svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กอนช. ออกประกาศเตือน 6 จังหวัด เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน

23 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กอนช. ออกประกาศเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันและน้ำหลาก ใน 6 จังหวัดภาคอีสาน สั่งเฝ้าระวังพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร

24 สิงหาคม 2565 เตือน น้ำหลาก และ น้ำท่วมฉับพลัน โดยกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้ออกประกาศกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ฉบับที่ 33/2565 เรื่อง  เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลาก และน้ำท่วมฉับพลัน ลงวันที่ 23 ส.ค. 2565 ระบุว่า 

 

ตามที่กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้มีประกาศ ฉบับที่ 31/2565เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2565 เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน ในช่วงวันที่ 22 – 25 สิงหาคม 2565 กอนช. ได้ติดตามสถานการณ์น้ำ พบว่ามีฝนตกหนักในลุ่มน้ำชี ในช่วงวันที่ 19 - 22 สิงหาคม 2565  และได้ประเมินคาดการณ์สถานการณ์น้ำในลำน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และจะมีระดับน้ำล้นตลิ่งแม่น้ำชี ไหลหลากเข้าท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำเกษตรกรรม พื้นที่ลุ่มต่ำริมลำน้ำ และพื้นที่ชุมชน ประมาณ 0.30 – 1.50 เมตร 
 

พื้นที่เสี่ยง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำหลาก

ในช่วงวันที่ 26 - 31 สิงหาคม 2565 จึงขอให้เฝ้าระวังพื้นที่เสี่ยง ดังนี้

  • 1. จังหวัดมหาสารคาม บริเวณอำเภอกันทรวิชัย และเมืองมหาสารคาม
  • 2. จังหวัดกาฬสินธุ์ บริเวณอำเภอกมลาไสย กุฉินารายณ์ ฆ้องชัย และร่องคำ
  • 3. จังหวัดร้อยเอ็ด บริเวณอำเภอจังหาร เชียงขวัญ ทุ่งเขาหลวง ธวัชบุรี พนมไพร 
  • โพธิ์ชัย โพนทอง เมยวดี เสลภูมิ และอาจสามารถ
  • 4. จังหวัดยโสธร บริเวณอำเภอค้อวัง คำเขื่อนแก้ว มหาชนะชัย และเมืองยโสธร
  • 5. จังหวัดศรีสะเกษ บริเวณอำเภอกันทรารมย์ และยางชุมน้อย
  • 6. จังหวัดอุบลราชธานี บริเวณอำเภอเขื่องใน และเมืองอุบลราชธานี

กอนช. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน 6 จังหวัด

ในการนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือ ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโปรดดำเนินการ ดังนี้

  • 1. ติดตามสภาพอากาศและสภาพน้ำอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกสะสมมากกว่า 90 มิลลิเมตร ในช่วงเวลา 24 ชั่วโมง และพื้นที่จุดเสี่ยงที่เคยเกิดน้ำท่วมขังอยู่เป็นประจำ
  • 2. ติดตาม ตรวจสอบ ซ่อมแซม แนวคันบริเวณริมแม่น้ำ และเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ พร้อมวางแผนการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม โดยปรับแผนระบายน้ำจากเขื่อนและประตูระบายน้ำ เพื่อพร่องน้ำและบริหารพื้นที่ลุ่มต่ำให้เป็นแก้มลิงหน่วงน้ำ เร่งระบายน้ำในลำน้ำ แม่น้ำ เพื่อรองรับน้ำหลาก จากพื้นที่ตอนบน ลดผลกระทบความรุนแรงของอุทกภัย รวมทั้งจัดจราจรน้ำในแม่น้ำชี และแม่น้ำมูล เพื่อลดผลกระทบจากมวลน้ำที่จะไหลหลากมายังบริเวณแม่น้ำมูล จังหวัดอุบลราชธานี
  • 3. เตรียมแผนรับสถานการณ์น้ำหลาก เตรียมความพร้อมบุคลากร เครื่องจักรเครื่องมือ รวมถึงความพร้อมของระบบสื่อสารสำรอง เพื่อบูรณาการความพร้อมให้ความช่วยเหลือได้ทันที
  • 4. ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ และแจ้งเตือนล่วงหน้า ให้ประชาชนที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบ เตรียมพร้อมในการอพยพได้ทันท่วงทีหากเกิดสถานการณ์

ประกาศ ณ วันที่  23 สิงหาคม 2565

กอนช. ออกประกาศเตือน  6 จังหวัด เสี่ยงน้ำหลากและน้ำท่วมฉับพลัน

กอนช. เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน

logoline