svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เจาะประเด็นร้อน

"ศึกเลือกตั้ง2566" แบ่งเขต ส่อวุ่น เปิดช่อง"นายกลุงตู่"รักษาการยาว

08 กุมภาพันธ์ 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ศึกเลือกตั้ง2566" แบ่งเขตเลือกตั้งอลเวง "สมชัย ศรีสุทธิยากร" อดีตกกต.ซัดแหลก แบ่งเขต ไม่เป็นไปตามประกาศ กกต.ส่อวุ่นหลายพื้นที่ ติดตามได้ในเจาะประเด็นร้อน (ชมคลิป)

"รายการคมชัดลึก" โดย "วราวิทย์ ฉิมมณี" ได้สัมภาษณ์  "รศ.สมชัย ศรีสุทธิยากร"  อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และ "แสวง บุญมี"  เลขาธิการคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อติดตามความคืบหน้าในการทำงานรับ"ศึกเลือกตั้ง2566" โดยเฉพาะข้อสงสัยต่อการนำฐานข้อมูลจำนวนราษฎรไม่ถือสัญชาติไทยมาคำนวณแบ่งเขตเลือกตั้งจะมีผลกระทบระยะยาวอย่างไร 

 

แบ่งเขตส่อวุ่น “ประยุทธ์” ลุ้นรักษาการยาว

 

"วราวิทย์" ประเด็นแรกเรื่องการเอาผู้ที่ไม่มีสัญชาติไทยมานับรวมเพื่อการแบ่งเขต ตามที่ท่านวิษณุก็เตือนออกมา ถ้าย้ำขนาดนี้ในมุมของ กกต.คือจะไม่ทบทวนถูกต้องมั้ยครับ

"แสวง บุญมี"  ใช่ครับ 

 

"ศึกเลือกตั้ง2566" แบ่งเขต ส่อวุ่น เปิดช่อง"นายกลุงตู่"รักษาการยาว

"วราวิทย์" ขอเหตุผลอีกครั้งได้มั้ยครับ ทำไมถึงนับรวมแรงงานต่างด้าวเข้ามาด้วยครับ

"แสวง บุญมี" จะบอกว่าแรงงานต่างด้าวคงไม่ตรงนะครับ เริ่มก่อนที่จะคำนวณจำนวน ส.ส.ที่พึงมีแต่ละจังหวัด สำนักงานได้เห็นประกาศของนายทะเบียนแล้วว่ามีคนที่ไม่มีสัญชาติไทยอยู่ด้วย แต่เมื่อเรามาดูรัฐธรรมนูญมาตรา 86 เขาให้ถือจำนวนราษฎร ทีนี้เมื่อเขาประกาศเป็นจำนวนราษฎรมา  ความหมายจำนวนราษฎรมันคืออะไร

"แสวง บุญมี"  กล่าวต่อไปว่า  เมื่อตอนที่เสนอกกต.พิจารณาซึ่งต่างจากก่อนประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งปี 62  เมื่อเราเห็นแบบนี้เราก็ไม่ได้อยู่เฉยๆ เราก็คิดว่าราษฎรจะใช้ตรงไหน แต่เมื่อย้อนไปดูกฎหมายของนายทะเบียนกับพ.ร.บ.บัตรประชาชน คือคนที่มาอยู่ในเมืองไทยมีคนที่เข้ามาโดยชอบด้วยกฎหมายหลายพวก

 

"ศึกเลือกตั้ง2566" แบ่งเขต ส่อวุ่น เปิดช่อง"นายกลุงตู่"รักษาการยาว

 

อย่างแรก เหมือนคนที่แบบว่าแรงงานต่างด้าวแหละที่ทำประมงอยู่ตามบ้านอะไรแบบนี้ อีกส่วนคือคนที่เข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย พวกนี้ไม่ได้เป็นราษฎรนะครับ  "ราษฎร" คือ คนตามกฎหมายของนายทะเบียนคือได้มีบัตรประจำตัว 13 หลัก เขาคือบุคคลประเภทที่ 8 หมายถึงคนเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย คือมีใบสำคัญต่างด้าวหรือบุคคลที่แปลงสัญชาติเป็นคนไทย นี่คือ บุคคลประเภทที่ 8 พวกนี้จะมีใบเหมือนเรามีบัตรประชาชน

 

อย่างที่สอง คือ มีชื่อในทะเบียนบ้าน คนพวกนี้ถือว่าเป็นราษฎรตามกฎหมายทะเบียนราษฎรมาอยู่มาทำงานมาใช้บริการมาเสียภาษี จึงไม่ใช่ความหมายที่เราเข้าใจว่าคนต่างด้าวที่เป็นแรงงานคนพวกนนี้ไม่ใช่ราษฎรนะครับ เป็นคนถูกอนุญาตให้เข้ามาทำงานในประเทศไทยเท่านั้น แต่ไม่ถือว่าเป็นราษฎรตามกฎหมายนายทะเบียนนี่ก็คือความต่างกันนะครับ แต่ว่าเราเอามาใช้ในการคำนวณตามความหมายราษฎรตามกฎหมายที่นายทะเบียนประกาศ เขาไม่ใช่ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง แต่เขาเป็ฯราษฎรที่เอามาใช้คำนวณเท่านั้นครับ นี่คือก่อนที่เราเสนอกกต.เราได้ดูตรงนี้ไว้ก่อนแล้วครับ

 

"ศึกเลือกตั้ง2566" แบ่งเขต ส่อวุ่น เปิดช่อง"นายกลุงตู่"รักษาการยาว

 

"วราวิทย์" ถามวิธีการคำนวณแบบนี้ใช้มาแล้วตั้งแต่ปี 62 เพียงแต่ว่าตอนนั้นไม่ได้มีขอท้วงอะไรถูกต้องมั้ยครับ

