อ ฉีดวัคซีนมานานแล้วก็ยังมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้อีก จึงไม่สามารถที่จะหยุดโรค ไม่ให้ระบาดได้  

ทุกอย่างต้องเดินหน้า มีคำถามเข้ามามาก ว่าการติดเชื้อเพิ่มขึ้นมาก เราจะได้เฉลิมฉลองปีใหม่หรือไม่
ตอบได้เลยว่าเราจะไม่เดินย้อนหลัง ได้เฉลิมฉลองแน่นอน แต่ทุกอย่างจะต้องทำด้วยความตระหนัก ลดการแพร่กระจายของโรค

เคลียร์ข้อสงสัย จะได้ฉลองปีใหม่ 66 หรือไม่ ในช่วงที่โควิดขาขึ้น

เคลียร์ข้อสงสัย จะได้ฉลองปีใหม่ 66 หรือไม่ ในช่วงที่โควิดขาขึ้น
ย้อนไปอ่าน โพสต์ก่อนหน้านี้ "หมอยง" แนะนำคอข่าวไว้อีกว่า 

โควิด 19  เชื้อโควิคติดต่อได้ง่ายขึ้น
ยง ภู่วรวรรณ
24 พฤศจิกายน 2565

ระยะเวลาที่ผ่านมา ไวรัส covid 19 ได้พัฒนาตัวเองเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ทำให้ติดต่อได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายโรคได้ง่าย แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น เราจะเห็นว่าสายพันธุ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนามาโดยตลอด 
สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายก็จะเข้ามาแทนที่
ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง เกิดจากมีภูมิต้านทาน จากวัคซีนหรือการติดเชื้อ
ร่างกายของคนทั้งหมดรู้จักเชื้อไวรัสตัวนี้ และเมื่อเกิดการติดเชื้อ ทำให้อาการลดลง ยกเว้นผู้ที่มีร่างกายเปราะบาง

เคลียร์ข้อสงสัย จะได้ฉลองปีใหม่ 66 หรือไม่ ในช่วงที่โควิดขาขึ้น

 

การหลีกหนีจากไวรัสตัวนี้ ต่อไปจะทำได้ยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะมีการผ่อนปรนและการดำรงชีวิตเข้าสู่ภาวะปกติ
แนวทางการปฏิบัติที่จะทำได้ในขณะนี้ คือ

1 ทำร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย ความสะอาด กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

2 สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อ covid19  ด้วยการรับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม และใครได้รับเข็มสุดท้าย หรือติดเชื้อมาแล้วเกิน 6 เดือน อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรจะได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นอย่างยิ่ง หรือใครคิดว่าเสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่าย ก็สมควรที่จะได้รับวัคซีนในการป้องกัน เช่นบุคลากรด่านหน้า

3 หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด คนหมู่มาก ถ้าจำเป็นต้องไปก็ต้องปฏิบัติตัว อย่างเคร่งครัด ในการป้องกันตนเอง คนปกติแข็งแรงไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK  เช่นจะไปโรงเรียน 

4 เมื่อมีอาการต้องสงสัยโรคทางเดินหายใจ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัย เช่น  ตรวจ ATK ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และป้องกันการกระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

5 เมื่อติดเชื้อหรือป่วย ควรดูแล รับการรักษาอย่างเหมาะสม เก็บตัวอย่างน้อย 5 วัน ป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น หลังจากนั้นถึงแม้ว่าจะออกสู่สังคมก็ควรป้องกันของโรคต่ออีก 5 วัน

6 อาการที่ยังคงอยู่หลัง covid-19 (long covid) จะเกิดขึ้นในสัปดาห์แรกๆและส่วนใหญ่จะหายไป ส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่เกี่ยวกับความรู้สึก โดยที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องไปตื่นกลัว อย่างที่มีการให้ข่าวกัน ประชากรส่วนใหญ่ขณะนี้มีการติดเชื้อไปแล้วหรือป่วยไปแล้วประมาณร้อยละ 70  ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดก็ดำรงชีวิตได้อย่างปกติไม่ได้มีปัญหาอะไร 

7 ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป ในภาวะปัจจุบัน ไม่ควรให้ covid-19 มาเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต

เคลียร์ข้อสงสัย จะได้ฉลองปีใหม่ 66 หรือไม่ ในช่วงที่โควิดขาขึ้น
อีกโพสต์ของ หมอยง ที่น่าอ่าน จัดมาให้คอข่าว อ่านกันตรงนี้อีกครั้ง เพื่อการก้าวทันโควิด-19

