svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ภูมิภาค

เชียงใหม่ พร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันไฟป่า-ฝุ่นพิษ ช่วง มี.ค.-เม.ย. 67

20 กุมภาพันธ์ 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จังหวัดเชียงใหม่ เตรียมรับมือหมอกควันไฟป่า และฝุ่น PM 2.5 ช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย. 67 ด้าน ผู้ว่าฯ ยืนยัน ไม่ประมาท พร้อมเดินหน้าจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดเชื้อเพลิง-สร้างรายได้ให้เกษตรกร

20 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลจากทาง สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA พบว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 จังหวัดเชียงใหม่มีจุดความร้อนเกิดขึ้น  312 จุด ซึ่งหากเปรียบเทียบกับ ห้วงเวลาเดียวกันกับปี 2566 ถือว่าจุดความร้อนลดลงไปกว่า 2,461 จุด หรือคิดเป็นร้อยละ 89 
เชียงใหม่ พร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันไฟป่า-ฝุ่นพิษ ช่วง มี.ค.-เม.ย. 67
อย่างไรก็ตาม ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ จนถึงเดือนเมษายน ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงที่สถานการณ์ หมอกควันไฟป่า และฝุ่น PM 2.5 จะรุนแรงมากที่สุดนั้น ทางจังหวัดเชียงใหม่ก็ได้เตรียมความพร้อมในการรับมือโดยการให้ทุกหน่วยเข้มงวดกวดขันในการลาดตระเวนเฝ้าระวังในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่า เนื่องจากช่วงนี้เป็นช่วงที่ชาวบ้านว่างจากการทำการเกษตรมักจะเข้าป่า เพื่อหาของป่าตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน

ขณะเดียวกันในช่วงที่จะมีการเผาซังข้าวโพดนั้น ได้สั่งการให้เกษตรจังหวัดเข้าไปควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งในปีถัดไปจะมีการควบคุมการโม่ข้าวโพดอย่างเข้มข้นขึ้น เพื่อไม่ให้เกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ซังข้าวโพดลุกลามไปในวงกว้าง 

เชียงใหม่ พร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันไฟป่า-ฝุ่นพิษ ช่วง มี.ค.-เม.ย. 67
โดยทางจังหวัดเชียงใหม่ได้มีการประชุมคณะทำงานบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ ครั้งที่ 2/2567 โดยร่วมหารือประเด็นสำคัญต่างๆ กับส่วนราชการจังหวัดเชียงใหม่ ประกอบด้วย หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภาควิชาการ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำนักงานพลังงานจังหวัด และส่วนราชการอื่นที่เกี่ยวข้อง
เชียงใหม่ พร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันไฟป่า-ฝุ่นพิษ ช่วง มี.ค.-เม.ย. 67
ซึ่งคณะทำงานบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร มีภารกิจในการขับเคลื่อนการนำเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรออกจากพื้นที่ เพื่อเป็นการลดเชื้อเพลิงและสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ตลอดจนจัดทำแผนเพื่อบริหารงานดังกล่าวให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรม มีแผนการบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จังหวัดเชียงใหม่ เน้นบริหารเศษวัสดุ 4 ประเภท คือ ข้าว ข้าวโพด ลำไย และมะม่วง ซึ่งมีปริมาณรวมประมาณ 1.16 ล้านตัน 

เชียงใหม่ พร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันไฟป่า-ฝุ่นพิษ ช่วงเดือนมีนาคม 2567
สำหรับแผนและผลการดำเนินงานของหน่วยงานในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ ประกอบด้วย การสนับสนุนการอัดเปลือกข้าวโพดเพื่อแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ - เชื้อเพลิงอัดก้อน, การส่งเสริมการไถกลบตอซังและทำปุ๋ยหมักแทนการเผา, การให้ความรู้เกษตรกรเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชมูลค่าสูง, การถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดการใช้ไฟและการสร้างฝุ่นละออง PM 2.5 , การนำไปทำเป็นกระดาษ , การพัฒนาทำวัสดุรองพื้นเล้าไก่, การนำไปทำเป็นไอโอชาร์เพื่อบำรุงดินและวัสดุเพื่อการก่อสร้าง
เชียงใหม่ พร้อมรับมือสถานการณ์หมอกควันไฟป่า-ฝุ่นพิษ ช่วงเดือนมีนาคม 2567

รวมถึง มีการร่วมกันพิจารณาประเด็นที่เกี่ยวกับ การแต่งตั้งคณะทำงานบริหารจัดการเศษวัสดุเหลือใช้เพิ่มเติม จากหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านพลังงานทดแทน และภาควิชาการ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและมีความหลากหลายมากขึ้น ,การทำแผนกำหนดรูปแบบ วิธีการ ราคา ปริมาณ คุณภาพ และการบริหารจัดการศูนย์รับซื้อวัตถุดิบเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการแปรเศษวัสดุเป็นรายได้ ลดปริมาณเชื้อเพลิงในพื้นที่การเกษตร และสร้างเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืนและการพิจารณาจัดทำแผนงานโครงการและงบประมาณ เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติ ค่านิยม ความเชื่อและพฤติกรรมของเกษตรให้ลดหรืองดการใช้ไฟในภาคการเกษตร ร่วมเป็นเครือข่ายในห่วงโช่คุณค่าการบริหารเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร อย่างยั่งยืน 
นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่
ทางด้าน นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สถานการณ์ฝุ่นพิษในเดือนมีนาคมอาจจะรุนแรงกว่านี้ แต่หากพื้นที่การเผาของเราลดลง จากการไถกลบ การขนเศษข้าวโพดออกจากแปลง ซึ่งในหลายพื้นที่ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเผา เราก็ต้องตัดยอดออกไป  ตอนนี้เราเดินหน้าจัดการเชื้อเพลิงในแปลงเกษตรไปเรื่อย ๆ ซึ่งเราจะทำอย่างนี้ทุกวันเราไม่ได้ประมาทไม่ได้ชะล่าใจเรารู้ว่าโจทก์ของเราอยู่อีกไกลแต่ก็จะทำให้ดีที่สุด

ในส่วนของพื้นที่ป่าก็เป็นเรื่องที่ถูกกันในเชิงของวิชาการป่าไม้ในคณะกรรมการไฟป่าของจังหวัดว่า ก็ยังจำเป็นที่จะต้องมีการชิงเผาเพื่อป้องกันพื้นที่ส่วนใหญ่สินค้าเพื่อตัดแปลงแล้วก็บริหารเชื้อเพลิง เราก็เข้าใจก็ได้เห็นแนวแนวทางอุทยานและป่าไม้ว่าขอให้ชิงเผาน้อยที่สุดเท่าที่จำเป็น และในปีนี้ในพื้นที่ป่ากับอุทยานพื้นที่ที่ถูกเผาไหม้หรือจุดความร้อนก็จะลดลงกว่าปีที่ผ่านมาด้วย

logoline