svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เฮ "ราชกิจจาฯ"ออกพรฎ.ลดภาษี"รถยนต์รับจ้าง"และ"รถจักรยานยนต์สาธารณะ"

"ราชกิจจาฯ" เผยแพร่  พระราชกฤษฎีกา ลดภาษีประจำปี 90 เปอร์เซนต์ สำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ ระหว่างวันที่ 1 ต.ค. 65 ถึงวันที่ 30 ก.ย.66 ช่วยแท็กซี่ สามล้อ วินจักรยานยนต์

เมื่อวันที่ 8 พ.ย.65 "ราชกิจจาฯ" เผยแพร่  พระราชกฤษฎีกา ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๕

 

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า

 

โดยที่เป็นการสมควรลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๗๕ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓๑ วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

 

มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาลดภาษีประจำ ปีสำหรับ รถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ พ.ศ. ๒๕๖๕ ”

 

มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
เฮ \"ราชกิจจาฯ\"ออกพรฎ.ลดภาษี\"รถยนต์รับจ้าง\"และ\"รถจักรยานยนต์สาธารณะ\"

มาตรา ๓ ให้ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ ที่ครบกำหนดเสียภาษีประจำปีในระหว่างวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ลงร้อยละเก้าสิบของอัตราภาษีประจำปีท้ายพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. ๒๕๒๒

 

เฮ \"ราชกิจจาฯ\"ออกพรฎ.ลดภาษี\"รถยนต์รับจ้าง\"และ\"รถจักรยานยนต์สาธารณะ\"

มาตรา ๔ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้

 

ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

 

คลิกอ่านฉบับเต็ม >>>

พระราชกฤษฎีกา ลดภาษีประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะ

เฮ \"ราชกิจจาฯ\"ออกพรฎ.ลดภาษี\"รถยนต์รับจ้าง\"และ\"รถจักรยานยนต์สาธารณะ\"

สำหรับ เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ ทำให้มีผู้ใช้บริการรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะลดลงอย่างมาก ประกอบกับราคาพลังงานได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างมากจากความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้ต้นทุนการประกอบการรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะสูงขึ้นตามไปด้วย สมควรลดภาษี ประจำปีสำหรับรถยนต์รับจ้างและรถจักรยานยนต์สาธารณะเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบอาชีพดังกล่าว จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้