โควิด 19  เมื่อโรค เพิ่มขึ้นตามฤดูกาล
ยง ภู่วรวรรณ
21 พฤศจิกายน 2565
เมื่อนักเรียนเปิดเทอม และเข้าสู่ฤดูหนาว โรค covid-19 จะเพิ่มขึ้นตามฤดูกาล ในพีคที่ 2  แต่ก็จะไม่มากเท่าในฤดูฝนที่ผ่านมาหรือพีคแรก และก็จะลดลงหลังเดือนกุมภาพันธ์
การศึกษาของศูนย์ไวรัสที่ทำอยู่ ร่วมกับจังหวัดชลบุรี พบว่าประชากรผู้ใหญ่ที่อายุเกิน 15 ปีไปแล้ว เกือบทั้งหมดหรือ 98-99 เปอร์เซ็นต์มีภูมิต้านทานที่ตรวจพบได้ จากการฉีดวัคซีนและหรือติดเชื้อ ยกเว้นในกลุ่มที่อายุน้อยกว่า 5 ปี มีถึง 35%  ที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ต่อเชื้อโควิค 19  หรือไม่เคยติดเชื้อมาก่อนนั่นเอง
สถานการณ์โดยทั่วไป จะไม่รุนแรง เพราะมีภูมิต้านทาน ยกเว้นในกลุ่มเปราะบางมีโรคประจำตัว  เช่น โรคไตเรื้อรังที่ต้องฟอกไต โรคปอดโรคหัวใจหรือ 608  ที่จะทำให้โรครุนแรง เช่นเดียวกันกับไข้หวัดใหญ่
แม้ว่ามีรายงาน การกลายพันธุ์ของไวรัส ในที่ต่างๆทั่วโลก แต่ก็ยังไม่มีหลักฐานใด ที่พบว่าไวรัสที่กลายพันธุ์ เพิ่มความรุนแรงของโรค การกลายพันธุ์ส่วนใหญ่จะทำให้เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ 
สภาพทั่วไป ทุกสิ่งใกล้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ ด้วยการอยู่กับโรคโควิด 19  ที่เหมือนกับโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทานหรือการติดเชื้อ การติดเชื้อในประชากรขณะนี้อยู่ที่ประมาณร้อยละ  70  ประชากรส่วนใหญ่ได้ทั้งวัคซีนและการติดเชื้อ การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นทุกวันนี้ น้อยกว่าการติดเชื้อในธรรมชาติ การติดเชื้อก็เป็นการกระตุ้นสร้างภูมิต้านทานให้กับประชากรไปพร้อมกัน 
การติดเชื้อซ้ำเกิดขึ้นได้ แต่โอกาสติดเชื้อจะน้อยกว่าคนที่ไม่เคยติดเชื้อ และหรือไม่เคยฉีดวัคซีนเลย เมื่อสัมผัสโรคโควิด 19 

ทุกชีวิตต้องเดินหน้า การเปลี่ยนถ่ายเข้าสู่ภาวะปกติ ก็คงจะค่อยเป็นค่อยไป เช่นการใส่หน้ากากอนามัย ขณะนี้ถ้าอยู่ในกลุ่มคนจำนวนมาก ควรใส่หน้ากากอนามัย แต่ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง สวนสาธารณะ ชายทะเล ก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่ ให้พิจารณาตามสถานการณ์ และความสมัครใจ 

สิ่งที่จะต้องทำอย่างยิ่งคือ ผู้ป่วย หรือเมื่อป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยทุกราย ไม่ว่าโรคทางเดินหายใจนั้นจะเป็น covid หรือไม่ เป็นแนวทางปฏิบัติที่ควรทำ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายโรคไปสู่ผู้อื่น 

พบผู้ป่วยจำนวนมากขึ้น ความรุนแรงของโรคก็ไม่ได้เพิ่มขึ้น และต่อไปก็จะเหมือนโรคทางเดินหายใจโรคหนึ่ง ที่พบได้ตามฤดูกาล 
การให้วัคซีนป้องกันโรค มีความจำเป็นอย่างยิ่งในกลุ่มเปราะบาง  608  รวมทั้งเด็กเล็ก  การให้วัคซีนยังเป็นไปด้วยความสมัครใจ

เคลียร์ข้อสงสัย จะได้ฉลองปีใหม่ 66 หรือไม่ ในช่วงที่โควิดขาขึ้น
ขอขอบคุณที่มา: Yong Poovorawan


https://www.facebook.com/yong.poovorawan?_rdc=1&_rdr 
 

logoline