 

"แสวง บุญมี" ใช่ครับ ก่อนนั้นเขาไม่ได้แยกประเภทราษฎร ก่อนปี 62 เขาไม่ได้แยกเลย ก่อนปี 57 เขารวมทั้งผู้มีสัญชาติไทยและไม่มีสัญชาติไทย หลังปี 57 เขาแยกเพราะเพื่อใช้ประโยชน์ในการทำงานของเขา ก็เลยแยกออกมาเป็นแบบนี้ครับ

 

"วราวิทย์" ถามรัฐธรรมนูญมาตรา 86 เขาบอกให้ใช้จำนวนราษฎรทั้งประเทศ ตามทะเบียนราษฎรที่ประกาศในปีสุดท้ายก่อนที่มีการเลือกตั้ง คือเป็นการประกาศของกรมการปกครองซึ่งประกาศออกมาแล้ว แต่ว่าครั้งนี้แยกออกมาแล้ว ทำไมเราถึงไม่เลือกตรงเฉพาะที่เป็นสัญชาติไทยเลยก็ในเมื่อเขาแยกให้แล้ว

 

"แสวง บุญมี"  คำว่า"ราษฎร" ตามประกาศทุกคนในนั้นคือ"ราษฎร" ทั้งหมดครับ เป็น"ราษฎร"ตามกฎหมาย เมื่อเขาเป็น"ราษฎร"ตามกฎหมายเราก ต้องนำมาคำนวณ อย่างที่บอกเขามีเลขบัตรประจำตัวประชาชนประเภทที่ 8 เขามีทะเบียนบ้าน เขามีสิทธิ์บางอย่างในประเทศไทย มีกาารทำงาน การเสียภาษี รับสิทธิ์บริการจากรัฐ

 

"วราวิทย์" ถาม ส่วนคนเข้าเมืองผิดกฎหมายแบบเป็นประชากรแฝงไม่มีตัวตนอันนี้ไม่ได้นับรวมอยู่แล้ว เพราะจะไม่ถูกเป็นข้อมูลในประกาศกรมการปกครองถูกมั้ยครับ

"แสวง บุญมี" บางคนเข้าเมืองถูกกฎหมายแต่ไม่มีสองอย่างก็ไม่อยู่ในนี้นะครับ อย่างแม่บ้านแรงงานพม่าไม่ได้อยู่ในนี้นะครับ แต่เข้าถูกอนุญาตเข้าเมืองถูกกฎหมายครับ เขาไม่ได้มีบัตรบัตรสำคัญต่างด้าวหรืออยู่ในทะเบียนบ้านครับ

 

"ศึกเลือกตั้ง2566" แบ่งเขต ส่อวุ่น เปิดช่อง"นายกลุงตู่"รักษาการยาว

 

"วราวิทย์"  จำนวนราษฎรที่ไม่มีสัญชาติไทยถูกนับรวมด้วย ฟังเหตุผลจากท่านเลขาแล้วเป็นไงบ้างครับ

"สมชัย" เป็นการตีความในมุมของกรรมการการเลือกตั้ง  ถ้าท่านคิดว่าตีความถูกก็แล้วไป แต่ถ้าหากว่ามีคนเขาติดใจว่าตีความแบบนี้ไม่ถูกต้อง ถ้าหากว่าคนเหล่านั้นรู้สึกว่าเขาถูกการตีความโดยกรรมการการเลือกตั้งแล้วเป็นการรอนสิทธิ์เขา หมายความว่า สิทธิ์ของเขาอยู่จังหวัดนี้เขาควรจะได้ส.ส.เพิ่มอีกหนึ่งคน แต่พอกกต.ตีความแบบนี้มไปเพิ่มส.ส.ให้กับจังหวัดอื่น

 

ยกตัวอย่างเช่น เชียงใหม่ มีคนซึ่งไม่ใช่สัญชาติไทย 160,000 คน ได้ส.ส.แล้วหนึ่งคน เพราะค่าเฉลี่ยนส.ส.หนึ่งคนคือ 160,000 คน แต่จังหวัดเชียงใหม่จังหวัดเดียวมีคนไม่ใช่สัญชาติไทย 160,000 คนเขาก็ได้เกินมาหนึ่ง หรือเชียงราย ตาก มีคนที่ไม่ใช่สัญชาติไทย 130,000 คน สมมติเปลี่ยนมาใช้เอาเฉพาะสัญชาติไทย 3 จังหวัดนี้จะไม่ได้ จะไปโผล่ที่จังหวัดอื่นเช่น อุดร ลพบุรี ปัตตานี

 

สมมติ"ราษฎร"หรือประชาชนในจังหวัดนั้นมีความรู้สึกว่าเขาถูกรอนสิทธิ์ เขาก็มีสิทธิ์ในการรร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญแต่กระบวนการในการร้อง ร้องโดยตรงไม่ได้เขาต้องร้องไปที่ผู้ตรวจการแผ่นดินก่อนว่าเขาถูกรอนสิทธิ์จากการตีความโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ถ้าผู้ตรวจการแผ่นดิน มองว่า ไม่มีสาระไม่ทำอะไรต่อครบ 60 วันไม่ทำอะไร ประชาชนกลุ่มนี้ สามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้โดยตรง ผมถึงบอกว่าอย่าไปคิดว่าจะไม่เกิดปัญหา ต้องคิดในโอกาสที่สามารถเกิดปัญหาได้ แล้วสิ่งที่แนะนำไปไม่ได้ทำให้กกต.เสียหายเลย

 

ชมคลิป >>> แบ่งเขตส่อวุ่น 

 

logoline